หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

แนะเทคนิกการวาดภาพทิวทัศน์แบบมืออาชีพ..
โพสต์เมื่อวันที่ : 8 ต.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6240 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(74.74%-19 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

     
    กลับสู่หน้าหลัก art school
 
 
   
 
การวาดภาพทิวทัศน์ หรือภาพวิว คืิิิอ

       การวาดภาพแสดงลักษณะธรรมชาติของภูมิประเทศที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป เช่น ทุ่งหญ้า ท้องนา ภูเขา ทะเล บ้านเรือน เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพที่มองระยะไกล
ถ่ายทอดความงามอัน่นาประทับใจผ่านผลงานศิลปะ ด้วยการวาด ถ่ายภาพ การปั้น และอื่นๆ โดยแสดงบรรยากาศที่สวยงาม ทั้งรูปทรง สัดส่วน สีสัน แสงเงา
และระยะใกล้ไกล


ลักษณะการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์

       1. การวาดภาพแบบเหมือนจริง (Realistic) ก็คือการวาดให้เหมือนจริงทั้งรูปทรง สัดส่วน แสงเงา สี ระยะใกล้ไกล
       2. การวาดภาพแบบตัดทอน (Distortion) เป็นการใช้สายตา ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ ลดทอนรูปทรงจากภาพจริงให้เป็นไปตามจินตนาการของจิตรกร        
       3. การวาดภาพแบบนามธรรม (Abstraction) เป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกแทนค่ารูปทรงและความเหมือนจริง



ประเภทของภาพทิวทัศน์

       1. ภาพทิวทัศน์บก คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนบก บนพื้นดินเป็นหลัก เช่น ท้องนา ทุ่งหญ้า ป่า ต้นไม้ ดอกไม้ แม่น้ำ ฯลฯ
       2. ภาพทิวทัศน์ทะเล คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นทะเลเป็นหลัก เช่น ชายหาด โขดหิน คลื่น เรือ ชาวประมง ฯลฯ        
       3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง คือ ภาพที่แสดงความงามของอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆอาคาร


 
                 
  ขั้นตอนการเขียนภาพทิวทัศน์
       
                 
  1. สร้างความประทับใจในธรรมชาติ
     ก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่เราชอบ
เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทำ
ให้เราสร้างสรรค์งานได้ดีกว่าวาดรูปที่ไม่ชอบ

2. วิเคราะห์ภาพทิวทัศน์
     ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของ
ภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว
แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไร
     ภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัด
เมื่อวิเคราะห์แล้วก็ฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆครั้ง

3. เลือกมุมมองและจัดภาพ
     การเลือกมุมมองของภาพสำคัญมาก ซึ่งสามารถ
หามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษ
แข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว >>
เพื่อนำแทนกล้องถ่ายรูปไง และหลักง่ายๆที่ภายในกรอบ
สนามภาพควรมีก็คือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ

    3.1 จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจ
สะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและเนื้อหาที่
สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะทำให้
ภาพดูน่าเบื่อ

    3.2 เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความสับสน

    3.3 ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกัน
พอดี เช่น
          - ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวา
             เหมือนกัน ภาพจะดูน่าเบื่อ
          - ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้าย
            ขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งภาพดู
            น่าสนใจมากกว่าแบบแรก

    3.4 ร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ ในหัวข้อนี้สำคัญมาก
และมีความยุ่งยากเล็กน้อยจึงขอขึ้นเป็นหัวข้อใหม่นะ

 
               
   
   
               
      มุมนี้จะมีจดเด่นชัดมาก เพราะสี แสง และขนาด
วัตถุที่แตกต่างจากพื้นหลัง และมีโครงสร้างและ
พื้นผิวหลังคาที่กลมกลืนกัน
มุมนี้จะไม่ดีนัก เพราะมีจุดดึงดูดความสนใจ
หลายจุด ทั้งปราสาท และตึก แต่มีความสมดุลดี
               
   
  มุมนี้ถือว่าสมบูรณ์ เพราะแก้เรื่องจุดเด่นจากรูป
ที่ 2 ด้วยการขยายกรอบให้เห็นปราสาทมากขึ้น
ช่วยให้เห็นเด่นขึ้น และมีสมดุลแบบซ้ายขวา
ไม่เท่ากันแต่มองดูแล้วเท่ากัน ทำให้ภาพไม่น่าเบื่อ
         
               
 
     
  การร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ Perspective
เส้นทัศนียภาพ คือ เส้นที่ช่วยให้การวาดภาพบนระนาบ 2 มิติ ดูเป็นภาพ 3 มิติ มีความเหมือนจริง คือ มีความกว้าง ความยาว และความลึก เพื่อแสดงให้เห็นว่าวัตถุ
ที่มีขนาดเท่ากัน ถ้าวางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันจะมีขนาดต่างกันด้วย เช่น เสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ดูใหญ่กว่าที่อยู่ไกลตา

ขั้นตอนการร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ
1. เขียนเส้นระดับสายตา (HL Horizontal Lline) เป็นเส้นที่อยู่ในระดับเดียวกับตา หรือจะเป็นเส้นขอบฟ้า เส้นที่แบ่งท้องฟ้ากับพื้นน้ำ
2. หาจุดรวมสายตา (VP Vanishing Point) หาได้โดยการร่างเส้นจากโครงสร้างของวัตถุุที่อยู่ในภาพไปยังเส้นระดับสายตา ซึ่งช่วยสร้างภาพวัตถุที่จะวาด
ให้มีระยะและขนาดต่างกัน
3. วาดรายละเอียดของวัตถุ เมื่อร่างเส้น HL และเส้นที่มุ่งไปหาจุด VP แล้ว ก็เริ่มใส่รายละเอียด แนะนำให้เริ่มร่างวัตถุที่มีขนาดใหญ่ก่อนแล้วค่อยๆร่างส่วนย่อย
 
     
           
ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิ่งก่อสร้างล้วนมีความงามอยู่ในตัวของมันเอง แต่จะงดงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้นหากความงามนั้นได้ผสมผสานกับจินตนาการของนักเรียน
และสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานศิลปะ แต่ไม่ว่าจะเหมือน ไม่เหมือน สวยหรือไม่สวย มันก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่
นักเรียนได้มีความสุขที่ได้วาด ได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองได้เห็นคุณค่าและความงดงามของธรรมชาติ
           
 
    กลับสู่หน้าหลัก art school  
    ข้อมูลภาพจาก
www.gettyimages.com
www.geocities.jp/art66jp/landscape2.html
www.justpleinair.com/

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง แนะเทคนิกการวาดภาพทิวทัศน์แบบมืออาชีพ..
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..