Advertisement
Advertisement
นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมพิทักษ์สิทธิ์ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา (ส.พ.บ.ค.) เปิดเผยว่าตามที่ รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สัมภาษณ์ สื่อว่า “มีคนกลุ่มหนึ่งออกมาคัดค้านเพราะมองแต่ประโยชน์ของตัวเอง กลัวว่าสิ่งที่ตัวเองเคยได้อาจจะไม่ได้ สิ่งที่ตัวเองเคยมี อาจจะไม่มี แค่ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดไว้ว่างบประมาณของโรงเรียน ครูจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดสัดส่วนการใช้งบทั้งหมดด้วย เพียงแค่กำหนดลักษณะนี้ก็มีคนไม่พอใจทันที จึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องละประโยชน์ส่วนตัว” นั้น สมาคมขอเรียนว่าการที่สมาคมออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯดังกล่าว มิได้มีเจตนาให้รื้อทิ้งทั้งฉบับ แต่ได้เสนอแนะให้แก้ไขสาระสำคัญบางประเด็นที่จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการจัดการศึกษาต่อไปในอนาคต เช่นการให้อำนาจคณะกรรมการสถานศึกษา มีอำนาจต่างๆ เช่น สรรหาผู้บริหารโรงเรียน(มาตรา40 วรรคสี่)บริหารงานบุคคลในสถานศึกษา (มาตรา 35 วรรคสาม) และบริหารสถานศึกษา(มาตรา 23) หากกำหนดเช่นนี้จะทำให้บรรดานักธุรกิจการศึกษาวิ่งเต้นกันมาเป็นกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนเกือบทุกโรงเรียน นอกจากนี้การให้มีการจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์อำนาจในส่วนกลาง Single Command(มาตรา 106) ก็เป็นการขัดกับหลักการการบริหารแบบกระจายอำนาจ อีกทั้งควรกำหนดในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ชัดเจนว่ารูปแบบการจัดการศึกษาต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะยังมีเขตพื้นที่หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อที่ผู้มีหน้าที่ในการร่างกฎหมายลูกจะได้มีแนวทางดำเนินการต่อไปตามเจตนารมณ์ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯดังกล่าว
นายรัชชัยย์ฯ ยังเปิดเผยอีกว่าจากการติดตามข่าวสาร ไม่พบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดคัดค้านเรื่องการให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดสัดส่วนในการใช้งบแต่อย่างใด เชื่อว่า รศ.เอกชัยฯ คงเข้าใจคลาดเคลื่อน อีกทั้งในเรื่องการบริหารงบประมาณที่ผ่านมานั้นโรงเรียนต่างๆก็ได้ให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณอยู่แล้วโดยการมอบหมายให้ครูในแต่ละกลุ่มสาระไปคิดและเสนอแผนงานโครงการที่ใช้งบประมาณแล้วให้หัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานแผนงานรองผู้อำนวยการฯลฯ มาประชุมพิจารณาร่วมกันและยังต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอีกด้วย โรงเรียนที่ไม่ปฏิบัติเช่นนี้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องรับผิดชอบ
“ผมขอเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายเคารพความเห็นต่าง อย่ามองว่าผู้ที่เห็นต่างนั้นคิดและทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว อีกทั้งผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเสนอแนะเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ไม่มีผลประโยชน์เป็นการส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการศึกษาควรกำหนดให้มองเห็นภาพการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้มากเพื่อให้เท่าทันโลก การที่ร่าง พ.ร.บ.นี้ไม่ผ่านการเห็นชอบจากผู้มีอำนาจตั้งแต่สมัย คสช.มาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันซึ่งเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของ คสช. และมีอำนาจเต็ม ก็คงเป็นเพราะพระสยามเทวาธิราชเล็งเห็นว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชาติบ้านเมือง จึงทำให้ไม่สามารถนำมาประกาศใช้เป็นกฎหมายได้” นายรัชชัยย์ ฯ กล่าวในที่สุด
Advertisement
|
เปิดอ่าน 10,381 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,671 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,916 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,003 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,977 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,458 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,445 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,017 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,448 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,548 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,457 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,937 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,341 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,884 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,333 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 13,548 ☕ 9 มี.ค. 2566 |

เปิดอ่าน 858 ☕ 23 มี.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 443 ☕ 23 มี.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 537 ☕ 23 มี.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 3,024 ☕ 23 มี.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 1,974 ☕ 21 มี.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 1,167 ☕ 20 มี.ค. 2566 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 11,072 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,657 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,796 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 7,530 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,504 ครั้ง |
|
|