ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"


บทความการศึกษา 21 ต.ค. 2565 เวลา 00:13 น. เปิดอ่าน : 3,192 ครั้ง
กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"

Advertisement

เชื่อหรือไม่ว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นได้ การศึกษาของเด็กไทยคือหัวใจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อทั้งสองด้านเดินหน้าไปพร้อมกัน ประชาชนในประเทศไทยก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความมั่นคงในชีวิตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ยึดหลักนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมุ่งพัฒนาการศึกษาไทยใน 3 ด้าน ด้วยนโยบาย “ซ่อม สร้าง ป้องกัน” คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (ซ่อม) การสร้างโอกาสทางการศึกษา (สร้าง) และการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา (ป้องกัน)

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและถือเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนมากที่สุด คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพราะในปี 2564 มีเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 2 แสนคน เนื่องจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน อายุเกินเกณฑ์ ปัญหาระบบการบันทึกข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน และความหลากหลายของชาติพันธุ์ เป็นต้น ส่วนการสร้างโอกาสทางการศึกษา ก็เป็นส่วนสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มุ่งเน้นสนับสนุนให้ประชาชนทุกช่วยวัย โดยเริ่มตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงวัยเกษียณ ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม เพราะการศึกษาจะช่วยสร้างโอกาสในการทำงาน สร้างอาชีพให้คนไทยได้ดียิ่งขึ้น

การยกระดับคุณภาพทางการศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการถูกคาดหวังว่าจะต้องพุ่งเป้าพัฒนาเด็กให้เป็นคนเก่งคนมีความสามารถต่าง ๆ แต่สิ่งที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดสำหรับนักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยที่ควรได้รับการปกป้องมากที่สุด เป็นเรื่องของความปลอดภัย เพราะมีผลต่อสภาพร่างกายจิตใจและคุณภาพชีวิตของเด็ก รวมถึงผู้ปกครองและสังคมโดยรวม ทั้งนี้ การทำให้สถานศึกษาปลอดภัยไม่ใช่แค่การรับเรื่องร้องเรียนแล้วแก้ไขจัดการเพียงเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเพียงการปราบปราม แต่จะต้องประกอบจาก 3 ด้าน คือ ป้องกัน-ปลูกฝัง-ปราบปราม

การปราบปรามเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขในระยะสั้นและเห็นผลได้เร็วที่สุด แต่สิ่งที่จะชี้วัดได้ว่าโรงเรียนปลอดภัยแล้ว ก็คือปัญหาจะต้องน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีก จากนั้นต้องไปเพิ่มน้ำหนักในการ “ป้องกัน” และ “ปลูกฝัง” ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการ “ปลูกฝัง” จะไม่ใช่แค่การสอนให้เด็กรู้จักวิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในโรงเรียนเท่านั้น แต่จะช่วยให้เขาสามารถเอาตัวรอดเมื่ออยู่นอกโรงเรียนได้ด้วย ทั้งการจมน้ำ เพลิงไหม้ ไฟฟ้าดูด คนแปลกหน้า ยาเสพติด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องมีใครสักคนเริ่มนับ 1 เพื่อให้วันข้างหน้าสามารถบรรลุเป้าหมายที่ 100 ได้ และเมื่อนั้นความปลอดภัยในสถานศึกษาก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงและส่งผลดีต่อประเทศอย่างแน่นอน”

ภายใต้นโยบายหลัก 3 ด้าน “ซ่อม สร้าง ป้องกัน” นี้ กระทรวงศึกษาได้จัดตั้งโครงการอีกหลายด้าน เพื่อมาสนับสนุนและผลักดันให้นโยบายดังกล่าวบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ ได้แก่

1. โครงการพาน้องกลับมาเรียน หลังเด็กไทยบางส่วนหลุดออกจากระบบการศึกษา จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและ 11 หน่วยงานพันธมิตร ในการพาเด็กตกหล่นและหลุดออกจากระบบการศึกษาได้กลับมามีโอกาสเรียนอีกครั้ง ภายใต้นโยบายสำคัญของรัฐบาล คือ จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No one left behind) ซึ่งตอนนี้สามารถนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้สำเร็จแล้วถึง 95% พร้อมตั้งเป้าหมาย Zero dropout ดึงเด็กที่เหลือให้กลับมาครบและป้องกันไม่ให้เด็กหลุดออกจากระบบอีก โดยใช้กลไกการส่งต่อของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการอาชีวศึกษา เข้ามาสนับสนุน

2. โครงการ MOE Safety Center แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาและจัดการเหตุอย่างรวดเร็วด้วยช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนส่วนกลางขึ้นมา เพื่อให้สามารถเข้าถึงทุกปัญหาทั่วประเทศได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง สามารถส่งเรื่องเข้ามาที่ส่วนกลางได้โดยตรง โดยมีทีมงานเข้ามาประสาน จัดการ แก้ไข และส่งต่อเรื่องร้องเรียนได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับแนวคิด “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” นอกจากนี้ บางกรณีที่อาจจะไม่สามารถจัดการแก้ไขจบได้ภายในโรงเรียนหรือภายในกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้มีการทำ MOU ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับอีก 8 กระทรวง 2 หน่วยงาน เพื่อบูรณาการการดูแลความปลอดภัยได้ครอบคลุมทุกมิติอย่างแท้จริง

3. โครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์ CVM ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษาในการยกระดับหลักสูตรสาขาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาแต่ละแห่งที่มีความถนัดและโดดเด่น ให้มีความเป็นเลิศและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยจัดการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยและตอบโจทย์การทำงานจริงร่วมกัน ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งศูนย์ CVM จำนวน 25 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารของแต่ละหลักสูตรสาขาของ Excellent Center เช่น สาขาโรงแรมที่มี Excellent Center อยู่ 10 แห่งทั่วประเทศ ก็จะมีศูนย์ CVM อยู่ 1 แห่งของหลักสูตรสาขานี้ เพื่อเป็นตัวกลางในการออกแบบหลักสูตรการโรงแรมที่ทันสมัย โดยร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงเป็นผู้อบรมครูให้มีความรู้ทันต่อสภาพองค์ความรู้ที่ทันยุคสมัยในปัจจุบัน พร้อมปั้นหลักสูตรสาขาวิชาใหม่ เพื่อผลิตบุคลากรให้ตอบโจทย์กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพร้อมไปต่อในธุรกิจอนาคต (New S-CURVE)

4. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่เชื่อว่า “หากครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว จะสามารถมีเวลาทุ่มเทในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น”กระทรวงศึกษาธิการจึงสร้างโมเดลในการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้ครู โดยเริ่มต้นจากการเจรจาต่อรองกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งหากลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ถึง 1% ครูจะสามารถมีเงินกลับมาได้ปีละหลายหมื่นบาท รวมถึงเป็นคนกลางช่วยประสานกับธนาคารพาณิชย์แห่งต่าง ๆ ในการขอปรับโครงสร้างหนี้ให้ นอกจากนี้ ยังตั้งสถานีแก้หนี้ครูทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับครูในแต่ละกรณีด้วย ตลอดจนการอบรมติดความรู้วินัยการเงินให้กับทั้งครูบรรจุใหม่และครูปัจจุบัน เพื่อตัดวงจรการเกิดหนี้ให้แก่ครู โดยโครงการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของกระทรวงศึกษาธิการที่สามารถช่วยแก้ไขหนี้ครูได้จริง ผ่านการเจรจาต่อรองและการบริหารจัดการเข้ามาเป็นเครื่องมือแก้ไข และในปัจจุบันสามารถลดหนี้ลงไปได้แล้วกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งครูไทยมีจำนวนกว่า 9 แสนคน เมื่อสามารถแก้ไขหนี้ครูได้แล้ว ก็จะส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนของประเทศไทยในภาพรวมให้ดีขึ้นได้อย่างมาก

5. โครงการโรงเรียนคุณภาพ
เป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยยึดแนวคิด “Sharing resources” เป็นการบริหารจัดการงบประมาณด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยการสร้างให้โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ให้มีโรงเรียนคุณภาพ 1 แห่งต่อ 1 เขต เป็นโรงเรียนแม่ข่าย แล้วใช้ร่วมกันกับโรงเรียนเครือข่ายของตน ทั้งในส่วนของอาคาร พื้นที่ ห้องแลป สระว่ายน้ำ ครูชาวต่างชาติและครูสอนภาษาที่ 3 ที่โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเดียวกันสามารถเข้าถึงได้ ก็จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงคำนึงกับบริบทความเป็นอยู่ของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาออกแบบคำว่า “คุณภาพ” ที่ไม่ใช่เป็นลักษณะของโรงเรียนแบบใดแบบเดียว แต่จะต้องเป็น “คุณภาพ” ของความเป็นอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งนับเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจการศึกษาอย่างแท้จริง

ผลสำเร็จทางการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องมีการวางแผนการบริหารการศึกษาให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและพัฒนาโครงสร้างการศึกษาไปพร้อมกัน โดยจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือร่วมกันกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศ รวมไปถึงชุมชนในแต่ละท้องที่ เพื่อสร้างคุณภาพทางการศึกษาและกระจายได้อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เหมาะกับการศึกษาในยุคหลังโควิด-19 รวมถึงการพัฒนาและปรับเปลี่ยนบทบาทของครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีศักยภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ ซึ่งเมื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้นโยบาย “ซ่อม สร้าง ป้องกัน” และนำไปต่อยอดอย่างเป็นระบบแล้ว ก็จะช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถเด็กไทยให้มีทักษะและความพร้อมสู่โลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคตได้อย่างยั่งยืน 


กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"กระทรวงศึกษาธิการปลดล็อคการศึกษาไทยพลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบายซ่อมสร้างป้องกัน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"

เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"

เปิดอ่าน 13,143 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
เปิดอ่าน 11,762 ☕ คลิกอ่านเลย

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
เปิดอ่าน 32,217 ☕ คลิกอ่านเลย

"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 10,856 ☕ คลิกอ่านเลย

ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
เปิดอ่าน 8,205 ☕ คลิกอ่านเลย

“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
เปิดอ่าน 31,230 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society
การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society
เปิดอ่าน 11,432 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เอกสาร/แนวทางเตรียมรับการประเมินวิทยฐานะ
เอกสาร/แนวทางเตรียมรับการประเมินวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 434,080 ครั้ง

6 นิสัยที่ทำให้อายุยืน ใช่คุณครบทุกข้อไหม
6 นิสัยที่ทำให้อายุยืน ใช่คุณครบทุกข้อไหม
เปิดอ่าน 29,990 ครั้ง

ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
เปิดอ่าน 30,534 ครั้ง

"ส้นเท้าแตก" เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร
"ส้นเท้าแตก" เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร
เปิดอ่าน 2,408 ครั้ง

สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
เปิดอ่าน 9,588 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ