งานวิจัยเรื่อง รายงานการพัฒนาการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ
และความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดสมอราย)
ผู้วิจัย นายอนุยุต ภรณ์ใจกล้า
ปีที่พิมพ์ มีนาคม 2562
บทคัดย่อ
รายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดสมอราย) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาในการทดลอง 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 และข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
(1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.30/84.62 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(3) พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด