ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ. ย้ำไม่ตัดวิชาพระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ ในหลักสูตรการศึกษาใหม่ พร้อมแจงให้ความสำคัญทุกศาสนาเสมอมา


ข่าวการศึกษา 15 ธ.ค. 2564 เวลา 10:38 น. เปิดอ่าน : 5,126 ครั้ง
สพฐ. ย้ำไม่ตัดวิชาพระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ ในหลักสูตรการศึกษาใหม่ พร้อมแจงให้ความสำคัญทุกศาสนาเสมอมา

Advertisement

วันที่ 14 ธันวาคม 2564 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยถึงกรณีที่มีเสียงสะท้อนจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง เกี่ยวกับความกังวลในเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และศาสนาต่างๆ ว่าจะถูกตัดออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) นั้น

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ได้ชี้แจงในเรื่องดังกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้ตัดวิชาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาต่างๆ ให้หายไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) ที่จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2565 แต่อย่างใด ด้วยเพราะ สพฐ. ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รวมถึงศาสนาต่าง ๆ เสมอมา โดยเน้นย้ำว่านักเรียนทุกคนจำเป็นต้องรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าผู้เรียนจะสามารถนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง เป็นผู้ยึดมั่นในความดี มีค่านิยมที่ดีงาม ให้ความสำคัญต่อต่อสังคมและประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนความแตกต่างและหลากหลายได้อย่างเป็นปกติสุข

สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้นักเรียนทุกคน ต้องเรียนเนื้อหาตามที่กำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้แกนกลางให้ครบถ้วนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยวิชาพระพุทธศาสนาและศาสนาต่าง ๆ ถูกกำหนดเป็นสาระการเรียนรู้แกนกลางในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม โดยนักเรียนจะเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสนาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นชั้นปีแรกของการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (ไม่นับการศึกษาระดับปฐมวัย) จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างต่อเนื่อง โดย สพฐ. ไม่เคยยกเลิกสาระการเรียนรู้แกนกลางที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่อย่างใด และได้ให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระในวิชาพระพุทธศาสนาโดยสาระการเรียนรู้แกนกลาง และตัวชี้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้น ป. 1–6 จำนวน 60 ตัวชี้วัด ระดับชั้น ม. 1–3 จำนวน 49 ตัวชี้วัด และระดับชั้น ม. 4–6 จำนวน 27 ตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 136 ตัวชี้วัด หากพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนตัวชี้วัดกับสาระอื่น ๆ แล้ว พบว่าสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มีจำนวนตัวชี้วัดมากที่สุด รองลงมาคือ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มี 81 ตัวชี้วัด สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม มี 72 ตัวชี้วัด สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มี 68 ตัวชี้วัด และ สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มี 62 ตัวชี้วัด ตามลำดับ เนื่องจาก สพฐ. พิจารณาแล้วเห็นว่าสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มีเนื้อหาที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจในหลายประเด็น การเรียนการสอนจึงต้องมีเนื้อหาที่ลงลึกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักและปฏิบัติเป็นศาสนิกชนที่ดีได้ ได้แก่ ความสำคัญของศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศรัทธาที่ถูกต้อง การยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรม การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

ทั้งนี้ การกำหนดนโยบายของ สพฐ. ที่ให้พระพุทธศาสนา ศาสนาต่าง ๆ ศีลธรรม และจริยธรรม เป็นสาระการเรียนรู้แกนกลาง ส่งผลให้หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับตั้งแต่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และโรงเรียน ต้องนำสาระการเรียนรู้แกนกลางที่กำหนดไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสถานศึกษาสามารถจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาโดยกำหนดรหัสวิชา ชื่อวิชา และจำนวนชั่วโมงเรียนได้ตามบริบทของสถานศึกษา แต่ผู้เรียนจะต้องเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาให้ครบทุกตัวชี้วัดภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ แม้แต่การจัดหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย) ที่มุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนที่มีความโดดเด่นด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก็ยังกำหนดให้วิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาพื้นฐานที่นักเรียนต้องเรียนในทุกภาคเรียนอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยวิชาพระพุทธศาสนา 1 ถึงวิชาพระพุทธศาสนา 6 หรือโรงเรียนกีฬาประจำจังหวัด ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทางด้านการกีฬา ก็ได้มีการกำหนดเนื้อหาด้านพระพุทธศาสนา ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม ไว้ในโครงสร้างหลักสูตรและกำหนดให้วิชาพระพุทธศาสนาเป็นรายวิชาพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนต้องเรียน เห็นได้อย่างชัดเจนว่านอกเหนือจากโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรทั่วไปจะให้ความสำคัญต่อวิชาพระพุทธศาสนาแล้ว โรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะก็ให้ความสำคัญต่อการจัดรายวิชาพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน

นางเกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน สพฐ. ได้กำหนด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า (ร่าง) กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ (competency-based curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีแนวคิดที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าสามารถช่วยพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนได้ และเป็นกรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงพระชั้นผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาในการกำหนดกรอบหลักสูตรและการวิพากษ์หลักสูตร โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกันคือการพัฒนาการเรียนการสอนสมรรถนะผู้เรียน และทำให้เกิดการประกันคุณภาพว่า ผู้เรียนทุกคนจะสามารถประสบความสำเร็จได้ตามความถนัด ความชอบ และมีศักยภาพตามรูปแผนของตนเองตามที่สมรรถนะกำหนด

สำหรับ (ร่าง) กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะมีจุดแข็งที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ด้านความรู้ (knowledge) และทักษะ(skill) เท่านั้น ยังไม่ได้เน้นในเรื่องการพัฒนาเจตคติ (attitude) และการให้คุณค่า (value) ต่อสิ่งที่เรียน ไปสู่การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่จำเป็นต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ครบถ้วนทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความรู้ มิติด้านทักษะ และมิติด้านเจตคติและคุณค่า ได้อย่างเท่าเทียมกันและเป็นหนึ่งเดียวกัน และใช้วิธีการสอนแบบเชิงรุก (active learning) ที่เน้นการปฏิบัติจริง ส่งผลให้ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ ตัวอย่างเช่น จากเดิมการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาที่นักเรียนจะเน้นการปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนมาสู่การเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนจำเป็นต้องใช้วัดและศาสนสถานต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้มากขึ้น นักเรียนจะมีโอกาสได้เข้าวัด มีโอกาสฝึกปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของแต่ละศาสนาได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการพัฒนาให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีและเห็นคุณค่าของศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม เป็นไปตามแนวคิดของการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดย สพฐ. ยังคงยืนยันต่อการให้คุณค่าในการเรียนการรู้ด้านศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ดังนั้น ประเด็นท้าทายสำคัญของการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเดิมไปสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ จึงไม่ใช่ความพยายามในการลดทอนเนื้อหาสาระการเรียนรู้แต่อย่างใด แต่หากเป็นการแสวงหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่จะสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดความรัก ความศรัทธา เกิดเจตคติที่ดีและเห็นคุณค่าต่อสิ่งดีงามที่ประเทศไทยมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าของพระพุทธศาสนารวมถึงศาสนาต่าง ๆ ด้วย

“อย่างไรก็ตามทั้งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ที่โรงเรียนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 ทั่วประเทศใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบัน และ (ร่าง) กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่จะนำไปใช้ในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 265 โรงเรียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นวิพากษ์ โดย สพฐ. ได้นิมนต์พระชั้นผู้ใหญ่มาร่วมวิพากษ์หลักสูตรด้วยนั้น ทั้งสองหลักสูตรต่างก็เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีจุดมุ่งเน้นในการพัฒนานักเรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย ให้นักเรียนเป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามที่กำหนดไว้ในเจตจำนงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว


อ่านเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


สพฐ. ย้ำไม่ตัดวิชาพระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ ในหลักสูตรการศึกษาใหม่ พร้อมแจงให้ความสำคัญทุกศาสนาเสมอมาสพฐ.ย้ำไม่ตัดวิชาพระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆในหลักสูตรการศึกษาใหม่พร้อมแจงให้ความสำคัญทุกศาสนาเสมอมา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 7,653 ☕ 26 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วนที่สุด สพฐ.แจ้งการกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย-ผู้บริหารสถานศึกษา 500 บาท
ด่วนที่สุด สพฐ.แจ้งการกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย-ผู้บริหารสถานศึกษา 500 บาท
เปิดอ่าน 824 ☕ 28 มี.ค. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567
เปิดอ่าน 4,868 ☕ 28 มี.ค. 2567

บอร์ด ก.ค.ศ. เห็นชอบปรับอัตราเงินเดือนครูตามมติ ครม. เดือนเม.ย.รู้ตัวเลขแน่นอน
บอร์ด ก.ค.ศ. เห็นชอบปรับอัตราเงินเดือนครูตามมติ ครม. เดือนเม.ย.รู้ตัวเลขแน่นอน
เปิดอ่าน 1,810 ☕ 27 มี.ค. 2567

ครม.ไฟเขียวตั้งบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดที่ 20
ครม.ไฟเขียวตั้งบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดที่ 20
เปิดอ่าน 568 ☕ 27 มี.ค. 2567

ด่วน! สทศ.ประกาศผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2566 แล้ว
ด่วน! สทศ.ประกาศผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2566 แล้ว
เปิดอ่าน 4,068 ☕ 26 มี.ค. 2567

ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 6,539 ☕ 26 มี.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มะเร็งเน็ต...ภัยร้ายชนิดใหม่ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว
มะเร็งเน็ต...ภัยร้ายชนิดใหม่ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว
เปิดอ่าน 15,034 ครั้ง

การเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่
เปิดอ่าน 12,812 ครั้ง

จระเข้เขมือบครูฝึกทั้งเป็น ที่เป็นข่าว
จระเข้เขมือบครูฝึกทั้งเป็น ที่เป็นข่าว
เปิดอ่าน 16,387 ครั้ง

10 เคล็ดลับ ลดน้ำตาล ลดโรค ลดอ้วน
10 เคล็ดลับ ลดน้ำตาล ลดโรค ลดอ้วน
เปิดอ่าน 14,252 ครั้ง

กล้ามเนื้อน้อยจะอ้วนง่าย... จริงหรือ ?
กล้ามเนื้อน้อยจะอ้วนง่าย... จริงหรือ ?
เปิดอ่าน 11,626 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ