ผู้รายงาน นางสาวพีรวรรณ แก้วสุกแสง
ที่อยู่ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชาการแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน เรียนด้วยชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชา การแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชา การแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง จำนวน 39 คน โดยจัดการเรียนการสอนด้วยชุดเทคโนโลยี QR CODEฯ ที่พัฒนาขึ้นใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ชุดเทคโนโลยี QR CODEฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 processing and preservation ชุดที่ 2 Food products และชุดที่ 3 Good sale เนื้อหาเรื่องการแปรรูปอาหารและการถนอมจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือ One Group Pretest - Posttest Design และใช้ t-test for Dependent Sample ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตรวจสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชา การแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.76/89.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชา การแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ที่สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชา การแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง อยู่ใน ระดับมาก
จึงอาจกล่าวได้ว่าชุดเทคโนโลยี QR CODE สำหรับการจัดการเรียนรู้ วิชา การแปรรูปอาหาร เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ