ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

เอกสารรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

----------------------------------------

1. ชื่อผลงาน : วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้

รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

2. ชื่อผู้พัฒนาผลงาน : นางสาวศศิธร ช่วยสงค์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

โรงเรียนวัดดอนมะปราง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

3. ประเภทของผลงานผู้บริหารสถานศึกษา

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

เชิงรุก (Active Learning)

4. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม

4.1 ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม

การศึกษา เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศและได้รับการคาดหวังให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันมากขึ้น ผู้คนจำนวนมากหลากหลายเชื้อชาติ ย้ายข้ามประเทศ ข้ามภาษาและข้ามวัฒนธรรม มาอาศัยอยู่รวมกันและทำงานร่วมกันก่อให้เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม โลกการทำงาน ปรับเปลี่ยนจากการทำงานที่ใช้บุคคลที่มีองค์ความรู้เดียวกัน ทักษะเดียวกัน และทำงานในสายงานเดียวกัน จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลง โดยต้องจัดการศึกษาให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความรู้และข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเตรียมความพร้อมประชากรวัยเรียนให้มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องให้ได้ทั้งสาระวิชาและได้ทั้งทักษะ 3 ด้าน คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพเพื่อความ สำเร็จทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต สอดคล้องกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ว่าด้วยการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) การมีงานทำ มีอาชีพ และ 4) การเป็นพลเมืองดี (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2563 : ก)

2

โรงเรียนขนาดเล็ก นับเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน กล่าวคือโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมาและปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนโรงเรียนในกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบมีความตระหนักในสภาพปัญหาดังกล่าว จึงแสวงหาแนวทางที่จะจัดการกับปัญหานี้ โดยมีการหาวิธีการบริหารจัดการเพื่อการแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด และเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ซึ่งเกิดจากค่านิยม ความเชื่อ รวมถึงสภาพของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป จากการคมนาคมที่สะดวก ผู้ปกครองจึงส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในเมือง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยมีความเชื่อว่า มีความสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมากกว่า จากประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก การศึกษาเอกสาร ข้อมูลและงานวิจัยต่าง ๆ ผู้พัฒนานวัตกรรม พบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดของโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ 1) การขาดแคลนงบประมาณ 2) ขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น เนื่องจากไม่ได้รับการจัด สรรอัตรากำลังครู เพราะนักเรียนมีจำนวนน้อย 3) คุณภาพของนักเรียนค่อนข้างต่ำ เพราะยังขาดการพัฒนาอย่างรอบด้าน และขาดโอกาสในการพัฒนาด้านอื่น ๆ 4) โรงเรียนขาดผู้บริหาร ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อกันว่า คุณภาพของนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้บริหารที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครูให้บรรลุเป้าหมาย แต่ในข้อเท็จจริง ปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ยังไม่มีผู้บริหารสถานศึกษา จึงแต่งตั้งครูรักษาการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาเป็นการชั่วคราว ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ครูมีจำนวนจำกัดอยู่แล้ว แต่ยังต้องไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหาร ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มประสิทธิภาพ และ 5) การขาดความน่าเชื่อถือจากผู้ปกครองและชุมชน เนื่องจากไม่มีครู หรือผู้บริหารที่เป็นผู้นำในการพัฒนา จึงทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมาก (สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, 2557 : 2)

โรงเรียนวัดดอนมะปราง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนชั้นอนุบาลจำนวน 27 คน และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 6 จำนวน 53 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ผู้พัฒนานวัตกรรมได้รับการบรรจุในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวัดดอนมะปราง เมื่อปีการศึกษา 2559 และได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่า โรงเรียนขาดแคลนครูและบุคลากร ขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพ การระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนประชากร รวมถึงข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ รวมถึงความยากลำบาก ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาที่สำคัญที่สุดของโรงเรียน คือ การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งจะต้องได้รับ

3

การแก้ไขอย่างต่อเนื่องเช่นกัน รวมถึงนักเรียนยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยิ่งทำให้เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) อีกด้วย ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในปีการศึกษา 2563 พบว่า มีคุณภาพการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพปัญหาในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขาดการบูรณาการและกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ครูยังจัดการเรียนรู้ตามประสบการณ์เดิม โดยการบอกความรู้ ขาดการฝึกปฏิบัติและลงมือทำในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นในด้านการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจาก ยังขาดรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจน จึงทำให้ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยังไม่ประสบผลสำเร็จ โดยพิจารณาได้จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการทดสอบความสามารถการอ่านออกเสียง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.57 และมีความสามารถการอ่านรู้เรื่อง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.00 รวมเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.28 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 ขึ้นไป รวมถึงผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการทดสอบความสามารถด้านคิดคำนวณ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.25 และผลการทดสอบด้านภาษา คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.37 รวมคะแนน 2 ด้าน คะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 64.31 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 ขึ้นไป และนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O – NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.66 คณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 31.11 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.74 และภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.94 รวมคะแนนเฉลี่ย 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 44.81 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 ขึ้นไปเช่นกัน (โรงเรียนวัดดอนมะปราง, 2564 : 6)

4.2 แนวทางการแก้ปัญหา

ผู้พัฒนานวัตกรรม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนมะปราง ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นรูปแบบและวิธีการอย่างหนึ่งในการพัฒนาและแก้ปัญหาที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ จึงได้ดำเนินการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง โดยกำหนดพยัญชนะตามอักษรย่อจากชื่อเต็มในภาษาอังกฤษของโรงเรียน Wat Don Ma Prang School เป็น WDMP Model ตามหลักการ แนวคิดสำคัญในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรม

4

ที่สามารถอ้างถึงแนวคิด หลักการทฤษฎี รูปแบบ วิธีการที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานแนวคิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560) การสร้างความรับผิดชอบต่อผลงาน การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการสร้างวัฒนธรรม ในการเรียนรู้ แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของนรรัชต์ ฝันเชียร (2558) แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) แนวคิดการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสมบัติ นามบุรี (2562) และยังรวมถึงแนวคิดของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก (2551) ที่กล่าวถึง การบริหารแบบมีส่วนร่วมอีกด้วย โดยนำมาจัดทำเป็นนวัตกรรมตามรูปแบบ WDMP Model ซึ่งเป็นอักษรย่อชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียนวัดดอนมะปราง (Wat Don Ma Prang School) และมีรายละเอียด ดังนี้

1. Whole School Approach : WSA การกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียน ทั้งระบบ ประกอบด้วย

1.1 W 1 : Will be together หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมและการสร้าง

ความมุ่งมั่นตั้งใจร่วมกัน

1.2 W 2 : Willingness to Learn หมายถึง ความตั้งใจที่จะเรียนรู้ การพัฒนาครู

และบุคลากร และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

1.3 W 3 : Way forward หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและเส้นทางความสำเร็จ

ไว้ข้างหน้า

1.4 W 3 : Whole School Transform หมายถึง การปรับวิธีการจัดการเรียนรู้

ของครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งระบบตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

2. Development and Improvement (D&I) การพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ประกอบด้วย

2.1 D1 Director หมายถึง ผู้บริหารอำนวยการให้ครูและบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.2 D2 : Discipline หมายถึง การสร้างความมีระเบียบวินัย การรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับร่วมกันในการดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้มีบรรลุเป้าหมาย

2.3 D3 : Development of Student หมายถึง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำ ผ่านกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จากกิจกรรมหลากหลายช่องทางการปฏิบัติ และรวมถึงระบบการสื่อสารเทคโนโลยี เช่น การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television ; DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกล

5

ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning via Information Technology ; DLIT) และอื่น ๆ ซึงนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

2.4 D4 : Development of Sustainable หมายถึง กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน ในการดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้คงอยู่และเป็นปกติของ การพัฒนาในองค์กร

3. Mission and Goals (M&G) : พันธกิจและเป้าหมาย

3.1 M1 : Mission Target หมายถึง พันธกิจเป้าหมายที่เป็นพันธกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

3.2 M2 : Management Efficiency หมายถึง ในการดำเนินการจะต้องกำหนด ค่าประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้ชัดเจน และรับรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ

3.3 M3 : Morality and Competency หมายถึง การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของความเป็นครู ตลอดจนจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้มีคุณภาพ

3.4 M4 : Mindset Improvement หมายถึง การปรับปรุงทัศนคติที่จะช่วยให้ครูและบุคลากร และผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ความล้มเหลวหรือข้อผิดพลาดของตนเองได้ เป็นเรื่องสำคัญของการฝึกสร้างนิสัยที่ดีเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดกับผู้เรียน โดยการตั้งเป้าหมายแล้วมุ่งมั่นกับสิ่งนั้น และฝึกปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอ

3.5 M5 : Measurable Goals หมายถึง การกำหนดค่าเป้าหมายของงานหรือกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนที่สามารถวัดได้ ประเมินค่าได้จริงจากการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง จากกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้จริง

4. Participative Management (PM) : การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

4.1 P1 : Participative and Decision Making หมายถึง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการคิด และตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันได้

4.2 P2 : Participative and Implementation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยการสนับสนุน การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริหารการงาน และการประสานงาน

6

และการขอความช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบรรลุแหมายตามที่กำหนดไว้

4.3 P3 : Participative in Benefits หมายถึง การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน จากการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่โรงเรียนดำเนินการ

4.4 P4 : Participative in Evaluation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน การร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ การตัดสินผลการดำเนินการในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ได้ดำเนินการร่วมกัน

4.5 P5 : Participative and Pride หมายถึง การมีส่วนร่วมในสร้างความภาคภูมิใจร่วมกัน จากผลงานและความสำเร็จในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ได้ดำเนินการร่วมกัน

ผู้พัฒนานวัตกรรม มีความเชื่อว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ที่สร้างขึ้น จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน ดังนี้

5.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

5.1.1 เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

5.1.2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีทักษะการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

5.1.3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจาก การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้เกิดความยั่งยืน

7

5.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน

5.2.1 ด้านปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนวัดดอนมะปราง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 53 คน ได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

5.2.2 ด้านคุณภาพ

5.2.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 53 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาเพิ่มเติมมีค่าเฉลี่ยไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75.00 ขึ้นไป

5.2.2.2 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90.00 ขึ้นไป

5.2.2.3 นักเรียนมีผลประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับดีถึง ดีเยี่ยมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

5.2.2.4 ผลการประเมิน Reading Test : RT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

5.2.2.5 ผลการประเมิน National Test : NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.00 ขึ้นไป

5.2.2.6 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียน วัดดอนมะปราง อยู่ในระดับมากขึ้นไป

6. กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง มีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้

1. ขั้นการวางแผน (Plan : P) ประกอบด้วย

ขั้นที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนา

1. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนวัดดอนมะปราง

2. แต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนวัดดอนมะปราง

8

3. คณะทำงานและผู้รับผิดชอบร่วมกันศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียน บริบทของโรงเรียน ชุมชนและความจำเป็นในการพัฒนาทั้งระบบ จากสารสนเทศ และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/สภาพปัญหา

กำหนดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/สภาพปัญหา ดังนี้

1. คณะทำงานและผู้รับผิดชอบ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศผลการจัด การเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2563 และข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

2. วิเคราะห์สภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัด การเรียนรู้ จากการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนวัดดอนมะปราง พิจารณาประเด็นความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา และการบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นและเกิดความยั่งยืน

3. จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริม การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยให้น้ำหนักเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการส่งเสริมให้ครูและบุคลากร มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ขั้นที่ 3 หาวิธีแก้ปัญหา/นวัตกรรมแก้ปัญหา

1. ประสานงาน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือในการดำเนินการแก้ปัญหา และแสวงหานวัตกรรมแก้ปัญหา

2. จัดเตรียมงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินการแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหา

3. วางแผนการแก้ปัญหา/แสวงหาวิธีการ/นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา

4. ศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ หลักการบริหารสถานศึกษา การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การสร้างความพึงพอใจและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ

5. แสวงหาแนวทาง วิธีการหรือการสร้างทางเลือกในการพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย

6. เลือกและกำหนดแนวทางการพัฒนา และจัดทำนวัตกรรมวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

9

ขั้นที่ 4 พัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหา

1. ออกแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

2. กำหนดรายละเอียดของวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ได้แก่

2.1 ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม

2.2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

2.3 กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน

2.4 ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

2.5 ปัจจัยความสำเร็จ

2.6 บทเรียนที่ได้รับ

2.7 การเผยแพร่ผลงาน/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

2.8 ภาคผนวกที่เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3. สร้างเครื่องมือที่ใช้กับนวัตกรรมวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ได้แก่

3.1 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564

3.2 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2564

3.3 ผู้เรียนมีผลประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียน ปีการศึกษา 2564

3.4 แบบบันทึกผลการประเมิน Reading Test : RT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564

3.5 แบบบันทึกผลการประเมิน National Test : NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564

3.6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียน วัดดอนมะปราง

10

4. นำเสนอเครื่องมือฉบับที่ 3.6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) ของข้อคำถามกับเนื้อหาในการตรวจสอบ

5. ทดลองใช้และหาคุณภาพของเครื่องมือ ฉบับที่ 3.6 แบบประเมินความพึงพอใจ ของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (–Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 99 – 100) ก่อนนำไปใช้ในการแก้ปัญหาจริง

2. ขั้นดำเนินการตามแผน (Do : D) ประกอบด้วย

ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบูรณาการ

ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบูรณาการตามวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ดังนี้

1. พัฒนาครูและบุคลากร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1.1 ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

1.2 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจากสภาพปัญหาและการระดมสมอง และการแสวงหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน

1.3 สร้างความตระหนักในบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

1.4 สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกคน จัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

1.5 นิเทศ กำกับ ติดตามผลการจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

1.6 สร้างขวัญ กำลังใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

11

2. การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนี้

2.1 สร้างความร่วมมือกับครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง จากการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศ กำกับติดตาม และการประเมินผลการดำเนินการ

2.2 ประสานความร่วมมือกับครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

2.3 บูรณาการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง คัดกรองนักเรียน และกำหนดแนวทางการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียน

2.4 การสร้างความภาคภูมิใจร่วมกันในความสำเร็จ และร่วมรับผลประโยชน์ของ การดำเนินการ

3. จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบบูรณาการ ดังนี้

3.1 จัดกิจกรรมคัดกรอง ตรวจสอบและเอ็กซ์เรย์การอ่าน การเขียนของนักเรียน ทุกคนโดยครูและบุคลากรและผู้ปกครองทุกคน

3.2 ครูและบุคลากรทุกคน วางแผนและพัฒนาการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ตามพันธกิจหลักและค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

3.3 ครูและบุคลากรทุกคน ออกแบบการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) สูการปฏิบัติ และมุ่งพัฒนาสูความยั่งยืน

3.4 ครูและบุคลากรทุกคนจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม จากกิจกรรม ดังต่อไปนี้

3.4.1 การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project - Based Learning)

3.4.2 การจัดการเรียนรูโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity - Based Learning)

3.4.3 การจัดการเรียนรูเชิงประสบการณ (Experiential Learning)

3.4.4 การจัดการเรียนรูโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning)

3.4.5 การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)

3.4.6 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและบันทึกการอ่าน

3.4.7 จัดกิจกรรมพลิกโฉมโรงเรียน นักเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ทุกคน

3.4.8 จัดกิจกรรมทดสอบ Pre – RT ป.1 กิจกรรม Pre – NT ป.3 และกิจกรรม Pre O – NET ป.6

12

3.4.9 จัดส่งนักเรียนเข้าทดสอบ RT ป.1, NT ป.3 และ O – NET ป.6

3.4.10 จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการ และความสามารถอื่น ๆ

3.4.11 การเตรียมความพร้อมของนักเรียนเข้าร่วมประกวดและแข่งขันทักษะ ทางวิชาการ ตั้งระดับกลุ่มเครือข่าย ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคใต้ และระดับประเทศ

3.4.12 การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะการสื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบถ่ายทอดสด (LIVE) ระหว่างครูและนักเรียน ทั้งนี้ นักเรียนจะต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Google Meet , Zoom Meeting, Line , Facebook

3. ขั้นตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check : C) ประกอบด้วย

ขั้นที่ 6 การวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียน

1. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันกำหนดกรอบตัวชี้วัด เกณฑ์คุณภาพผลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ให้ครอบคลุมทั้ง ในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

2. ครูและบุคลากรทุกคน ดำเนินการสร้างแบบวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) แล้วแจ้งให้นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบและตกลงร่วมกัน

3. ครูและบุคลากรทุกคน ดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) โดยทำการตรวจสอบความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติตามตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้

4. จัดเก็บข้อมูล สารสนเทศการวัดและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

4. ขั้นปรับปรุงและแก้ไข (Act : A) ประกอบด้วย

ขั้นที่ 7 สรุปผล ตรวจสอบ สะท้อนความคิดและรายงานผล

1. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ให้ครอบคลุม ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

2. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไข

3. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สะท้อน ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) พร้อมเสนอแนะแนวทาง การปรับปรุงเพื่อการพัฒนา

13

4. จัดกิจกรรมการทบทวนผลหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) การจัด การเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) เพื่อทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่าง ๆ นำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น มาจัดทำและพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกัน

5. จัดทำเอกสารสรุปและรายงานผล

6. เผยแพร่ผลงานและเสนอต่อผู้ปกครอง ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

การประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง เป็นการประเมินขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการใช้นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาคุณภาพผู้เรียนได้จริงหรือไม่ อย่างไร ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพผู้เรียนได้จริง ให้ดำเนินการนิเทศและพัฒนาตามขั้นตอนใหม่อีกรอบ แต่ถ้าประเมินแล้วสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย รวมถึงผล การประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะนำไปสู่การสรุปรายงานผลเพื่อการเผยแพร่ต่อไปโดยผู้พัฒนานวัตกรรม สามารถนำไปเขียน Flow Chart วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง

โพสต์โดย ติ๊ก : [23 ก.ค. 2566 เวลา 20:00 น.]
อ่าน [2662] ไอพี : 101.108.158.15
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 17,976 ครั้ง
การบริหารกล้ามเนื้อตา
การบริหารกล้ามเนื้อตา

เปิดอ่าน 10,812 ครั้ง
ตัดวงจรเครียด...ก่อนระเบิด
ตัดวงจรเครียด...ก่อนระเบิด

เปิดอ่าน 29,174 ครั้ง
ดูคลิปนี้จบแล้วคุณจะเข้าใจ  "ครูผู้สอนด้วยหัวใจ (From The Heart)" : หนังครู 7- Eleven
ดูคลิปนี้จบแล้วคุณจะเข้าใจ "ครูผู้สอนด้วยหัวใจ (From The Heart)" : หนังครู 7- Eleven

เปิดอ่าน 11,744 ครั้ง
ดัชนีมวลกาย หาค่า BMI เช็กกันหน่อยไหมคุณอ้วนหรือยัง ?
ดัชนีมวลกาย หาค่า BMI เช็กกันหน่อยไหมคุณอ้วนหรือยัง ?

เปิดอ่าน 13,894 ครั้ง
10 อันตรายทลายโลก จากเทคโนโลยี
10 อันตรายทลายโลก จากเทคโนโลยี

เปิดอ่าน 27,235 ครั้ง
เกมส์ระบายสี
เกมส์ระบายสี

เปิดอ่าน 12,280 ครั้ง
ภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี และ การกำหนดให้วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันฉัตรมงคล
ภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี และ การกำหนดให้วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันฉัตรมงคล

เปิดอ่าน 24,924 ครั้ง
สรภัญตารางธาตุ
สรภัญตารางธาตุ

เปิดอ่าน 21,284 ครั้ง
"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร
"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร

เปิดอ่าน 13,776 ครั้ง
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต

เปิดอ่าน 75,483 ครั้ง
กริยา กับ กิริยา
กริยา กับ กิริยา

เปิดอ่าน 27,008 ครั้ง
ประกาศ
ประกาศ

เปิดอ่าน 14,404 ครั้ง
กินหมึกสด หมึกดูดปาก ฮาตรึม
กินหมึกสด หมึกดูดปาก ฮาตรึม

เปิดอ่าน 10,948 ครั้ง
เผยโฉมอินเตอร์เฟซของ Google Pad
เผยโฉมอินเตอร์เฟซของ Google Pad

เปิดอ่าน 12,509 ครั้ง
เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา
เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา

เปิดอ่าน 13,982 ครั้ง
เตือนใช้ "บิททอร์เรนท์" โหลดคลิปโป๊มีโทษติดคุก
เตือนใช้ "บิททอร์เรนท์" โหลดคลิปโป๊มีโทษติดคุก
เปิดอ่าน 59,527 ครั้ง
พืชที่ใช้เป็นอาหาร
พืชที่ใช้เป็นอาหาร
เปิดอ่าน 31,015 ครั้ง
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"
เปิดอ่าน 14,098 ครั้ง
 16 พฤติการณ์ เข้าข่ายผู้เป็นอิทธิพล
16 พฤติการณ์ เข้าข่ายผู้เป็นอิทธิพล
เปิดอ่าน 11,905 ครั้ง
เครื่องดื่มยามเช้าที่เหมาะกับตัวคุณ
เครื่องดื่มยามเช้าที่เหมาะกับตัวคุณ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ