การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาและใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน โดยใช้สื่อการสอน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย รายวิชาวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Games-based Learning
1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
ในปัจจุบัน โรงเรียนมีการให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของโรงเรียนในการเรียนการสอน นักเรียนทุกคนจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์รูปแบบการใช้งานคอมพิวเตอร์ จึงเป็นแบบหมุนเวียนให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะนั้น
พฤติกรรมของนักเรียนในขณะที่เรียนนักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในความปลอดภัยและวิธีการป้องกันข้อมูลส่วนตัว จากการเข้ารหัสล็อกอินเข้าสู่ระบบ ขาดทักษะในการคิดแก้ปัญหา ข้อผิดพลาดจากผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลหรือการเผยแพร่ข้อมูลของผู้อื่น ที่เข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ค้างไว้ และมีการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ผู้อื่นอาจได้รับความเสียหาย โดยผู้อื่นอาจนำข้อมูลส่วนตัวนำไป เผยแพร่ โพสต์ แชร์ เกิดความสนุกสนาน และไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิด จึงทำให้เกิดผลเสียต่อนักเรียน
ด้วยเหตุนี้จึงนำปัญหาดังกล่าวมาแก้ไขปัญหาของผู้เรียน เพื่อจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิด วิเคราะห์ และป้องกันจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในการใช้เทคโนโลยี จึงได้จัดการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนานักเรียน โดยมีการนำความรู้ในบทเรียนมาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม โดยรูปแบบใช้เกมเป็นฐาน (Games-based Learning)
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. เข้าร่วมอภิปรายในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก PLC ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิด วิเคราะห์ และป้องกันจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในการใช้เทคโนโลยี และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อวางแผนและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา วิทยาการคำนวณและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามมาตรฐานตัวชี้วัดรายวิชา
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
3. จัดทำสื่อการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาตามแผนการจัดการเรียนรู้
และการเรียนรู้อื่นๆ
4. จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รายวิชาวิทยาการคำนวณ
และเทคโนโลยี รหัสวิชา ว 21103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนหน่วยกิต 1 หน่วยกิต 2 คาบเรียน/สัปดาห์
5. วัดและประเมินผลหลังจัดกิจกรรม โดยมีการปรับปรุง พัฒนา แก้แก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง
6. นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และปรับปรุงเพื่อพัฒนาการจัดทำครั้งต่อไป
7. รายงานประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา วิทยาการคำนวณและเทคโนโลยี ร้อยละ 70 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการสอน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา วิทยาการคำนวณและเทคโนโลยี มีความเข้าใจเนื้อหา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยมากขึ้น เกิดการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น แก้ปัญหาร่วมกันและรู้จักวิธีการป้องกันข้อมูลส่วนตัวในการใช้เทคโนโลยีฯ มีทักษะการคิดแก้ปัญหาการป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี และสามารถเชื่อมโยงนำวิธีการแก้ปัญหานี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้