ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล ร่วมกับเทคนิค KWDL
ชื่อผู้วิจัย : เพ็ญศรี เสาทอง
ปีที่วิจัย : ปี 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการพัฒนาผลการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนและหลังเรียน 2) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน ที่สอนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลร่วมกับเทคนิค KWDL 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 27 คน โรงเรียนเทศบาล 2 วิภัชศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 แบบแผนการวิจัย One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก และการลบ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลร่วมกับเทคนิค KWDL การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย ( ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), ค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาผลการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยหลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
2. ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีระดับพฤติกรรม การทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่นักเรียนปฏิบัติในระดับมากเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านความใส่ใจ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน และด้านที่นักเรียนปฏิบัติ ในระดับมาก เป็นลำดับสุดท้าย คือ ด้านการยอมรับฟังความคิดเห็นกันและกัน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล ร่วมกับเทคนิค KWDL พบว่า นักเรียนเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้เป็นการจัด การเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมในด้านการคิดวิเคราะห์เรื่องโจทย์ปัญหามากขึ้น และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม นักเรียนได้ฝึกการคิดที่เป็นลำดับขั้นตอน ตามลำดับ