บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4- Coes เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีสู่มาตรฐานสากล 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ด้วยเทคนิค 4- Coes เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีสู่มาตรฐานสากล 3)ศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้บริหารโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ด้วยเทคนิค 4- Coes เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีสู่มาตรฐานสากล วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนามี2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบ การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4-Coes ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4-Coes กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน
และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ปีการศึกษา 2556 และปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4-Coes เป็นโครงการ 8 โครงการ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล 2). การอบรมเชิงปฏิบัติการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ 3)การพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่มาตรฐานสากลสำหรับบุคลากรในโรงเรียน 4) การอบรมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ICT)
ในการจัดการเรียนการสอน 5)การสร้างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนากับประเทศในอาเซียน
6) การจัดทำ ASEAN and World-Class Standard School Center.7).การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ 8) การกำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน สำหรับเครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบประเมินคุณภาพผู้เรียน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4- Coes เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีสู่มาตรฐานสากล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย 1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4- Coes เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีสู่มาตรฐานสากล เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากการผสมผสานทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารคุณภาพโดยรวมทั้งองค์กร (TQM) และแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยมีหลักการของรูปแบบคือ บริหารคุณภาพองค์กรทั้งระบบ
ด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการควบคุมคุณภาพ และประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน ได้แก่ ร่วมวางแผน (Co- planning) ร่วมปฏิบัติ (Co- Doing)
ร่วมตรวจสอบ (Co-Checking) และร่วมปรับปรุง (Co-Acting)
2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4- Coes
2.1 ผลการสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 สูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีผลการสอบเทียบเคียงในค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ในกลุ่มสูงเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล
2.2 ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์คุณลักษณะผู้เรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น ได้แก่ การพูดสื่อสารได้สองภาษา การกล้าคิด กล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ การมีทักษะการทำงาน และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม เป็นพลเมืองที่ดี
2.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อ การใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค 4- Coes เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีสู่มาตรฐานสากล พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก