การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนแบบ TAI และ การสอนแบบปกติ ประกอบกับการใช้แบบฝึกทักษะ โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ TAI และการสอนแบบปกติ ประกอบกับการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนแบบ TAI และการสอนแบบปกติ โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนแบบ TAI ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 137 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling)โดยวิธีการจับฉลากแบบไม่แทนที่ (Sampling with Replacement) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ TAI และแบบปกติ เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) 4)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนแบบ TAI เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์)
สรุปผลการศึกษา
1. ประสิทธิภาพวิธีการสอนแบบ TAI ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) มีค่าเท่ากับ 85.66/85.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 80/80 นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบ TAI มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนหลังเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนแบบ TAI ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ ทักษะ เรื่อง
การบวก การลบและการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย (สายศิลปศาสตร์) โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.66, S.D. = 0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ