แจงรีไฟแนนซ์แบงก์ออมสินดอกเบี้ย4%ต่อปี สูงสุดไม่เกิน7แสน ทายาทต้องเซ็นยินยอม



#showpic

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบโครงการลดภาระหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยธนาคารออมสินจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่ให้ผู้กู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้เงินกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ซึ่งทายาทจะได้รับเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม เป็นเงินบำเหน็จตกทอด นำมาขอสินเชื่อใหม่ หรือรีไฟแนนซ์ เพื่อลดภาระหนี้ หรือปิดบัญชีที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 4% ว่าเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เบื้องต้นธนาคารออมสินได้กำหนดไว้ว่า

  • ครูต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ระยะเวลากู้ 20 ปี
  • ทั้งนี้ อายุผู้กู้ และอายุสัญญากู้ จะต้องมีอายุรวมไม่เกิน 75 ปี เช่น ถ้าอายุ 65 ปี จะเหลือระยะเวลากู้ 10 ปี เป็นต้น
  • ที่สำคัญทายาทต้องเซ็นยินยอมให้ธนาคารออมสินรับเงินค่าสงเคราะห์รายศพ ช.พ.ค.ก่อน ครูถึงจะเข้าร่วมโครงการนี้ได้
  • โดยโครงการนี้ครูที่ถูกธนาคารออมสินยื่นโนติสไปแล้ว ประสานขอเข้าร่วมโครงการได้เช่นกัน

“หลักการของการใช้เงิน ช.พ.ค.มารีไฟแนนซ์นั้น คิดจากฐานปัจจุบันที่ทายาทจะได้รับเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม อยู่ที่ประมาณ 950,000 บาท มาตั้งเป็นวงเงินรีไฟแนนซ์สำหรับครู โดยสูงสุดรายละไม่เกิน 700,000 บาท แบ่งเป็น 2 ส่วน อาทิ สมาชิกเป็นหนี้ธนาคารออมสิน 350,000 บาท เมื่อเข้าร่วมโครงการธนาคารจะหักเงินต้นส่วนแรกทันที 350,000 บาท และส่วนที่จะคิดเป็นดอกเบี้ย 4% ต่อปี ตลอดอายุการกู้ 20 ปี รวมกับเงินค่าสมาชิก ช.พ.ค.ระยะ 20 ปี ซึ่งปัจจุบันครูต้องจ่ายเงินค่าสมาชิก ช.พ.ค.เดือนละประมาณ 600 บาท จะต้องถูกหักไปทันที ดังนั้น เมื่อครูเข้าร่วมโครงการนี้ จะถือเป็นการหักเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสินไปแล้ว ถ้าครูมีหนี้เงินต้นลดน้อยลง จะทำให้การผ่อนชำระหนี้ส่วนที่เหลือลดลงไปด้วย แต่หนี้ส่วนที่เหลือยังคงต้องผ่อนชำระในอัตรา 6.5-6.7% ต่อปีเท่ากับปัจจุบัน สำหรับทายาทนั้น หากครูเข้าร่วมโครงการก็ยังคงได้รับเงินค่าจัดการศพจาก ช.พ.ค. 200,000 บาท และหากยังมีเงินส่วนต่างเหลือจากที่ใช้หนี้ธนาคารอีก ก็จะคืนให้แก่ทายาท” นายพินิจศักดิ์กล่าว

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 

โพสต์เมื่อ 12 ก.พ. 2559 อ่าน 11543 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว [อ่าน 1024]
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ) [อ่าน 489]
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ [อ่าน 671]
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข" [อ่าน 889]
แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข) [อ่าน 2072]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)