ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน วิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

1 ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน วิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

2 ชื่อผู้วิจัย นายมณู ดีตรุษ

3 ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย

การจัดการศึกษาของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมานั้นยังมีข้อบกพร่อง ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ ทำให้การศึกษาของประเทศไทยไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร และเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยนั้นนอกจากจะไม่เป็นที่น่าพอใจแล้วยังด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดหลายประการ คือ การกำหนดหลักสูตรจากส่วนกลางไม่สามารถที่จะสะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษา ชุมชนและท้องถิ่นได้ การจัดหลักสูตร และการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่สามารถที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้ การนำหลักสูตรไปใช้ไม่สามารถสร้างพื้นฐานความคิด สร้างวิธีการเรียนรู้ให้คนไทยมีทักษะในการจัดการและการดำเนินชีวิตให้สามารถเผชิญปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังไม่สามารถทำให้ผู้เรียนใช้ภาษาต่างประเทศในการติดต่อสื่อสารและการค้นคว้าหาความรู้ได้ จากปัญหาในด้านการจัดการศึกษาดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยต้องหันมาทบทวนรูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาของชาติ กล่าวคือ ทุกฝ่าย ทั้งครูผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้เรียน ชุมชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาและร่วมมือกันปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อที่จะทำให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้ในการปฏิรูปการศึกษา และเป็นเครื่องมือกำกับชี้นำแนวทางการจัดการศึกษาของประเทศไทย ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม ทุกหมวดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะมุ่งประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนทั้งสิ้น โดยเฉพาะหมวด 4 ที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวการจัดการศึกษา ในมาตรา 22 กล่าวว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการปฏิรูปการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความถนัด ตามความสามารถ และลงมือปฏิบัติค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงจนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพที่แท้จริง ทั้งนี้ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จคือ “ครูผู้สอน” ซึ่งครูผู้สอนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาจะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลายและมีอิสระมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทในการจัดการเรียนรู้จากเดิมครูผู้สอนที่เป็นผู้ชี้นำหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งยังต้องจัดเตรียมสถานการณ์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด วิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักพึ่งตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้อื่นๆ อีกมากมายด้วยตนเอง เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้วิธีเรียน ผู้เรียนจะเรียนรู้มากกว่าเห็น เข้าใจมากกว่าทำ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่ง ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นหรือเป็นไปได้นั้นขึ้นอยู่กับครูผู้สอน ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนแบบเดิมๆ โดยเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดมาเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีต่างๆ อย่างลึกซึ้ง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิด ประสบการณ์การสอน ความสัมพันธ์ของผู้สอนและผู้เรียนต้องอยู่ในลักษณะของการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนางานสู่การปฏิรูปการศึกษาโดยการเร่งพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการนำหลักการไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมครบวงจร ประกอบด้วย การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง การสนับสนุนให้ผู้เรียนจัดทำโครงงาน การจัดระบบข้อมูลช่วยเหลือผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งในการนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไปปฏิบัติอาจพบปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาจากครูผู้สอน ได้แก่ ครูผู้สอนเคยชินกับวิธีสอนแบบเดิม ครูผู้สอนรู้สึกว่าถูกลดบทบาทและหมดอำนาจในห้องเรียน ครูผู้สอนไม่มั่นใจในเทคนิค ทักษะ และวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนว่าเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพียงใด ครูผู้สอนส่วนมากเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ผู้เรียนเรียนได้ช้า ไม่ทันใจ ไม่เหมาะสมที่จะใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีระดับสติปัญญาหรือผลการเรียนต่ำ ปัญหาที่เกิดจากสถานศึกษา ได้แก่ การเตรียมการด้านต่างๆ ของสถานศึกษาไม่จริงจังต่อเนื่อง บุคลากรบางฝ่ายไม่เข้าใจแนวทางวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวนผู้เรียนในแต่ละห้องเรียนมีมากเกินไป ปัญหาที่เกิดจากผู้เรียน ได้แก่ ผู้เรียนส่วนมากขาดทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ การปฏิบัติ การอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และการทำงานเป็นกลุ่ม ผู้เรียนเคยชินกับการรับความรู้มากกว่าปฏิบัติเพื่อค้นหาความรู้เอง จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ การนำแนวคิดนี้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนและในสถานศึกษาจึงต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างจริงจังให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ มีความชัดเจนในหลักการ วิธีการ เทคนิค และทักษะต่างๆ ในการจัดการทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังจะเห็นได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ครูซึ่งเป็นบุคลากรที่สำคัญที่สุดในการนำแนวคิดไปจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สำเร็จจริง

วิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในฐานะที่เป็นสถานศึกษาที่จัดการทางด้านวิชาชีพ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินงาน ให้ครูผู้สอน และบุคลากร ได้มีการพัฒนาตนเองตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา โดยการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีประสิทธิภาพ และใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในการเสริมสร้างสมรรถภาพของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

4 คำถามการวิจัย

4.1 สภาพพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอย่างไร

4.2 กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นอย่างไร

4.3 ผลการตรวจสอบความเหมาะสม, ความเป็นไปได้, ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ของกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีมากน้อยเพียงใด

4.4 ผลการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นอย่างไร

5 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

5.1 เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

5.2 เพื่อสร้างรูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.3 เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.4 เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบในหมวด 3 ต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละระดับการศึกษา ได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา นอกจากนั้น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังต้องส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนรู้และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ การประเมินผลผู้เรียน ให้สถานศึกษาพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ส่วนการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบด้วย

การจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว โดยเน้นให้ผู้เรียนสามารถคิดค้น สร้าง และสรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง และนำข้อความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยมีครูผู้สอนคอยอำนวยความสะดวกให้คำแนะนำ และเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข ครูผู้สอนก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน จำแนกได้ออกเป็น 4 กลุ่มรูปแบบ คือ 1) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดและการจัดการ 2) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ประสบการณ์จริง 3) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 4) กลุ่มรูปแบบการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการ ซึ่งแต่ละกลุ่มรูปแบบจะประกอบด้วยรูปแบบ และวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายที่เหมาะสมกับลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริงทั้งในและนอกห้องเรียน มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด

7 วิธีดำเนินการวิจัย

7.1 กลุ่มเป้าหมาย

7.1.1 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครองของผู้เรียน ในวิทยาลัย การอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

7.1.2 กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

7.1.2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน โดยแบบสอบถาม คือ ครูผู้สอน ผู้เรียน จำนวน 214 คน

7.1.2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน คือ ครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง

7.1.2.3 กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้วิเคราะห์ SWOT เกี่ยวกับทรัพยากรที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน ในวิทยาลัยการอาชีพ ด่านซ้าย

7.1.2.4 กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเหมาะสม, ความเป็นไปได้, ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ของกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 7 คน

7.1.2.5 กลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหา จำนวน 3 รายวิชา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

7.1.2.6 กลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครูผู้สอนทุกคนๆ ละ 1 รายวิชาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

7.1.2.7 กลุ่มเป้าหมายที่ประเมินกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

7.2 การพัฒนากระบวนการมี 4 ระยะ

ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน ในวิทยาลัยการอาชีพ ด่านซ้าย จังหวัดเลย

ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสม, ความเป็นไปได้, ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ของกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระยะที่ 4 การทดลองใช้กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

8 ผลการวิจัย

8.1 การศึกษาสภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาสภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ในวิทยาลัย การอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น แบบสอบถามสำรวจพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบตรวจสอบเอกสารการสอน แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มเพื่อการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งสรุปได้ว่า การจัดทำแผนการเรียนรู้ของครูผู้สอนไม่สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียนและบางส่วนไม่ได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนขาดความสนใจในการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนขาดทักษะในการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้, สรุปองค์ความรู้ร่วมกัน, การคิดแก้ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา เครื่องมือการวัดผลประเมินผลไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชาและไม่มีเกณฑ์การประเมินผลอย่างชัดเจน

8.2 การสร้างรูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจากการเก็บรวมข้อมูล กำหนดเป็นรูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ "การเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม" ซึ่งได้มีการประชุมเพื่อหาฉันทามติ แสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อรูปแบบฯ ผลการประชุมกลุ่มที่นำเสนอมีฉันทามติเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์

8.3 การตรวจสอบความเหมาะสม, ความเป็นไปได้, ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ของกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โดยสอบถามในวงกว้างใช้แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ ต่างเห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และจากผลการประชุมสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความสอดคล้องของรูปแบบฯ โดยคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา เพื่อหาฉันทามติ พบว่ามีมติเป็นเอกฉันท์

8.4 การทดลองใช้กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผู้วิจัยได้นำ รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม ทดลองใช้ จำนวน 3 รายวิชา คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประเภทวิชาพาณิชยกรรม และวิชาสามัญ ทำการประเมินเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และปรับปรุงรูปแบบฯ ให้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง และได้นำไปทดลองใช้ ซึ่งมอบหมายให้ครูผู้สอนในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้ายทุกคนนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีการติดตามผลการทดลองใช้ด้วยวิธีการนิเทศ ติดตาม บันทึกผล ครูผู้สอนจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งก็เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น ผู้วิจัยได้พัฒนาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็น "รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม"

9 รูปแบบกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม)

9.1 การนำเข้าสู่บทเรียน/เสนอปัญหา/ประเด็น

เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนเสนอปัญหา เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ แก่ผู้เรียน หรือให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ในบทเรียน เหตุการณ์หรือปัญหาที่ครูผู้สอนเสนอต้องชัดเจน สามารถอธิบายได้ มีข้อมูลมายืนยันได้ แปลกใหม่ น่าฉงน ก่อให้เกิดความรู้ ประการสำคัญคือ ปรากฏการณ์ควรเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และมีรายละเอียดต่างๆ และหากเป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียนก็จะทำให้เกิดแรงกระตุ้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจและมองเห็นปัญหาต่างๆ สามารถกำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่อยากรู้อยากเรียนได้ และเกิดความสนใจใคร่รู้ที่จะค้นหาคำตอบ

9.2 ศึกษาวิเคราะห์ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหา

เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจในปัญหา หรือเป็นการกำหนดสมมติฐานเพื่อนำไปสู่วิธีการวางแผนแก้ปัญหา ผู้เรียนอาจเสนอแนวคิด วิธีการหาคำตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม และกลุ่มอื่นๆ ครูผู้สอนอาจนำเสนอและเพิ่มเติมให้ชัดเจนก็ได้ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน

9.3 การเก็บข้อมูล

เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้เก็บข้อมูล ได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้ลงมือปฏิบัติ ทดลอง เพื่อหาคำตอบของคำถามหรือประเด็นที่กำหนดไว้ ซึ่งการดำเนินการในขั้นนี้ผู้เรียนควรแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกภายในกลุ่มให้ชัดเจน เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบอย่างอิสระ ตรงตามสมมติฐานที่กำหนดขึ้น และครอบคลุมมิติทุกด้านของสมมติฐาน และมีการจดบันทึกข้อมูล ครูผู้สอนเป็นผู้สังเกตและอำนวยความสะดวก

9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล/รวบรวมความรู้ เสนอผลการเรียนรู้

เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนพิจารณาการเก็บข้อมูลของกลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้ ทำการอภิปรายและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ถูกต้องและเพียงพอที่จะนำมาใช้เป็นคำตอบหรือไม่ หากข้อมูลที่ได้มายังไม่มีความเหมาะสมกลุ่มจะต้องช่วยกันวิเคราะห์ว่าต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมและแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ผู้เรียนกลุ่มย่อยส่งตัวแทนนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครูผู้สอนบูรณาการแนวคิดจากการนำเสนอของผู้เรียน อธิบายแนวคิดของผู้เรียนให้ชัดเจน สรุปประเด็นและขยายแนวคิด

9.5 สรุปและประเมินค่าคำตอบ

เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของตนเองและประเมินผลงานของตนว่าข้อมูลที่ค้นคว้ามามีความเหมาะสมหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ความรู้ได้มามีความลุ่มลึกและตอบคำถามหรือปัญหาที่กำหนดไว้ตอนต้นได้เพียงพอหรือไม่ ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายข้อมูลที่ได้มา ครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญองค์ความรู้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครูผู้สอนเสนอแนะการปฏิบัติงานของกลุ่ม อธิบาย สรุปประเด็นและขยายแนวคิดของผู้เรียนให้ชัดเจน

9.6 การปรับปรุงการเรียนรู้และนำไปใช้

เป็นขั้นตอนพัฒนาทักษะรายกลุ่ม และทักษะรายบุคคลในการฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหา

10 ข้อเสนอแนะ

10.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป มีดังนี้

10.1.1 ครูผู้สอนควรศึกษาผลการวิจัยนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

10.1.2 ครูผู้สอนควรศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบต่างๆ ให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม

10.1.3 ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมการสอน โดยเฉพาะการวิเคราะห์ผู้เรียนร่วมกับการวิเคราะห์หลักสูตร และการจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

10.1.4 การให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าสำคัญเพราะจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

10.1.5 การแสวงหาคำตอบต่อประเด็นคำถามตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม ควรให้ผู้เรียนมีอิสระ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม

10.1.6 ครูผู้สอนควรได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

10.2 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ มีดังนี้

10.2.1 สถานศึกษาควรให้การส่งเสริม สนับสนุนในการอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจถึงการใช้รูปแบบฯ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

10.2.2 สถานศึกษาควรสนับสนุนให้มีการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการนิเทศกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีการพัฒนาต่อไป

10.2.3 ควรได้มีการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติซึ่งใช้ปัญหาเป็นฐานโดยกระบวนการกลุ่มในสถานศึกษาอื่นๆ เพื่อจะได้นำผลการวิจัยไปปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างกว้างขวาง

11 เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน. (2545). ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (cippa model). วารสารวิชาการ, 2(5), 3-30.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัทเยลโล่การพิมพ์.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

นุชวนา เหลืองอังกูร. (2545). การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. วารสารวิชาการ. 5(10) : 11; ตุลาคม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน 2. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแบเนจเม็นท์.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2548). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2546). การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ส.เอเซียเพลส.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แอล ที เพลส.

วัลลี สัตยาศัย. (2547). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักรูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เบร็นเน็ท.

สมนึก นนทิจันทร์. (2545). การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลจากสภาพจริงของผู้เรียนโดยใช้แฟ้มสะสมงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

โพสต์โดย มณู ดีตรุษ : [25 พ.ค. 2565 เวลา 07:16 น.]
อ่าน [2014] ไอพี : 202.29.224.22
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 3,897 ครั้ง
"ไข่มดแดง" โปรตีนสูง-ไขมันต่ำ กรมอนามัยแนะ เลี่ยงกินสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงท้องร่วง
"ไข่มดแดง" โปรตีนสูง-ไขมันต่ำ กรมอนามัยแนะ เลี่ยงกินสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงท้องร่วง

เปิดอ่าน 21,337 ครั้ง
เป็นหนี้บัตรเครดิต ธนาคารยึดเงินจากบัญชีเงินเดือนลูกหนี้ได้หรือไม่?
เป็นหนี้บัตรเครดิต ธนาคารยึดเงินจากบัญชีเงินเดือนลูกหนี้ได้หรือไม่?

เปิดอ่าน 33,504 ครั้ง
xDSL คืออะไร?
xDSL คืออะไร?

เปิดอ่าน 15,465 ครั้ง
ล้างพิษด้วยตนเองใน 1 วัน‏
ล้างพิษด้วยตนเองใน 1 วัน‏

เปิดอ่าน 14,115 ครั้ง
คนขับรถเมล์ เป็นลมขณะขับรถ ผู้โดยสารช่วยกันประคองรถวุ่น
คนขับรถเมล์ เป็นลมขณะขับรถ ผู้โดยสารช่วยกันประคองรถวุ่น

เปิดอ่าน 11,783 ครั้ง
9 วิธีเด็ด แก้หลับเวลากวดวิชา
9 วิธีเด็ด แก้หลับเวลากวดวิชา

เปิดอ่าน 52,965 ครั้ง
รายละเอียดเกณฑ์วิทยฐานะ(ใหม่) ใช้บังคับ 1 ต.ค.51
รายละเอียดเกณฑ์วิทยฐานะ(ใหม่) ใช้บังคับ 1 ต.ค.51

เปิดอ่าน 40,378 ครั้ง
ปีอธิกสุรทิน
ปีอธิกสุรทิน

เปิดอ่าน 456,924 ครั้ง
nouns Countable/Uncountable Nouns - นามนับได้/ไม่ได้
nouns Countable/Uncountable Nouns - นามนับได้/ไม่ได้

เปิดอ่าน 24,308 ครั้ง
การช่างและหมู่บ้านช่าง
การช่างและหมู่บ้านช่าง

เปิดอ่าน 13,713 ครั้ง
ตัวอย่างภาพถ่าย จากกล้องของ iPhone 5
ตัวอย่างภาพถ่าย จากกล้องของ iPhone 5

เปิดอ่าน 10,596 ครั้ง
วิธีลดลอยแผลขรุขระบนใบหน้า
วิธีลดลอยแผลขรุขระบนใบหน้า

เปิดอ่าน 21,550 ครั้ง
ข้อคิดดีๆ จากละคร "แรงเงา"
ข้อคิดดีๆ จากละคร "แรงเงา"

เปิดอ่าน 96,342 ครั้ง
ความหมายของ e-Learning (โดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง)
ความหมายของ e-Learning (โดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง)

เปิดอ่าน 18,774 ครั้ง
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับฉบับ 2549 เหมือน-ต่างกันตรงไหน
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับฉบับ 2549 เหมือน-ต่างกันตรงไหน

เปิดอ่าน 17,473 ครั้ง
ที่แท้กลิ่นปากมันเกิดจากสาเหตุเหล่านี้นี่เอง
ที่แท้กลิ่นปากมันเกิดจากสาเหตุเหล่านี้นี่เอง
เปิดอ่าน 34,019 ครั้ง
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
เปิดอ่าน 107,335 ครั้ง
กรรม คือ อะไร?
กรรม คือ อะไร?
เปิดอ่าน 24,763 ครั้ง
เรื่องของเหรียญบาท
เรื่องของเหรียญบาท
เปิดอ่าน 14,943 ครั้ง
วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน
วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ