การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริม
การทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DEVELOPMENT OF LEARNING AND TEACHING BY
CONSTRUCTIVISM TO SUPPORT A GOODNESS AND FOLLOW
FORMS OF BUDDHIST WAY IN SUBSTANCE LEARNING GROUP ON
SOCIAL STUDY, RELIGION AND CULTURE FOR MATHAYOMSUKSA
I STUDENTS
นางพรรณี สุ่มมาตย์*
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำความดีและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะนักเรียนได้เล่นปนเรียน มีเกมที่สนุกสนานท้าทายมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน
2. การสร้างและพัฒนารูปแบบได้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า APPDACE Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้นตอนคือ ขั้นเร้าความสนใจ (Attention) ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Discussion) ขั้นนำไปใช้ (Application) ขั้นสรุป (Conclusion) และ ขั้นประเมินผล (Evaluation) มีความเหมาะสมและเป็นไปได้
3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ APPDACE Model โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.72/82.43 และจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน แบบ APPDACE Model พบว่านักเรียนทำความดีและปฏิบัติอย่างมีแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนาโดยรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบ APPDACE Model โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55
Abstract
The purpose of this research were 1) to study information for develop learning and teaching by constructivism to support a goodness and follow forms of Buddhist way in Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture for Mathayomsuksa I students. 2) to develop learning and teaching by constructivism to support a goodness and follow forms of Buddhist way in Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture for Mathayomsuksa I students to meet the requirement of the 80/80 efficiency standard.3) to tryout learning and teaching by constructivism to support a goodness and follow forms of Buddhist way in Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture for Mathayomsuksa I students. 4) to evaluate and improve learning and teaching by constructivism to support a goodness and follow forms of Buddhist way in Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture for Mathayomsuksa I students.
The sample consisted of 30 students at Mathayomsuksa 1/2 at Watweluwan Municipal School, Roi Et in semester 2 of the academic year 2013. They were selected by Simple Random Sampling.
The instrument used in this research were a learning and teaching by constructivism to support a goodness and follow forms of Buddhist way in Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture for Mathayomsuksa I students, the achievement test,a goodness and follow forms of Buddhist way evaluation and the satisfaction test for teaching by constructivism. The statistical measures used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, the t-Test Dependent Sample and content analysis.
The results of this research indicated that 1) the researcher found that APPDANCE Model there were principal, objectives and teaching management 7 steps were Attention, Plan, Presentation, Discussion, Application, Conclusion and Evaluation. 2) the develop of APPDANCE Model had the E1/E2 individual tryout was 79.09/78.33, E1/E2 small group tryout was 80.40/79.72 and field tryout was 82.67/82.00. 3) the tryout result of APPDANCE Model from 30 students in sample consisted had the efficiency of 84.72/82.43 and the difference of students achievement test results before and after learning was at the significant level at .05. the evaluate and improve result of APPDANCE Model was students did a goodness and follow Buddhist way was at a high mode by mean was 2.61, standard deviation was 0.52, Roi Et was the difference of students achievement test result before and after learning was at significant level at .05.