สพฐ. ได้ร่วมมือกับ สสวท. และสวทช. ในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดยได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย ซึ่งประกอบด้วยคำอธิบายรายวิชา และคู่มือครู สำหรับใช้ในรายวิชาเพิ่มเติม “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ (AI)
สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://oho.ipst.ac.th/ai-ipst-25
แนวทางการนำรายวิชาเพิ่มเติม “ปัญญาประดิษฐ์” ไปใช้ในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://shorturl.asia/to50W
สำหรับนักเรียน สามารถเรียนรู้ผ่านระบบ Adaptive Education Platform ได้ที่เว็บไซต์ https://lms.mooc.meca.in.th
ทั้งนี้ เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและยืดหยุ่นตามบริบทของตน
แนวทางการนำรายวิชาเพิ่มเติม "ปัญญาประดิษฐ์"ไปใช้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศโดยได้จัดทำหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และคู่มือครู สำหรับใช้ในรายวิชาเพิ่มเติม "ปัญญาประดิษฐ์"ครอบคลุมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย พร้อมทั้งเปิดระบบการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับนักเรียนเพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและยืดหยุ่นตามบริบทของตน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดแนวทางการนำหลักสูตร ปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในสถานศึกษา ดังนี้
1. รูปแบบการนำไปใช้
ให้สถานศึกษาสามารถนำรายวิชาเพิ่มเติม "ปัญญาประดิษฐ์" ไปใช้ได้ใน 5 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1.1 จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโดยกำหนดหน่วยกิต และแนวทาง
การตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
1.2 บูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา เช่น วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นตามที่โรงเรียนกำหนด
1.3 ใช้เป็นกิจกรรมหรือชุมนุมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่21
1.4 จัดเป็นค่ายส่งเสริมศักยภาพสำหรับนักเรียนที่มีความถนัดหรือความสนใจเฉพาะด้าน
1.5 ใช้เป็นส่วนหนึ่งของแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียน (Student Portfolio) เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้และความสามารถเฉพาะตัว
2. แนวทางการดำเนินงาน
2.1 โรงเรียนศึกษาคำอธิบายรายวิชา และคู่มือครูที่ สสวท. จัดทำให้พร้อมใช้งาน
2.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านระบบ Adaptive Education Platform ได้ที่ https://lms.mooc.meca.in.th โดยใช้หลักสูตรที่แบ่งเป็น
2.2.1 หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2.2.2 หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2.3 ครูและโรงเรียนดำเนินการวัดและประเมินผลตามคู่มือการจัดการเรียนรู้ของ สสวท. และสามารถดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนรู้ให้เป็น
2.3.1 รายวิชาเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ว202xx ปัญญาประดิษฐ์ จำนวน .5 หน่วยกิต
หรือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ว302 ปัญญาประดิษฐ์ จำนวน 1.5 หน่วยกิต โดยโรงเรียนสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยกิตรายวิชาปัญญาประดิษฐ์ตามที่โรงเรียนกำหนด
2.3.2 ส่วนหนึ่งของรายวิชา โดยอาจนับผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ในโมดูลต่างๆเป็นจำนวนหน่วยกิตย่อย หรือใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลการประเมินตัวชี้วัดปลายทาง หรือผลการเรียนรู้ในรายวิชาตามหลักสูตรสถานศึกษา ตามที่โรงเรียนกำหนด
2.3.3 กิจกรรม/ชุมนุม
2.3.4 แฟ้มสะสมผลงาน
ทั้งนี้ ตามบริบทของสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง สอดคล้องกับสมรรถนะและศักยภาพของผู้เรียน
3. การติดตามและส่งเสริม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรสนับสนุนและติดตามการนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช้ พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อขยายโอกาสในการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างทั่วถึง
ดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่าง
►หนังสือนำ
►แนวทางการนำรายวิชาเพิ่มเติม "ปัญญาประดิษฐ" (AI) ไปใช้ในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย
►คำอธิบายรายวิชา และ คู่มือครู AI
