ฝนดาวตกเจมินิดส์



  ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือ ฝนดาวตกคนคู่ เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 6 – 19 ธันวาคมของทุกปี และวันที่ตกจะตกมากที่สุดคือวันที่ 13 -14 ธันวาคม มีอัตราการตกประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง จุด Radiant  ใกลักับดาวคาสเตอร์ (Castor ) ปริมาณดาวตกในวันที่ตกชุกที่สุด 80 จุดเรเดียน อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่       ( Gemini )

          ต้นกำเนิดฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากแกนกลางของดาวหางที่สลายตัวหมดแล้วกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย 3200Phaethon  สิ่งที่น่าสนใจในฝนดาวตกเจมินิดส์ครั้งนี้ คือมีโอกาสจะเห็นดาวตกที่สว่างมาก ๆ หรือที่เรียกว่า Fire Ball   การเกิดฝนดาวตก กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นทางขอบฟ้าด้านตะวันออกในราว 20.00 น และในราว 21.00 น.         

          กลุ่มดาวคนคู่จะอยู่สูงจากขอบฟ้าพอที่จะเริ่มสังเกตฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ ซึ่งจะแผ่ออกมาแถวบริเวณดาวแคสเตอร์ (Castor) และ ดาวพอลลักซ์ (Pollux) ที่เป็นดาวดวงที่สว่างที่สุด 2 ดวงในกลุ่มดาวคนคู่ คาดว่าจะเห็นปริมาณฝนดาวตกได้เฉลี่ยประมาณ 60 ดวงต่อชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่ 24.00 น. ไปจนถึง 02.00 น. ของวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งหลังจากนั้นดวงจันทร์จะเริ่มขึ้นที่ขอบฟ้าด้านตะวันออกทำให้เห็นฝนดาวตกยากขึ้น การเห็นฝนดาวตกอาจเห็นทางทิศตะวันออกในช่วงแรกตอนกลุ่มดาวคนคู่เริ่มขึ้น แต่ในช่วงดึกเมื่อกลุ่มดาวคนคู่อยู่บริเวณตำแหน่งเหนือศีรษะอาจเห็นได้ทุกทิศทาง

          อย่างไรก็ตาม ฝนดาวตกเจมินิดส์อาจไม่สว่างเหมือนฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่ตามสถิติแล้วจะมีจำนวนมากกว่า ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากเศษดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อว่า 3200 ฟีทอน (3200 Phaethon) ต่างจากฝนดาวตกอื่นๆ ที่ส่วนมากเกิดจากเศษของดาวหาง ซึ่งนักดาราศาสตร์พบว่าเศษที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 ฟีทอนทิ้งไว้ค่อนข้างมาก ทำให้ปริมาณฝนดาวตกมีมากกว่าฝนดาวตกชนิดอื่นๆ และฝนดาวตกเจมินิดส์นี้มักจะมีการเคลื่อนที่ค่อนข้างช้ากว่าฝนดาวตกอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากโลกไม่ได้ชนเข้าไปในบริเวณฝุ่นแบบตรง (Head-on) และเศษดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่ค่อนข้างช้า โดยเข้าในบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วประมาณ 35 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าฝนดาวตกอื่นๆ จึงทำให้มีโอกาสเห็นได้ง่ายกว่าฝนดาวตกอื่นๆ

 

ที่มา สนุกพีเดีย

โพสต์เมื่อ 12 ธ.ค. 2551 อ่าน 34777 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


คู่ชิดวิทย์สร้างสรรค์ คู่ขวัญ "สงกรานต์… ดินสอพอง" [อ่าน 591]
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี [อ่าน 860]
ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร [อ่าน 1454]
ไขมันในร่างกาย [อ่าน 928]
ภูเขาไฟใต้น้ำปะทุ พ่นลาวา-ขี้เถ้า กลายเป็นเกาะเกิดใหม่ (มีคลิป) [อ่าน 961]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)