หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

มุมมอง...ตัวเงินตัวทอง ?ชื่อใหม่-สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่?...
โพสต์เมื่อวันที่ : 7 ก.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6285 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(78.10%-21 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

พลิกปูมไอเดียกระฉูดทำฟาร์ม-ชื่อใหม่....

ไอเดียกระฉูดของผู้บริหารบางส่วนงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เปรย ๆ ถึงการเปลี่ยนชื่อเรียกสัตว์ที่คนไทยเรียก   สั้น ๆ ว่า “เหี้ย” ให้สอดคล้องกับเสียงทับศัพท์สกุลทางวิทยาศาสตร์ในภาษาอังกฤษของสัตว์ชนิดนี้ ที่สะกดด้วยอักษร “วี-เอ-อาร์-เอ-เอ็น-ยู-เอส (Varanus)” นัยว่าเพื่อให้คนเลิกรังเกียจ โดยเปลี่ยนเป็น “วรนุช” นั้น ต่อให้เป็น “วรนัส” หรือ “วรานัส” และต่อให้แค่เปรย ๆ ยังไงก็ย่อมเรียกเสียงวิพากษ์เซ็งแซ่ และก็ย่อมไม่พ้นถูกวิจารณ์ขรม !!
   
นาทีนี้ต่อให้ไม่เปลี่ยนอย่างเป็นทางการ...คนก็รู้ทั่วแล้ว
   
ใครที่ชื่อตรงหรือชื่อพ้องกับชื่อที่มีการเปรย...ย่อมมึนตึ้บ
   
และคนชื่ออื่น ๆ ถ้าถูกเรียก “วรนุช-วรนัส”...คงจะโกรธ !!
   
ทั้งนี้ กับเรื่องชื่อของ “เหี้ย” ต่อไปนี้จะมีชื่อใหม่หรือไม่ ? นั่นก็เรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กับประเด็นที่ถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง พร้อม ๆ กับเรื่องชื่อใหม่ คือการส่งเสริมให้เป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” จากที่อยู่ในบัญชี 2 สัตว์คุ้มครอง ก็ถือเป็นเรื่องน่าติดตาม แม้ว่าประเด็นนี้จะมิใช่ประเด็นใหม่ เพราะเคยมีการพูดถึงมานานแล้ว
   
“เหี้ย” สัตว์ที่คนไทยร้อยทั้งร้อยไม่ยินดีหากมีใครใช้ชื่อมันมาเรียกตนเอง ซึ่งเป็นสัตว์ที่ถูกกำหนดเข้าบัญชีเป็นสัตว์คุ้มครองมาตั้งแต่ปี 2535 นั้น จริง ๆ แล้วยังมีชื่อเรียกชื่ออื่นอีกอย่างที่ทราบ ๆ กัน เช่น ตัวเงินตัวทอง, ฮังเล, แลน และยังมีสัตว์ที่อยู่ในจำพวกเดียวกัน คล้ายกัน แต่ตัวจะเล็กกว่า คือ ตะกวด
   
ส่วนกับการนำชื่อ “เหี้ย” มาเปรียบเป็น “คนไม่ดี” นั้น ผู้รู้บางรายบอกว่า... กระแสหนึ่ง “อาจเกิดจากดาวร้ายหนังไทยสมัยก่อน” ที่นอกจากเล่นบทร้ายแล้ว ยังมีท่าเดินในหนังแบบส่ายไปส่ายมา คล้ายท่าเดินของตัวเหี้ย ทำไปทำมาจึงมีคนเปรียบเทียบยึดโยง โดยเรียกคนที่ทำอะไรไม่ดี ทำอะไรร้าย ๆ ว่า “คนเหี้ย”
   
สัตว์ที่เรียกว่า “เหี้ย” นี้ ที่จริงมีคนไทยบางส่วน-บางพื้นที่นำมากินนานแล้ว ทั้ง “ไข่” “เนื้อ” รวมถึง “หนัง” ก็มีการนำมาใช้ประโยชน์บ้างแต่ยังไม่มาก และที่ผ่านมาก็เคยมีสวนสัตว์เอกชนบางแห่งที่มี    การเลี้ยง “จระเข้” ด้วย ประกาศรับซื้อจากชาวบ้าน ซึ่งจะซื้อไปเลี้ยงโชว์เฉย ๆ หรือเอาไปทำอะไร ?? ก็ไม่ทราบได้ ??
   
ที่แน่ ๆ คือยุคหลัง ๆ “เหี้ย” ถูกเสนอเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ”
   
เป็นการเสนอที่มีการดำเนินการเรื่องความเป็นไปได้ด้วย !?!
   
อย่างเช่น...ต้นปี 2551 กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตาม อนุสัญญาไซเตส ก็ได้มีการดำเนินการหารือในหัวข้อ “การสนับสนุนให้เพาะตัวเงินตัวทอง (เหี้ย) เชิงพาณิชย์” อีกทั้งยังมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมเพาะเลี้ยง มีการประสานทีมนักวิชาการด้านสัตว์เลื้อยคลานของบางองค์กรให้ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาพฤติกรรมสัตว์ชนิดนี้ อย่างละเอียด นัยว่าเพื่ออาจจะใช้เป็นข้อมูลดำเนินการในลำดับต่อ ๆ ไป
   
“การเพาะเลี้ยงน่าจะทำได้ เพียงแต่ต้องมีการแก้ไขกฎกระทรวงให้ชัดเจน” ...เป็นเสียงจากผู้บริหารกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ในช่วงต้นปี 2551 ซึ่งในช่วงนั้นยังถึงขั้นมีการขายฝันหาเกาะกลางทะเลหรือเกาะบกแล้วนำตัวเหี้ยไปเลี้ยงไว้มาก ๆ จากนั้นก็ให้ “สัมปทานเก็บไข่เหี้ย” ให้ชาวบ้านเข้าไปเก็บไข่นำไปขายให้กับผู้ที่นิยมบริโภค รวมถึงมีการระบุด้วยว่าจะมีการประสานนักวิทยาศาสตร์ให้ทำการ “ศึกษาการใช้ประโยชน์จากน้ำลายตัวเหี้ย” ว่าทำได้เหมือนกรณีของ “มังกรโคโมโด” หรือไม่ ? เช่น ทำเป็นเซรุ่ม
   
ทั้งนี้ ย้อนเวลากลับไปไกลมากขึ้นอีก เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน หรือช่วงปลายปี 2542 ตอนนั้นทางสวนสนุก-สวนสยามก็เคยมีโครงการทำ “ฟาร์มเลี้ยงเหี้ย” ขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่ถึง 30 ไร่ กับราคาที่ดินต่อไร่ตอนนั้นตกไร่ละ 12 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สูญพันธุ์ เพื่อให้สัตว์ชนิดนี้มีอยู่ต่อไป เพราะคนทั่วไปมักไม่นิยมชมชอบ ถือว่าเป็นตัวอัปมงคล มักจะทำลาย ซึ่งตอนนั้น “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็เคยนำเสนอเรื่องนี้    
   
ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานสวนสยาม บอกไว้เมื่อปลายปี 2542 ว่า... “เหี้ย” จัดเป็น “สัตว์ดึกดำบรรพ์” มีกำเนิดชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 286 ล้านปี “มีกำเนิดชีวิตก่อนไดโนเสาร์” เสียอีก เพราะไดโนเสาร์มีกำเนิดชีวิตในช่วงประมาณ 213 ล้านปีเท่านั้น และตัวเหี้ยนับได้ว่าเป็น “สัตว์สาธารณสุขพื้นฐานของโลก” เลยทีเดียว เพราะมันจะกินเศษสิ่งปฏิกูลหรือสัตว์ที่ตายเน่าเหม็นเป็นอาหาร จึงช่วยกำจัดสิ่งสกปรก
   
ที่มีคนคิดว่ามันเป็น “สัตว์อัปมงคล” นั้น คงเป็นเพราะสมัยก่อนพวกเศรษฐีนายทุนหน้าเลือดเที่ยวกดขี่ชาวบ้าน กว้านฮุบที่ดินเรือกสวนไร่นากันเป็นล่ำเป็นสัน ตัวเหี้ยเองก็หมดแหล่งหากิน ต้องแอบเข้าไปกินปลา-กินเป็ดไก่ที่นายทุนเลี้ยงเอาไว้ ตัวเหี้ยก็เลยกลายเป็นหัวขโมย เป็นตัวร้าย จึงถูกเกลียดชัง ถูกเชื่อว่าเป็นอัปมงคล
   
“สมัยก่อนเศรษฐีบางคนเจอตัวเหี้ยเข้าบ้านถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นกังวลจนป่วยตายก็ยังมี ตรงกันข้าม ชาวบ้านที่ยากจนเมื่อเจอตัวเหี้ยเข้าบ้านแทนที่จะเกลียดกลัว กลับเรียกว่าเป็นตัวเงินตัวทอง ถือว่าจะมีโชคลาภ บางคนจับมาชำแหละเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวได้หลายวันเลย” ...ประธานสวนสยามระบุผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ซึ่งแม้ภายหลังโครงการฟาร์มเลี้ยงตัวเหี้ยที่ว่าจะเงียบหายไป แต่ก็อาจกล่าวได้ว่านี่เป็นอีกจุดเริ่มสำคัญที่ทำให้คนไทยมอง “เหี้ย” ในมุมใหม่
   
“เหี้ย” สัตว์ชนิดนี้ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจแฝงอยู่ไม่น้อยเลย...
   
แต่กรณี “ชื่อใหม่-สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่” ก็แล้วแต่จะคิด ??.

 

                                                                                                

  "ตัวเหี้ย" หรือ "ตัวเงินตัวทอง" หรือชื่อสากลว่า water monitor เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่ม monitor lizard ด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาดและพฤติกรรมส่วนตัวของมัน ทำให้คำว่าตัวเหี้ยกลายเป็นภาษาที่ไม่สุภาพในที่สุด ทั้งที่แท้จริงแล้ว "เหี้ย" คือชื่อที่ถูกต้อง คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอ บางคนจึงเรียก ตัวเงินตัวทอง แทน ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมากๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี

สายพันธุ์เหี้ยในไทย

ภาพ:ตะกวด.jpg

        ในประเทศไทยตัวเหี้ยยังมีอยู่อีก 3 ชนิด ตัวแรกคือ คือ ตะกวด (Varanus bengalensis nebulosus) หรือภาษาอีสานเรียกว่า "แลน" คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเหี้ยเสมอ ตะกวดจะมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะที่ลำตัวของตัวเหี้ยเป็นสีดำมีลายดอกสีเหลืองเรียงอยู่อย่างมีระเบียบ รูปร่างส่วนใหญ่อาจจะดูคล้ายกัน แต่เมื่อสังเกตที่รูจมูกของตะกวด จะเห็นว่าอยู่ห่างจากปลายปากมาก ต่างจากตัวเหี้ยซึ่งรูจมูกอยู่ใกล้ปลายปากมาก ทั้งนี้เพราะกระบวนการวิวัฒนาการของรูปร่างนั่นเอง จมูกที่ใกล้ปลายปากทำให้ตัวเหี้ยสามารถอยู่ในน้ำได้นาน เวลาที่มันดำน้ำมันไม่ต้องเสียเวลาโผล่ขึ้นมาหายใจทั้งหัว เพียงแค่โผล่ส่วนปลายของหัวขึ้นมาก็หายใจได้แล้ว ขณะที่สายตายังคงกวาดหาเหยื่อในน้ำต่อไปได้ ส่วนตะกวดนั้นอาศัยอยู่ตามที่ดอน ห่างจากแหล่งน้ำออกมา ใช้ปากในการขุดคุ้ยอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแมลงต่างๆ และสัตว์ขนาดเล็กๆ จมูกของมันจึงต้องอยู่ห่างจากปลายปากออกมา สองชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้ง่ายและพบได้ทั่วประเทศไทย

ภาพ:Chang.jpg

  • เห่าช้าง

เห่าช้าง เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มของเหี้ย และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus rudicollis โดยชื่อ เห่าช้าง มาจากเสียงขู่ศัตรู ฟังดูคล้ายเสียงขู่ของงูเห่า เชื่อกันว่าน้ำลายมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด

ธรรมชาติ และเมื่อลูกออกจากไข่แล้วก็จะหากินเอง

ภาพ:เหี้ยดำ.jpg

  • เหี้ยดำ

เหี้ยดำ(มังกรดำ)Black Jungle Monitor ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator komaini

ลักษณะทั่วไป

        มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก เมื่อโตเต็มวัยจากปลายปากถึงโคนหาง 50 เซนติเมตร หางยาว 60 เซนติเมตร มังกรดำ สีดำสนิทด้านทั้งตัว ไม่มีลายและจุดด่างเลย ท้องเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วงมังกรดำเป็น Monitor ชนิดที่พบใหม่ มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ยลักษณะของเกล็ดผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย

ถิ่นอาศัย, อาหาร

        มังกรดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลและเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกภาคใต้ของประเทศไทย

ภาพ:เหี้ยลายดอก.jpg

  • เหี้ยลายดอก

Water Monitor

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator

ลักษณะทั่วไป

        ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉกมีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด

ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกาในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เหี้ยไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย เหี้ยวางไข่ครั้งละ 15-30 ฟอง ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ เมื่อลูกออกมาจากไข่แล้วก็หากินเอง เปลือกไข่นิ่มแต่เหนียว

ภาพ:ตุ๊ดตู่.jpg

  • ตุ๊ดตู่

Red-headed Monitor(Harlequin Monitor)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus dumerilii

ลักษณะทั่วไป

        ลำตัวยาว 50-125 เซนติเมตร เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ

ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบอาศัยในป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สิงคโปร์ ตุ๊ดตู่กินเนื้อสัตว์และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เป็นสัตว์เชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลับนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203 - 230 วัน

ภาพ:เเลนดอน.jpg

  • แลนดอน Yellow monitor

(V. flavescens)

        เคยมีรายงานในไทย แต่ไม่มีใครพบนานมากแล้ว แต่มีมากทางอินเดีย ติดบัญชีไซเตส 1ลักษณะคล้ายแลน แต่ไม่ค่อยอยู่ใกล้น้ำ คืออยู่ที่ดอน (คือ ตะกวด.....คนภาคใต้เรียก) แลนดอนพบภาคตะวันตกกับใต้

 

                                    


ข้อมูลจาก

-www.zoothailand.org

-วิกิพีเดีย

-http://www.tei.or.th

-วิกิพีเดีย

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง มุมมอง...ตัวเงินตัวทอง ?ชื่อใหม่-สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่?...
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..