การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเอกสารประกอบการเรียน ชุด เด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบ การเรียน ชุด เด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (บดินทร์เดชาประสิทธิ์) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียน ชุด เด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด เด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.35 0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .34 - 0.84 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด เด็กไทย ใสใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 สถิติที่นำมาใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกสันกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด เด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.39/81.11 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80 / 80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดเด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด