ชื่อเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชานุเคราะห์
ผู้รายงาน นายนิคม อินต๊ะวงค์
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเทียบกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (ร้อยละ 70) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ ผู้ศึกษานำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.67 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.57 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.22 แสดงว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (ร้อยละ 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01