ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สิ่งที่รัฐบาลยุค"คสช."ต้องแก้ไขโดยด่วน


ข่าวการศึกษา 3 มี.ค. 2558 เวลา 14:05 น. เปิดอ่าน : 10,128 ครั้ง
Advertisement

สิ่งที่รัฐบาลยุค"คสช."ต้องแก้ไขโดยด่วน

Advertisement

คอลัมน์ มติชนมติครู: สิ่งที่รัฐบาลยุค'คสช.'ต้องแก้ไขโดยด่วน 
วิสุทธิ์ เวียงสมุทร
อาจารย์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
teachervoice@matichon.co.th

เป็นที่ยอมรับว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลต้องทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเป็นจำนวนมาก แต่คุณภาพการศึกษายังย่ำแย่อยู่เหมือนเดิม เพราะจากการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าผลผลิตทางการศึกษายังด้อยคุณภาพทางด้านการคิด ไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ และมีนักเรียนเป็นจำนวนมากอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังที่ปรากฏในข่าวที่ว่า "ป.3 อ่านเขียนไม่ออก 3.5 หมื่นคน สพฐ.สั่งแก้เต็มรูปแบบปี 2558" (คม ชัด ลึก : วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2557)

มีผลงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครู หรืออาจกล่าวได้ว่าบุคคลสำคัญที่สุดที่จะนำนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็คือครูนั่นเอง ดังนั้น รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาจึงพยายามที่จะผลักดันให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงและมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการสอนของครูให้ดีขึ้น โดยมีนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินครู มีนโยบายหาคนเก่งคนดีมาเรียนครู ขยายเวลาเรียนครูจาก 4 ปี เป็น 5 ปี นำข้อสอบมาทดสอบครูทั่วประเทศแล้วแบ่งครูออกเป็นกลุ่มๆ หลังจากนั้นก็ทุ่มเทงบประมาณ อบรมครูกลุ่มต่างๆ โดยอาจารย์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังจัดหลักสูตรอบรมเข้มให้แก่ผู้บริหารหลายสิบวัน จัดงบประมาณมาส่งเสริมการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และคิดไม่เป็น แต่แล้วกระบวนการพัฒนาครูที่ผ่านมาก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วิชาชีพครูแทนที่จะเป็นวิชาชีพชั้นสูงตามที่ภาครัฐคาดหวังกลับกลายเป็นเพียงวิชาชีพที่มีเงินเดือนสูงขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนครู ค่าตำแหน่งครูด้วยงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่คุณภาพการศึกษากลับตกต่ำ

คำถามที่ผู้เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาต้องคิดหาคำตอบคือ ทำไมคุณภาพการศึกษาจึงไม่ดีขึ้น? ปัญหาและสาเหตุอยู่ที่ใด และจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร..?
ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาครู เป็นเพราะรัฐบาลมีนโยบายที่ผลักไสหัวใจครูไม่ให้อยู่ที่ผู้เรียน ส่งผลให้ครูมองเห็นผู้เรียนไม่มีความสำคัญนั่นเอง นโยบายที่ทำให้ครูเป็นเช่นนั้นที่สำคัญ ได้แก่

1.ประเทศไทยมีนโยบายยึดคะแนนจากผลการสอบระดับชาติ อาทิ แบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เป็นต้น เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพผู้เรียน ทำให้ครูจำเป็นต้องยึดเนื้อหาและการติวข้อสอบเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูมุ่งสอนแบบเร่งรัดยัดเยียดให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาตามตำรา เพื่อนำไปสอบ

2.ประเทศไทยมีนโยบายการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูโดยเน้นการประเมินเอกสารงานวิจัยมากกว่าการประเมินผลคุณภาพผู้เรียนในชั้นเรียน เป็นเหตุให้ครูส่วนใหญ่มุ่งสร้างเอกสารและงานวิจัยมากกว่าการมุ่งพัฒนาผู้เรียน

เมื่อครูทำการสอนโดยไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และความก้าวหน้าของครูก็ไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้เรียนดังที่กล่าว ครูจึงเมินเฉยต่อความไม่รู้ของผู้เรียนและปล่อยให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดไม่เป็น ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ เมื่อสภาวการณ์เป็นเช่นนี้ รัฐบาลจะทุ่มเทงบประมาณเท่าไหร่ ก็จะเกิดการสูญเปล่าอยู่เหมือนเดิม

ตรรกะง่ายๆ ในการแก้ปัญหาคือ เมื่อกรรมการประเมินต้องการตรวจสอบเอกสาร ครูก็จะทิ้งเด็กไปมุ่งสร้างแฟ้มเอกสาร โดยเฉพาะระยะเวลาก่อนการประเมินวิทยฐานะหรือก่อนประเมินภายนอกประมาณ 2-3 เดือน นักเรียนแทบไม่ได้เรียนเลย แต่ถ้ากรรมการประเมินมีนโยบายจะมาประเมินผู้เรียน ครูก็จะมามุ่งสร้างและพัฒนาผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้เรียนมีความสำคัญขึ้นมาทันที ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนคือ ภาครัฐควรเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและพัฒนาครู รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนมา ระดมสมองกำหนดคุณลักษณะของครูและคุณลักษณะผู้เรียนตามแนวทางที่ชาติต้องการขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้ครูและผู้เกี่ยวข้องรับทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติ

ขณะเดียวกันต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินทุกประเภทในระบบการศึกษา เช่น การประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครู การประเมินครูดีเด่น ครูสอนดี การประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) การประเมินโรงเรียนพระราชทาน ฯลฯ ต้องลดการให้ความสำคัญที่เอกสารงานวิจัยหรือแผนการสอนที่เป็นขยะทางการศึกษา มาเป็นการประเมินตามสภาพจริงอิงพัฒนาการของผู้เรียน เลิกหลงใหลให้ความสำคัญกับคะแนนที่ได้มาจากการลอกมากาถูก หันมาให้ความสำคัญกับการบันทึกการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเน้นพิจารณาว่าผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพในทิศทางที่เขาถนัดและสนใจหรือไม่ อย่างไร วิธีการประเมินก็อาจกระทำโดยการตรวจสอบบันทึกพัฒนาการผู้เรียนและผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานของนักเรียน ประกอบกับการสัมภาษณ์นักเรียนหรือให้ผู้เรียนปฏิบัติงานให้กรรมการดู ตลอดจนสอบถามเพื่อนครู ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มเติม เมื่อครูคนใดสามารถพัฒนาตนเองได้ตามเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนด จึงให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ครูคนอื่นๆ

เมื่อครูคนใดไม่สนใจในการดำเนินงานตามแนวทางที่ชาติต้องการก็ควรมีมาตรการลงโทษ เช่น งดจ่ายค่าตำแหน่ง หากรัฐบาลทำได้เช่นนี้ ครูจะหันมาให้ความสำคัญกับผู้เรียนและคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างจริงจังและจะไม่เมินเฉยต่อความไม่รู้ของผู้เรียนอีกต่อไป อันจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้นได้ในที่สุด

 

ที่มา มติชน Issued date 1 March 2015

 

 


สิ่งที่รัฐบาลยุค"คสช."ต้องแก้ไขโดยด่วน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567

ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567

เปิดอ่าน 21,868 ☕ 16 ก.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"สภาพแวดล้อมการเรียนรู้" มีความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
"สภาพแวดล้อมการเรียนรู้" มีความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
เปิดอ่าน 63 ☕ 20 ก.ย. 2567

บอร์ด PISA ไฟเขียวแผนพัฒนาครูแม่ไก่ ตีโจทย์ข้อสอบพิซา หวังยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยรวม
บอร์ด PISA ไฟเขียวแผนพัฒนาครูแม่ไก่ ตีโจทย์ข้อสอบพิซา หวังยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยรวม
เปิดอ่าน 66 ☕ 20 ก.ย. 2567

การดำเนินการจ้างบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กิจกรรมครูคลังสมอง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
การดำเนินการจ้างบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กิจกรรมครูคลังสมอง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 125 ☕ 20 ก.ย. 2567

การรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมเสริมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง(ส.นบส.)รุ่นที่17
การรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมเสริมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง(ส.นบส.)รุ่นที่17
เปิดอ่าน 130 ☕ 20 ก.ย. 2567

เกณฑ์การประกวดภาพยนตร์สั้น ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72
เกณฑ์การประกวดภาพยนตร์สั้น ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72
เปิดอ่าน 1,457 ☕ 18 ก.ย. 2567

สพฐ.กลั่นกรองย้ายผอ.สพท.ผอ.โรงเรียนก่อนบรรจุแต่งตั้งแทนอัตราเกษียณสิ้นกันยายนนี้
สพฐ.กลั่นกรองย้ายผอ.สพท.ผอ.โรงเรียนก่อนบรรจุแต่งตั้งแทนอัตราเกษียณสิ้นกันยายนนี้
เปิดอ่าน 1,500 ☕ 17 ก.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ชวนลูกเล่น ตามรอยพระยุคลบาท… เด็กฉลาดสมวัย
ชวนลูกเล่น ตามรอยพระยุคลบาท… เด็กฉลาดสมวัย
เปิดอ่าน 2,687 ครั้ง

รู้ไว้ไม่เสียหาย! ตัวเลข "เฮง-ชง" ประจำปีวอก
รู้ไว้ไม่เสียหาย! ตัวเลข "เฮง-ชง" ประจำปีวอก
เปิดอ่าน 12,504 ครั้ง

กลยุทธ์การสอนในศตวรรษที่ 21 ของสิงคโปร์
กลยุทธ์การสอนในศตวรรษที่ 21 ของสิงคโปร์
เปิดอ่าน 32,121 ครั้ง

10 คำฮิตบนโลกโซเชียล ปี 2566
10 คำฮิตบนโลกโซเชียล ปี 2566
เปิดอ่าน 15,658 ครั้ง

10 งานด่วนภายใน 6 เดือนที่ "รมต.ศธ." ควรทำ
10 งานด่วนภายใน 6 เดือนที่ "รมต.ศธ." ควรทำ
เปิดอ่าน 18,664 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ