ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเอง


บทความการศึกษา 10 มิ.ย. 2561 เวลา 07:35 น. เปิดอ่าน : 32,645 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเอง

ที่มา เสาร์ประชาชื่น, หน้า 13 มติชนรายวัน
ผู้เขียน ภูวเดช ฉัตรทิวาพร

ภาพของเด็กหลายคนที่ต้องเผชิญกับความ “คาดหวัง” จากคนรอบข้างว่าจะต้องเรียนให้ “ดี” เเละ “เก่ง” โดยไม่เข้าใจถึงความแตกต่างทางความรู้ ความสนใจ เเละความสามารถของเด็กเเต่ละคน

อย่างเมื่อไม่นานมานี้ ในโลกออนไลน์ได้มีการเเชร์เรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง ที่ต้องเรียนพยาบาล เพราะเป็นความคาดหวังของครอบครัว

“พี่โดนบังคับให้สอบพยาบาล เรียนจนจบ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นพยาบาลมันสบาย ดูแลพ่อแม่ได้ เเละเป็นข้าราชการ ทุกวันนี้เหนื่อยมาก เงินน้อย ไม่ได้เป็นข้าราชการ ทุกวันนี้แม่ได้แต่บอกว่าขอโทษ เพราะแม่ไม่รู้ …คืออยากจะบอกน้องๆ ว่า อย่าให้ความไม่รู้ของผู้ใหญ่มาทำลายความฝันของเรา”

เพราะเด็กเเต่ละคนไม่เหมือนกัน บ้างอาจเรียนดี บ้างก็กิจกรรมเด่น หรือบางส่วนที่มีความสามารถทั้งสองด้าน เเต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่เก่งเหมือนกัน จะมีความสามารถเท่ากัน

เนื่องจากความสามารถของเด็กเเต่ละคนเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย

อย่างกรณี น้องอุ้ม หรือ ฐิติกา ทวียศ เด็กหญิงวัย 4 ขวบที่มีระดับสติปัญญา หรือไอคิวโดดเด่น และได้รับการตอบรับให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมคนอัจฉริยะ หรือเมนซ่า (MENSA) แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งเป็นองค์กรที่รวบรวมผู้มีสติปัญญาระดับสูงหลายเชื้อชาติจากทั่วทุกมุมโลก หลังจากที่ผ่านการทดสอบเวนชเลอร์ (Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence) ซึ่งนักจิตวิทยาใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี พบว่าน้องอุ้มมีระดับไอคิวที่สูงถึง 135 ซึ่งมีเพียง 1% ของประชากรโลกที่มีค่าไอคิวระดับนี้ เนื่องจากค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปจะอยู่ที่ 90-110 เท่านั้น

นับเป็นต้นทุนของเด็กคนหนึ่งที่มีมาตั้งเเต่เกิด สิ่งที่ต้องการหลังจากนี้คือการสนับสนุนจากครอบครัวและคนใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม เด็กที่ต้องการการส่งเสริม ไม่ได้มีเพียงเเค่เด็กที่ฉลาดหรือมีไอคิวสูงเท่านั้น แต่ยังมีเด็กจำนวนหนึ่งที่หวังจะได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของตัวเองเช่นกัน

“เด็กไม่ใช่ผ้าสีขาว แต่เป็นสีพื้น เพราะเด็กทุกคนล้วนมีคุณค่า มีความสามารถที่ต่างกัน”

เป็นคำกล่าวของ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กและวัยรุ่น พร้อมให้ความเห็นว่า การส่งเสริมความรู้ความสามารถในเด็กไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ แต่เป็นเรื่องระดับประเทศ นับตั้งแต่ฝ่ายบริหารไปจนถึงครูหรือฝ่ายปฏิบัติ

“ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ที่ว่า เด็กไม่ใช่ผ้าขาวแต่เป็นสีพื้น หมายความว่า เด็กทุกคนล้วนมีความสามารถต่างกัน ผู้ปกครองและครูอาจารย์ควรส่งเสริมในสิ่งที่เด็กคนนั้นถนัดให้มากที่สุด และเติมเต็มในสิ่งที่เขาขาด เราพบว่าบางครั้งเด็กที่มีความสามารถในด้านหนึ่งเป็นพิเศษมักจะอ่อนวิชาการใช้ชีวิต ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องวางธงว่า เด็กอยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน อย่าเลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบ เด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เปิดโอกาสให้เขาเล่น ให้ได้รังสรรค์ จะต้องไม่มีเด็กหน้าห้อง เด็กหลังห้อง” รศ.นพ.สุริยเดวอธิบาย

พร้อมบอกเล่าถึงคำพูดคนไข้เด็กรายหนึ่งที่เข้ารับการรักษาโรค LD หรืออาการบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorder) ที่เขาจดจำได้ดี

“คนไข้เด็กรายหนึ่งของผมเคยกล่าวว่า “อย่าย่ำจุดอ่อนของผมจนแกนชีวิตผมเสีย” อันเป็นผลพวงจากระบบการศึกษาของไทยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมทักษะความสามารถอื่นที่เด็กคนนั้นมี แม้ว่าปัจจุบันเด็กคนนั้นประสบความสำเร็จในการเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต่างประเทศไปแล้วก็ตาม” รศ.นพ.สุริยเดวกล่าว

และว่า สภาพสังคมไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องการเปิดรับทัศนคติใหม่ ด้วยหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นระบบอุตสาหกรรมการศึกษาที่เด็กต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด เพราะสังคมตีค่าให้สายอาชีพวิศวกรรมศาสตร์ หรือแพทยศาสตร์ มีราคาสูงกว่า ดังนั้นควรปรับแก้ให้เด็กได้เรียนตามสมรรถนะ หรือไชลด์ เซ็นเตอร์ (Child Center) ซึ่งเริ่มได้ตั้งแต่ระดับประถมโดยใช้หลักสูตรแกนกลางที่ “เปิดกว้างความคิด” เพียงครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งคือการสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนเองซึ่งจะสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่าห้องเรียนเป็นเพียงแค่ห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ที่น่าเบื่อหน่าย จะไม่อยากมาโรงเรียนเพียงเพื่อเล่นกับเพื่อน แต่อยากที่จะเข้ามาเพื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่อีกด้วย

“นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันในสภาพแวดล้อม เช่น บ้าน ชุมชน และโรงเรียนก็มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอีกด้วย” นพ.สุริยเดวกล่าวเสริม

ขณะที่ จุฑาพร เอลิซาเบธ เกตุราธร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า เด็กที่มีความฉลาดมีแนวโน้มที่จะเกิดความเครียดสูงจากความคาดหวังของพ่อแม่และสังคมได้เช่นกัน

พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในต่างประเทศ พบว่า มีเด็กผู้เข้าแข่งขันในรายการประเภท Child Genius มีอาการเครียดและมีพฤติกรรมก้าวร้าวจนกระทั่งทำร้ายตัวเอง ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการจัดแข่งขันประลองความรู้สำหรับเด็กที่มีไอคิวสูง

 

“เด็กเก่งก็มีความเครียดสูง จนอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นได้” จุฑาพรกล่าว

พร้อมให้ความเห็นอีกว่า สำหรับกรณีของน้องอุ้ม ที่มีระดับไอคิวสูงนั้นแม้ว่าจะไม่ใช่เคสแรกของคนไทย แต่จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมและระบบการศึกษาอาจไม่เอื้ออำนวยให้เขาได้ใช้ศักยภาพที่มีในตัวเองทั้งหมด ซึ่งการสังเกตลักษณะของเด็กที่มีความฉลาด พบว่าเด็กจะมีทักษะความจำที่ดี สามารถอ่านเขียนได้เร็ว มีความสามารถพิเศษที่เด่นชัด และเป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย

“ดังนั้นผู้ใหญ่ในสังคมควรปรับทัศนคติที่ดีเสียใหม่ต่อเด็กช่างถาม และสนับสนุนให้เกิดตั้งคำถามเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกัน รวมถึงเปิดช่องทางให้เขาใช้ความคิดสร้างสรรค์กันอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่ลืมว่าควรให้การสนับสนุนในสิ่งที่เขาชื่นชอบจริงๆ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการฝืนให้เขาทำกิจกรรมมากเกินไปจนความหวังดีของพ่อแม่ก็อาจทำร้ายลูกของตัวเองได้”

เมื่อถามถึงแนวทางปฏิบัติของระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ดูเหมือนจะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่นั้น จุฑาพรให้ความเห็นว่า เกิดจาก 2 สาเหตุเป็นสำคัญ อันดับแรกมาจากตัวผู้สอนที่ยึดติดหลักธรรมเนียมในหลักสูตรเดิม หรือสถาบันการศึกษานั้นไม่ให้อิสระต่อผู้สอนในการปรับเสริมเติมแต่งหลักสูตรวิชา ทำให้สถาบันการศึกษาบางแห่งยังใช้วิธีการสอนเดิมที่มีเนื้อหาล้าสมัย อันดับต่อมาคือ ตัวผู้เรียนที่ไม่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางการเรียน ซึ่งเกี่ยวเนื่องไปถึงระบบสังคมไทยแต่เดิมที่ไม่เปิดโอกาสให้เด็กกล้าที่จะถาม เกรงว่าคำถามจะไม่ถูกใจผู้ใหญ่ ทำให้อายหรือไม่กล้าถาม แม้ว่าธรรมชาติของผู้สอนจะชอบให้เกิดการโต้ตอบระหว่างกัน และยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น จำนวนเด็กที่มีมากเกินไปต่อชั้นเรียนทำให้เรียนรู้กันได้อย่างไม่ทั่วถึง

จากข้อเสนอแนะข้างต้นมีความเห็นตรงกันในเรื่องการยอมรับความสามารถของแต่ละบุคคลและการส่งเสริมให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามความชอบของเด็ก ซึ่งนับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญ เเละสามารถสร้างได้ในครอบครัวด้วยการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ไม่ใช่เเค่หวังพึ่งพาระบบการศึกษาเพียงอย่างเดียว

ซึ่งการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด คือการทำความเข้าใจว่า การนำความสามารถของเด็กแต่ละคนมาเปรียบเทียบกันไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่ดี

สอดคล้องกับ อ.พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคลินิกและศูนย์พัฒนาเด็กประถมและวัยรุ่น ที่มีมุมมองความเห็นที่น่าสนใจต่อประเด็นนี้

อ.พญ.แก้วตาเริ่มบทสนทนาด้วยการตั้งคำถามว่า อะไรคือนิยามของคำว่า “เด็กเก่งกับเด็กที่ไม่เก่ง?”

เป็นการสะท้อนถึงมุมมองที่ว่า เด็กเเต่ละคนมีความสามารถ มีสิ่งที่ชอบเเละมีความถนัดต่างกัน ดังนั้นควรส่งเสริมทักษะความสามารถของลูกหลานที่ต่างออกไป เน้นความสำคัญของการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นภายในครอบครัวที่จะช่วยให้สมาชิกมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน

หากสังเกตพฤติกรรมของแต่ละครอบครัวเป็นภาพกว้างจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีช่องว่างระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ห่างเหินกันมากขึ้น ด้วยสาเหตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน หรือความเป็นส่วนตัวที่ในบางครั้งก็มาจากการเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์กมากเกินไป ทำให้คนในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์น้อยลง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องเเปลก เมื่อมีภาพปรากฏของผู้ปกครองต่อว่าลูกที่สอบได้คะแนนน้อย เเละพยายามเคี่ยวเข็ญให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่มเติม ในมุมมองนี้ อ.พญ.แก้วตาให้ความเห็นว่า “ผู้ปกครองต้องเข้าใจว่าเราใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่อยู่ยาก ควรรู้เท่าทันระบบการศึกษาเพราะเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้”

อ.พญ.แก้วตาบอกอีกว่า ส่วนกระแสการส่งเสียให้ลูกเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา หรือติวเตอร์ เพื่อให้สอบเข้าสถาบันที่มีชื่อเสียงตามค่านิยมของสังคมจนกลายเป็น “อุตสาหกรรมการศึกษา” นั้นอาจไม่ตอบโจทย์ความสนใจที่แท้จริงของลูกตัวเอง ถ้าหากเขามีความสามารถในด้านอื่นที่ไม่ใช้การเรียนตามระบบทั่วไป ในที่นี้หมายถึงการเรียนในสายวิชาชีพที่เน้นปฏิบัติจริง ด้วยต้นทุนความสามารถที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน

คุณหมอยังแนะนำว่าควรเปลี่ยนการเรียนที่เน้นแต่วิชาการ ให้เป็นการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมที่ควรได้เรียนและเล่นไปร่วมกันซึ่งจะสามารถพัฒนาทักษะให้เขาได้พบตัวตนได้เป็นอย่างดี

อาจกล่าวโดยสรุปว่า สิ่งที่จะส่งเสริมให้บุคคลได้งัดทักษะความสามารถออกมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด โดยไม่หวังให้เกิดการล้มระบบการศึกษาใหม่ทั้งหมดนั้น ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่เหมาะสม ในสังคมที่ผู้คนมีความหลากหลาย ภายใต้ความเข้าใจของคนในครอบครัวเป็นเชือกที่คล้องกันนี้ ก็จะมีจำนวนประชากรชาวไทยที่มีคุณภาพรุ่นต่อๆ ไปในสังคมโลกมากยิ่งขึ้น

เช่นเดียวกับที่ทั่วโลกให้การยอมรับกับระบบสวัสดิการรัฐของประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียนอย่างประเทศฟินแลนด์ ซึ่งครอบคลุมตลอดทั้งชีวิตของชาวฟินน์ตั้งแต่วัยแรกเกิด โดยเฉพาะระบบการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งต่างไปจากเรามาก

ข้อมูลจากงานวิจัยการศึกษาในเด็กวัยเตรียมอนุบาลของประเทศฟินแลนด์ ตอนหนึ่งระบุว่า ผู้สอนจะเน้นการขับเอกลักษณ์ส่วนตัวของเด็กแต่ละคนภายใต้การดูแลอย่างทั่วถึง รอบด้าน โดยเฉพาะการเข้าสังคมที่จะส่งผลต่อเด็กให้มีความสนใจและมีทัศนคติที่ดีต่อผู้คนรอบตัว รวมไปถึงการยอมรับความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรมและเชื้อชาติ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบได้ด้วยตัวเอง และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความกระตือรือร้นในสังคม ส่วนการศึกษาของเด็กในระดับที่สูงขึ้นนั้น การทำการบ้านแทบจะไม่เป็นสิ่งจำเป็นอีกแล้วในประเทศนี้ ด้วยหลักสูตรแกนกลางที่ให้อาจารย์มอบหมายงานในแต่ละวิชาซึ่งจะต้องให้เสร็จภายในโรงเรียน เพื่อที่จะได้กลับไปใช้เวลาส่วนตัวในการพัฒนาศักยภาพที่บ้านอย่างเต็มที่

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เราก็คาดหวังให้การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยทั้งหลายได้ก่อเกิดเป็นรูปธรรมเสียที

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 9 มิถุนายน 2561

 


ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเองถอดบทเรียนครอบครัว-การศึกษาสร้าง“เด็ก”เเตกต่าง“เก่ง”ในทางของตัวเอง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์


เปิดอ่าน 9,645 ครั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)


เปิดอ่าน 7,587 ครั้ง
คัดเลือกคนจากสถาบัน

คัดเลือกคนจากสถาบัน


เปิดอ่าน 8,158 ครั้ง
บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,746 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)


เปิดอ่าน 8,215 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน

เปิดอ่าน 10,302 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา  สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
เปิดอ่าน 44,235 ☕ คลิกอ่านเลย

FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
เปิดอ่าน 33,622 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง
เปิดอ่าน 25,903 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เปิดอ่าน 26,923 ☕ คลิกอ่านเลย

"โรงเรียนนิติบุคคล" ปฏิรูปการศึกษา...เกิดขึ้นจริง
"โรงเรียนนิติบุคคล" ปฏิรูปการศึกษา...เกิดขึ้นจริง
เปิดอ่าน 10,138 ☕ คลิกอ่านเลย

จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เปิดอ่าน 7,498 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พระราชพิธีพระศพ
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พระราชพิธีพระศพ
เปิดอ่าน 20,064 ครั้ง

เปิดเทอมทั้งที "ของดี ๆ" ในกระเป๋าหายหมด
เปิดเทอมทั้งที "ของดี ๆ" ในกระเป๋าหายหมด
เปิดอ่าน 12,597 ครั้ง

ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของกระเทียม
ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของกระเทียม
เปิดอ่าน 19,301 ครั้ง

จริง...หรือ ?
จริง...หรือ ?
เปิดอ่าน 9,841 ครั้ง

ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
เปิดอ่าน 11,241 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ