ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการปฏิบัติงาน
และความภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร)
ผู้วิจัย นางสาวนุชชลี มาหนองโดน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร)
เทศบาลนครนครราชสีมา
ปี พ.ศ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการปฏิบัติงาน และ
ความภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑
(บูรพาวิทยากร) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพวิทยากร) อำเภอในเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสอบถามความต้องการของนักเรียนในพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 4) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช 5) คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 4 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .21 ถึง .79 และค่าความเชื่อมั่น .94 7) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .88 8) แบบประเมินความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .91 9) แบบประเมินหลักสูตรรายวิชา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .91 และ 10) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
พบว่า ทุกภาคส่วนมีความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร และให้สถานศึกษาเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ในทุกด้าน โดยให้ครูผู้สอนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน ตามสภาพปัญหาของชุมชน ความต้องการของนักเรียนและท้องถิ่น และส่งเสริมให้จัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีการจัดกิจกรามให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกทักษะการปฏิบัติให้ปฏิบัติได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่เรียนใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด
2. การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลักสูตรมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วย15 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความนำ 2) วิสัยทัศน์ 3) พันธกิจ 4) หลักการ 5) จุดหมาย 6) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 7) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8) โครงสร้างหลักสูตร 9) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 10) คำอธิบายรายวิชา 11) หน่วยการเรียนรู้ 12) เวลาเรียน 13) แนวการจัดการเรียนการสอน 14) สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ 15) การวัดและประเมินผล และเอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ คู่มือการใช้หลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย คำชี้แจงการใช้หลักสูต จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหา และแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนการประเมินหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน พบว่า การประเมินหลักสูตร โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย =4.68 และ เอกสารประกอบหลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดย
มีค่าเฉลี่ย 4.78
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
3.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช มีทักษะการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67)
3.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช มีคะแนนเฉลี่ยความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
4.1 ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56)
4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารโบราณเมืองโคราช ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด