ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5
ผู้ศึกษา : วรภพ หมื่นโฮ้ง
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 11 แผน ใช้เวลาเรียนจำนวน 20 ชั่วโมง 2) เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดการปลูกผักสวนครัวในกระบะ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนและค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน (E1 / E2) โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนชุดการปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่มที่ 1 ผักบุ้งจีน มีค่าเท่ากับ 84.71/85.00 เล่มที่ 2 กะหล่ำปลี มีค่าเท่ากับ 85.65/85.59 เล่มที่ 3 ผักกาดหอม มีค่าเท่ากับ 84.94/85.29 เล่มที่ 4 ผักกาดเขียวกวางตุ้ง มีค่าเท่ากับ 85.76/85.29 เล่มที่ 5 ผักคะน้า มีค่าเท่ากับ 84.94/85.59 เล่มที่ 6 ผักคื่นฉ่าย มีค่าเท่ากับ 84.82/85.88 เล่มที่ 7 ผักชี มีค่าเท่ากับ 85.29/85.59 เล่มที่ 8 พริกขี้หนู-พริกชี้ฟ้า มีค่าเท่ากับ 85.18/85.88 เล่มที่ 9 มะเขือเทศ มีค่าเท่ากับ 84.71/84.71 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ทุกเล่ม และในภาพรวมเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ มีค่าเท่ากับ 85.20/85.74
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) พบว่า คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และคะแนนการการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เป็น 25.59 คิดเป็นร้อยละ 63.97 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเป็น 34.29 คิดเป็นร้อยละ 85.74 ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระบะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) พบว่า ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกผักสวนครัวในกระ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = 0.26) หากพิจารณาเป็นรายข้อนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ