การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ



การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ

การเพาะกล้ามะเขือเปราะ

1.ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาด พลาสติกเพาะกล้า
2.ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม.
3.นําเมลด็มะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูกหลุมละ 1-2 เมล็ด
4.กลบดินผิวหนา้เมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้า
5.หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ําต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็นจนกระทั่งต้น กล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถางหรือแปลงปลูก

การเตรียมดินและการปลูก

ปลูกในแปลง
ควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดิน หน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ย คอกหรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้า ให้เข้ากับดินในแปลง ขุดหลุมลึกประมาณ 15 – 20 ซม. ระยะปลูก 50 X 50 ซม. ย้ายกล้าที่มีอายุ 1 เดือน ลงหลมุ ปลูก กลบดินให้พูน สูง แล้วรดน้ําให้ชุ่ม

ปลูกในกระถาง
ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1 ย้ายกล้าที่มีอายุ 1 เดือน ลงกระถางปลูก กลบ ดินให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา
1.รดน้ําทุกวันและในช่วงการตดิผลต้องระมัดระวังในน้ําอย่างสม่ำเสมอ
2.หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 เซนติเมตร และรดน้ําทันที
3.ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชาทุกๆ 15 วัน
4.หลังย้ายปลูกนาน45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิตสามารถเก็บผลผลติไปบริโภคได้
5.หลังจากที่สามารถเกบ็เกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้างเพื่อทําให้ลําต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรงจะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก

ศัตรูที่สําคัญของมะเขือเปราะ แมลงศัตรู

1.เพลี้ยไฟ
ศัตรูชนิดนี้มีตัวอ่อน ลําตัวยาวสีเหลืองเคลื่อนไหวเร็วอยู่ตามยอด ซอกใบ และใต้ใบ ตัวแก่สีดําบินเร็ว เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของมะเขือ ระบาดไดร้วดเร็วมากโดยจะดูดน้ำจากใบทําให้ใบเหลือง แข็ง กรอบ ผิวใบอาจฉีกขาด ยอดมีสีน้ําตาล ไม่ค่อยเจริญเติบโต และต้นทรุดโทรมเร็ว ระบาดมากช่วงฤดูหนาว การป้องกันกําจัดฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดเพลยี้ไฟเช่นคาร์โบซัลแฟน,ฟิโปรนิล,อะบาแมคตนิเป็นต้น

2.เพลี้ยแป้ง
ทําให้เกิดใบหยิกหด ใบและยอดอ่อนหยิกและหด ข้อสั้นและอวบหญ่มสี ีเขียวเขม้ ไมเ่ จรญิ ต่อไป เพราะมีศตั รูที่มีแป้งสีขาวเกาะติดอยู่เป็น
กระจุก
การป้องกันกําจัดฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกําจัดประเภทดูดซมึ เช่นเดียวกับการกําจัดเพลี้ยไฟ

โรคที่สําคัญ

1.โรคผลเน่า
เกิดจากเชื้อรา อาการของผลและกิ่งจะปรากฏสีน้ําตาลแล้วลามเข้าไปทั้งผล และกิ่งจนแห้งตาย บน กิ่ง แห้งพบเมล็ดราสีดํา ขนาดเล็ก กว่าเข็มหมุดขึ้นตรงกลางแผลสีน้ําตาล

การป้องกันกําจัด ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและผลเน่าออกจากแปลง ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกําจัดเชื้อรา

2.โรคโคนเน่า
เกิดจากเชื้อรา อาการที่พบคือต้นเหี่ยวเฉาตาย เมื่อถอนต้นขึ้นมาตรวจพบเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวโคนต้นระดับดิน ทําให้โคนต้นแห้งเป็นสี น้ําตาลเชื้อราสร้างเส้นใยและมีเม็ดรา
เป็นสีขาวและดําเท่ากับเมล็ดผักกาด แทรกอยู่ระหว่างก้อนดินโคนต้น


การป้องกันกําจัด ถอนต้นที่เป็นโรคเผาไฟรวมทั้งดินโคนด้วยใส่ปูนขาวในหลุมที่เป็นโรค หรือ ละลายปูนขาวกับน้ํารดโคนต้น หรือยากําจัด เชื้อรา รดโคนต้นเมื่อปลูกใหม่ ควรปรับดินด้วยปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียนในแหล่งที่มีโรคระบาดมาก 

 

ขอบคุณที่มาจาก www.doa.go.th

โพสต์เมื่อ 15 ส.ค. 2566 อ่าน 5471 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง [อ่าน 3367]
สูตร "วิธีทำข้าวซอย" [อ่าน 1723]
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้ [อ่าน 3322]
ความแตกต่างระหว่างด้ายเย็บผ้าและด้ายปัก และประเภทของด้ายปัก [อ่าน 2389]
การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ [อ่าน 5471]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)