ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดก

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน

สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ชื่อผู้วิจัย นางวรรณพร พุทธ์เจริญ ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และ4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวด 7 ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พุทธศักราช 2552 – 2561) และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2546 มาตรา 49 ประกอบกับแผนงาน/โครงการของสถานศึกษา, แนวคิดหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน ได้แก่ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของ เบนนิสและชิน (Bennis and Chin 1969 : 34 – 35 ; อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี 2550 : 33 – 34 ) ทฤษฎีแรงจูงใจ ของ เฮอร์ซเบร์ก 1988 ,อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 68 – 69) ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ ของ เมโย (Mayo อ้างถึงใน Sergiovanni and Stratt 1988) ทฤษฎีภาวะผู้นำของมูตันและเบล็ก (Mouton and Blake) ; เฮอร์เซย์และบลันชาร์ด (Hersey and Blanchard อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี 2550 : 61, 65) และทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ของ วัชรา เล่าเรียนดี (2550 : 38) และแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ, ประเด็นการสนทนาครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระและประเด็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และการสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน แหล่งข้อมูล/ กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง ครูโรงเรียนเทศบาลชนะชัยศรี สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 16 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/ กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ4 ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมือง อรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ที่ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 8 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ จำนวน 8 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ช่วงชั้นเป็นหน่วยในการสุ่ม และใช้การเจาะจงเลือกครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน 2) แผนการนิเทศการสอน 3) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการนิเทศการสอนและด้านการวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent) 4) แบบประเมินความสามารถในการนิเทศการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการนิเทศการสอน, แบบประเมินความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน , แบประเมินความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน , แบบประเมินความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัย

1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความ สามารถการทำวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับสถานศึกษามีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนให้ควบคู่กันไปกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยใช้การนิเทศการสอนพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนและใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระก็มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันว่า ควรพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพและสมรรถนะในการทำงานของครูเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในส่วนของความคิดเห็นของนักเรียนก็มีความต้องการให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายเน้นการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยเพียงพอคอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1

2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอน (UADE Model) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 4 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ (Understand : U) ขั้นที่ 2 ขั้นเข้าถึงปัญหา (Access the Problem : A) ขั้นที่ 3 ขั้นร่วมใจพัฒนา (Development Efforts : D) ซึ่งประกอบด้วย 1. การคัดกรองระดับความรู้ (Classifying) 2. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing) 3. การดำเนินงานนิเทศการสอน (Proceeding) ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานย่อยๆ ดังนี้ 1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre conference) 2) การสังเกตการสอน (Observation) และ 3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post conference) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลการพัฒนา ( Evaluation : E) มีความเหมาะสม/ สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.07 และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเทศบาลชนะชัยศรี ที่ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 8 คนและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวนรวมทั้งสิ้น 16 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยภาพรวมเท่ากับ 82.03/85.63 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า จากการนำรูปแบบการนิเทศการสอน (UADE Model) ไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้วภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) และใช้การเจาะจงเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เป็นกลุ่มตัวอย่างครูผู้รับการนิเทศการสอน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ เป็นกลุ่มตัวอย่างครูผู้นิเทศการสอน ระหว่างการนิเทศการสอนและหลังการนิเทศมีผลการประเมินความสามารถในการนิเทศการสอนและการทำวิจัยในชั้นเรียนดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการนิเทศการสอนของครูผู้นิเทศการสอนประเมินโดยผู้วิจัยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.22 คะแนนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39 คะแนน และประเมินโดยครูผู้รับการนิเทศการสอนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.36 คะแนนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.18 คะแนน 2) ด้านความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศการสอนประเมินโดยผู้วิจัยมี คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.23 คะแนน และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.05 คะแนน และประเมินโดยครูผู้นิเทศการสอน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.25 คะแนนและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.01 คะแนน 3) ด้านความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับกานิเทศการสอนประเมินโดยผู้วิจัย มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.44 คะแนน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.14 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย ร้อยละเท่ากับ 81.25 คะแนน 4) ด้านความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศการประเมินโดยผู้วิจัย มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.77 คะแนน และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.93 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 88.02 คะแนน เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3

4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า หลังการนิเทศการสอนโดยใช้รูปแบบการนิเทศการสอน (UADE Model) โดยภาพรวมครูผู้นิเทศการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอนมีผลการประเมินสูงกว่าก่อนการนิเทศการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 2 ด้าน โดยมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.33 2) ด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 15.15 และเมื่อจำแนกพิจารณาครูผู้นิเทศการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอน พบว่า มีผลการประเมินสูงกว่าก่อนการนิเทศการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งครูผู้นิเทศการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอน โดยมีค่าการทดสอบที t-test dependent) ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนครูผู้นิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.51 และครูผู้รับการนิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 8.92 2) ด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้นิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.10 และครูผู้รับการนิเทศการสอนมีค่าการทดสอบที (t-test dependent) เท่ากับ 13.98 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย (x̄ ) เท่ากับ 37.29 และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.06 คะแนน

โพสต์โดย วรรณพร : [10 ก.พ. 2560 เวลา 22:17 น.]
อ่าน [2734] ไอพี : 118.174.173.45
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,838 ครั้ง
ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

เปิดอ่าน 9,799 ครั้ง
ความลับ ทำไมคนญี่ปุ่นถึงอายุยืนที่สุดในโลก
ความลับ ทำไมคนญี่ปุ่นถึงอายุยืนที่สุดในโลก

เปิดอ่าน 9,931 ครั้ง
ตรุษจีน 58 กับเรื่อง ปีชง...เอาที่สบายใจ
ตรุษจีน 58 กับเรื่อง ปีชง...เอาที่สบายใจ

เปิดอ่าน 17,792 ครั้ง
ว่านหางช้าง
ว่านหางช้าง

เปิดอ่าน 11,570 ครั้ง
มัลเบอร์รี่ ผลไม้สุดเทรนดี้ ประจำปี 2013
มัลเบอร์รี่ ผลไม้สุดเทรนดี้ ประจำปี 2013

เปิดอ่าน 67,921 ครั้ง
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เปิดอ่าน 19,824 ครั้ง
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม

เปิดอ่าน 13,367 ครั้ง
น่ารักสุดๆ วงโยธวาทิตมหาวิทยาลัยโอไฮโอเล่นกังนัมสไตล์
น่ารักสุดๆ วงโยธวาทิตมหาวิทยาลัยโอไฮโอเล่นกังนัมสไตล์

เปิดอ่าน 22,612 ครั้ง
"เพกา" คืออะไร
"เพกา" คืออะไร

เปิดอ่าน 10,832 ครั้ง
ทำไมขนมโดนัทจึงมีรู
ทำไมขนมโดนัทจึงมีรู

เปิดอ่าน 74,226 ครั้ง
คุณภาพการศึกษา...คืออะไร
คุณภาพการศึกษา...คืออะไร

เปิดอ่าน 14,846 ครั้ง
รับอากาศบริสุทธิ์ เพิ่มพลังให้สมอง
รับอากาศบริสุทธิ์ เพิ่มพลังให้สมอง

เปิดอ่าน 29,521 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา

เปิดอ่าน 13,853 ครั้ง
หลังออกกำลังกาย กินอะไรให้ร่างกายฟื้นตัวดี
หลังออกกำลังกาย กินอะไรให้ร่างกายฟื้นตัวดี

เปิดอ่าน 13,531 ครั้ง
ประโยชน์ของวิตามินบี...ที่ไม่ควรมองข้าม
ประโยชน์ของวิตามินบี...ที่ไม่ควรมองข้าม

เปิดอ่าน 10,499 ครั้ง
9 เรื่องเล็ก ๆ ที่จะทำให้คุณก้าวหน้า
9 เรื่องเล็ก ๆ ที่จะทำให้คุณก้าวหน้า
เปิดอ่าน 24,614 ครั้ง
4 ข้อควรทำคลายบาดเจ็บจากกีฬา
4 ข้อควรทำคลายบาดเจ็บจากกีฬา
เปิดอ่าน 19,597 ครั้ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
เปิดอ่าน 14,469 ครั้ง
เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ
เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ
เปิดอ่าน 11,541 ครั้ง
เคี้ยวมาก สุขภาพดี
เคี้ยวมาก สุขภาพดี

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
Koi360
คลินิกเสริมความงาม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 081-3431047

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ