ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สิ่งที่รัฐบาลยุค"คสช."ต้องแก้ไขโดยด่วน


ข่าวการศึกษา 3 มี.ค. 2558 เวลา 14:05 น. เปิดอ่าน : 10,054 ครั้ง
สิ่งที่รัฐบาลยุค"คสช."ต้องแก้ไขโดยด่วน

Advertisement

คอลัมน์ มติชนมติครู: สิ่งที่รัฐบาลยุค'คสช.'ต้องแก้ไขโดยด่วน 
วิสุทธิ์ เวียงสมุทร
อาจารย์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
teachervoice@matichon.co.th

เป็นที่ยอมรับว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลต้องทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเป็นจำนวนมาก แต่คุณภาพการศึกษายังย่ำแย่อยู่เหมือนเดิม เพราะจากการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าผลผลิตทางการศึกษายังด้อยคุณภาพทางด้านการคิด ไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ และมีนักเรียนเป็นจำนวนมากอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังที่ปรากฏในข่าวที่ว่า "ป.3 อ่านเขียนไม่ออก 3.5 หมื่นคน สพฐ.สั่งแก้เต็มรูปแบบปี 2558" (คม ชัด ลึก : วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2557)

มีผลงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครู หรืออาจกล่าวได้ว่าบุคคลสำคัญที่สุดที่จะนำนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็คือครูนั่นเอง ดังนั้น รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาจึงพยายามที่จะผลักดันให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงและมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการสอนของครูให้ดีขึ้น โดยมีนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินครู มีนโยบายหาคนเก่งคนดีมาเรียนครู ขยายเวลาเรียนครูจาก 4 ปี เป็น 5 ปี นำข้อสอบมาทดสอบครูทั่วประเทศแล้วแบ่งครูออกเป็นกลุ่มๆ หลังจากนั้นก็ทุ่มเทงบประมาณ อบรมครูกลุ่มต่างๆ โดยอาจารย์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังจัดหลักสูตรอบรมเข้มให้แก่ผู้บริหารหลายสิบวัน จัดงบประมาณมาส่งเสริมการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และคิดไม่เป็น แต่แล้วกระบวนการพัฒนาครูที่ผ่านมาก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วิชาชีพครูแทนที่จะเป็นวิชาชีพชั้นสูงตามที่ภาครัฐคาดหวังกลับกลายเป็นเพียงวิชาชีพที่มีเงินเดือนสูงขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนครู ค่าตำแหน่งครูด้วยงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่คุณภาพการศึกษากลับตกต่ำ

คำถามที่ผู้เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาต้องคิดหาคำตอบคือ ทำไมคุณภาพการศึกษาจึงไม่ดีขึ้น? ปัญหาและสาเหตุอยู่ที่ใด และจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร..?
ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาครู เป็นเพราะรัฐบาลมีนโยบายที่ผลักไสหัวใจครูไม่ให้อยู่ที่ผู้เรียน ส่งผลให้ครูมองเห็นผู้เรียนไม่มีความสำคัญนั่นเอง นโยบายที่ทำให้ครูเป็นเช่นนั้นที่สำคัญ ได้แก่

1.ประเทศไทยมีนโยบายยึดคะแนนจากผลการสอบระดับชาติ อาทิ แบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เป็นต้น เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพผู้เรียน ทำให้ครูจำเป็นต้องยึดเนื้อหาและการติวข้อสอบเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูมุ่งสอนแบบเร่งรัดยัดเยียดให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาตามตำรา เพื่อนำไปสอบ

2.ประเทศไทยมีนโยบายการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูโดยเน้นการประเมินเอกสารงานวิจัยมากกว่าการประเมินผลคุณภาพผู้เรียนในชั้นเรียน เป็นเหตุให้ครูส่วนใหญ่มุ่งสร้างเอกสารและงานวิจัยมากกว่าการมุ่งพัฒนาผู้เรียน

เมื่อครูทำการสอนโดยไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และความก้าวหน้าของครูก็ไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้เรียนดังที่กล่าว ครูจึงเมินเฉยต่อความไม่รู้ของผู้เรียนและปล่อยให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดไม่เป็น ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ เมื่อสภาวการณ์เป็นเช่นนี้ รัฐบาลจะทุ่มเทงบประมาณเท่าไหร่ ก็จะเกิดการสูญเปล่าอยู่เหมือนเดิม

ตรรกะง่ายๆ ในการแก้ปัญหาคือ เมื่อกรรมการประเมินต้องการตรวจสอบเอกสาร ครูก็จะทิ้งเด็กไปมุ่งสร้างแฟ้มเอกสาร โดยเฉพาะระยะเวลาก่อนการประเมินวิทยฐานะหรือก่อนประเมินภายนอกประมาณ 2-3 เดือน นักเรียนแทบไม่ได้เรียนเลย แต่ถ้ากรรมการประเมินมีนโยบายจะมาประเมินผู้เรียน ครูก็จะมามุ่งสร้างและพัฒนาผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้เรียนมีความสำคัญขึ้นมาทันที ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนคือ ภาครัฐควรเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและพัฒนาครู รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนมา ระดมสมองกำหนดคุณลักษณะของครูและคุณลักษณะผู้เรียนตามแนวทางที่ชาติต้องการขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้ครูและผู้เกี่ยวข้องรับทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติ

ขณะเดียวกันต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินทุกประเภทในระบบการศึกษา เช่น การประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครู การประเมินครูดีเด่น ครูสอนดี การประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) การประเมินโรงเรียนพระราชทาน ฯลฯ ต้องลดการให้ความสำคัญที่เอกสารงานวิจัยหรือแผนการสอนที่เป็นขยะทางการศึกษา มาเป็นการประเมินตามสภาพจริงอิงพัฒนาการของผู้เรียน เลิกหลงใหลให้ความสำคัญกับคะแนนที่ได้มาจากการลอกมากาถูก หันมาให้ความสำคัญกับการบันทึกการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเน้นพิจารณาว่าผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพในทิศทางที่เขาถนัดและสนใจหรือไม่ อย่างไร วิธีการประเมินก็อาจกระทำโดยการตรวจสอบบันทึกพัฒนาการผู้เรียนและผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานของนักเรียน ประกอบกับการสัมภาษณ์นักเรียนหรือให้ผู้เรียนปฏิบัติงานให้กรรมการดู ตลอดจนสอบถามเพื่อนครู ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มเติม เมื่อครูคนใดสามารถพัฒนาตนเองได้ตามเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนด จึงให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ครูคนอื่นๆ

เมื่อครูคนใดไม่สนใจในการดำเนินงานตามแนวทางที่ชาติต้องการก็ควรมีมาตรการลงโทษ เช่น งดจ่ายค่าตำแหน่ง หากรัฐบาลทำได้เช่นนี้ ครูจะหันมาให้ความสำคัญกับผู้เรียนและคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างจริงจังและจะไม่เมินเฉยต่อความไม่รู้ของผู้เรียนอีกต่อไป อันจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้นได้ในที่สุด

 

ที่มา มติชน Issued date 1 March 2015

 

 


สิ่งที่รัฐบาลยุค"คสช."ต้องแก้ไขโดยด่วน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 8,588 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,234 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 592 ☕ 15 เม.ย. 2567

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
เปิดอ่าน 8,588 ☕ 11 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
เปิดอ่าน 3,053 ☕ 10 เม.ย. 2567

เสมา 1 ห่วงอันตรายจากความร้อน เตือนประชาชนดูแลสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก อาจเกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
เสมา 1 ห่วงอันตรายจากความร้อน เตือนประชาชนดูแลสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก อาจเกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
เปิดอ่าน 888 ☕ 10 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนจ้างนักการภารโรงทันก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน พ.ค.2567
ครม.อนุมัติจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนจ้างนักการภารโรงทันก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน พ.ค.2567
เปิดอ่าน 2,083 ☕ 9 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เท่...แต่โหด กับ พิทบูล
เท่...แต่โหด กับ พิทบูล
เปิดอ่าน 25,326 ครั้ง

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้
ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้
เปิดอ่าน 860,399 ครั้ง

ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
เปิดอ่าน 26,082 ครั้ง

ไขมันในร่างกาย
ไขมันในร่างกาย
เปิดอ่าน 792 ครั้ง

ใบบัว มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง?
ใบบัว มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง?
เปิดอ่าน 36,578 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ