ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางสาวอุบลวรรณ มุ่งหมาย
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนใช้ชุดการเรียนเป็นสื่อการเรียนรู้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนบ่อหวายดินดำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 15 คน และกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 ค่าความยาก 0.40 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก 0.30 ถึง 0.70 และแบบสอบถามความพึงพอใจ 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t test) แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.94/83.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ มีผลการสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.047 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72