บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานาฏศิลป์ 6 รหัสวิชา ศ23208 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง เป็นรายงานการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาทักษะทางนาฏศิลป์ และการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิชานาฏศิลป์ 6 รหัสวิชา ศ23208 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง
ซึ่งในการดำเนินการในครั้งนี้ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสิงห์บุรี จำนวน 501 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้โดยการสุ่มแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เลือกเรียนสาระเพิ่มเติม วิชานาฏศิลป์ 6 รหัสวิชา ศ3208 จำนวน 17 คน ที่ผู้รายงานทำการสอนอยู่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย
1 .เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง จำนวน 1 เล่ม
2. แบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือก
3. แบบบันทึกการประเมินทักษะทางนาฏศิลป์
4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการดำเนินการพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.67/85.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตังไว้ คือ 80/80 และดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.82 ซึ่งสูงกว่า 0.5 หมายถึง เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินทักษะทางนาฏศิลป์ พบว่า ค่าร้อยละของผลการประเมินทักษะทางนาฏศิลป์ของนักเรียนทุกคนมากกว่าร้อยละ 70 และค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 80.59 ซึ่งสูงกว่าที่กำหนด
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ระบำภิรมย์ทัศนาบ้านคูเมือง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ 4.50 5.00 ทุกรายการ แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าต่ำกว่า 1.00 ลงมาทุกรายการ