ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
ส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้ประโยคในชีวิตประจำวัน

ชื่อเรื่อง ส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้ประโยคในชีวิตประจำวัน ผู้วิจัย นางสาววรรณภา ทำสุนา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้ประโยคในชีวิตประจำวัน ในครั้งนี้ เนื่องจากผู้วิจัยเห็นว่าการอ่านเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาทักษะทางภาษา โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโนนสีดาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้มาโดยการสุ่มเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า

จากการเปรียบเทียบคะแนนการอ่านของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าค่าคะแนนทางสถิติก่อนทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 12.73 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 10.73 และหลังทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 21.40 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 17.46 ซึ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม เด็กสามารถเรียนการอ่านได้ดี และรักการอ่านมากขึ้น บ่งบอกถึงประสิทธิผลของเครื่องมือในการใช้ ที่ทำการทดลอง ปรากฏว่า การทดสอบจากทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันและทำแบบฝึกหัดที่กำหนดให้นั้นทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ดียิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เพิ่มขึ้น

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เนื่องจากการอ่านประโยคภาษาอังกฤษนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านกระบวนการทักษะการอ่าน และเขียน เพราะหากว่าถ้านักเรียนขาดทักษะกระบวนการทักษะด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ก็จะเป็นปัญหาที่สำคัญมากแก่ผู้เรียนและครูผู้สอน เพราะจะทำให้การเรียนการสอนขาดประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชานี้ไม่ดีเท่าที่ควร

จากการจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พบว่านักเรียนบางคนยังขาดทักษะ

กระบวนการอ่านอยู่มาก ดังนั้นจึงเห็นควรนำนักเรียนที่ยังขาดทักษะนี้มาทำการวิจัยในชั้นเรียน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้น

2. เพื่อมีเจตคติที่ดีและรักการอ่านภาษาอังกฤษ

3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและสอดแทรกนิสัยรักการอ่านในกิจกรรมที่จัดขึ้น

สมมติฐานของการวิจัย

คะแนนทดสอบการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าการอ่านของนักเรียนก่อนการทดลอง

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ที่กำลังศึกษาใน ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนโนนสีดาวิทยา

2. เนื้อหา ทักษะการอ่านประโยค และประโยคเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

ระยะเวลา

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้เพิ่มพูนทักษะกระบวนการอ่านประโยคภาษาอังกฤษ

2. ได้แนวคิดที่ว่า การเรียนภาษาอังกฤษจำเป็นที่จะต้องรู้ประโยค และอ่านประโยคภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัย

เหตุผลและแนวคิดของทฤษฎี Constructionisim ทฤษฎีที่ Seymour Papert ได้เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 ทีให้ความสำคัญด้านกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก Piaget เชื่อว่า เด็กสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้ โดยเด็กจะเป็นเสมือนนักทดลองรุ่นเยาว์ที่สร้างและทดสอบทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา และเมื่อเด็กมีโอกาสได้สร้างความรู้นั้นด้วยตัวของเขาเอง เขาก็จะเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างลึกซึ้ง สามารถจัดระบบโครงสร้างความรู้ของตนเองและมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (Mindstorms,1993)

การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด มิใช่เรื่องใหม่ ได้มีการใช้แนวคิดนี้สืบต่อกันมาอย่างกว้างขวางในสังคมไทย การเรียนรู้ตามแนวพุทธธรรมเน้น “คน” เป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการพัฒนา “คน” ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน (คือคนแต่ละคน) และการพัฒนา “กลุ่มคน” ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เมื่อ “คน” มีความสำคัญที่สุดของการเรียนรู้วิธีการ ฝึกฝนอบรมจึงเป็นการพัฒนาทุกองค์ประกอบของความเป็น “คน” การเรียนรู้ตามวิถีชีวิตไทยแบบดั้งเดิม มี ลักษณะเป็นการสั่งสอนรายบุคคล เมื่ออยู่ในครอบครัว พ่อแม่สอนลูกชายให้ขยันอ่านออก เขียนได้ สอนลูกหญิงให้ทำงานบ้าน งานเรือน รู้จักรัก

นวลสงวนตัว เมื่อเติบโตขึ้นผู้ชายได้บวชเรียนกับพระที่วัดได้ฝึกงานอาชีพ การทำมาหากิน ส่วนผู้หญิงฝึก คุณสมบัติของกุลสตรี และฝึกงานอาชีพ กระบวนการเรียนรู้ตามวิถีวัฒนธรรมไทย สรุปได้คือ

1. เป็นกระบวนการบ่มเพาะ ซึมซับลักษณะประเพณีอันดีงาม

2. กระบวนการถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม

3. กระบวนการเรียนวิชาความรู้

4. กระบวนการอบรมกิริยามารยาททั้งทางกาย วาจา ใจ ตามหลักคุณธรรม

5. กระบวนการฝึกปฏิบัติด้วยการทำให้ดูแล้วฝึกทำให้เป็น

6. กระบวนการส่งเสริมสัมมาทิฏฐิ ให้ลูกหลานเป็นคนคิดดี คิดชอบ

สื่อประกอบการเรียนรู้ นอกจากเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทำมาหากินแล้วเด็ก ได้เรียนรู้จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นิทานพื้นบ้าน ของเล่น การละเล่น บทกลอน สุภาษิต ปริศนา คำทาย การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทย มีลักษณะสัมพันธ์และสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม บูรณาการระหว่างความรู้ความสามารถปฏิบัติได้จริง และความมีคุณธรรม สมควรที่นักการศึกษาทั้งหลายจะได้สนใจค้นคว้า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกาลสมัย

การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดควรคำนึงถึงประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1. สมองของมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุด

สมองของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ เป็นโครงสร้างที่ มหัสจรรย์ โดยธรรมชาติสมองมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด มีความต้องการ ที่จะเรียนรู้สามารถเรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ มนุษย์ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และทุกอย่างรอบตัวมนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ ต้องอาศัยสมองและระบบประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นพื้นฐานของการรับรู้ซึ่งรับความรู้สึกจากอวัยวะ รับความรู้สึก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องสนใจ และให้ผู้เรียน ได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมอง (Head) จิตใจ (Heart) มือ (Hand) และสุขภาพองค์รวม (Health)

2. ความหลากหลายของสติปัญญา

คนแต่ละคนมีความสามารถ หรือความเก่งแตกต่างกัน และมีรูปแบบการพัฒนาเฉพาะของแต่ละคน สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาเสริมสร้างความสามารถให้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา และได้

จำแนกความสามารถของคนไว้ 10 ประเภท คือด้านภาษา ดนตรี ตรรกและคณิตศาสตร์ การเคลื่อนไหว ศิลปะ/มิติสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/การสื่อสารด้านความรู้สึก/ความลึกซึ้งภายในจิตใจ ด้านความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านจิตนิยมการจัดกระบวนการเรียนรู้ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ความเก่ง /ความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถเก่งได้หลายด้าน

3. การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ตรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ดำเนินการรวบรวมแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้และเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังนี้

3.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามความสามารถทั้งด้านความรู้ จิตใจ อารมณ์และทักษะต่างๆ

3.2 ลดการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาลง ผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนจากสถานการณ์จริงที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตจริง เรียนรู้ความจริงในตัวเองและความจริงในสิ่งแวดล้อมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

3.3 กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทดลองปฏิบัติด้วย ตนเอง ครูทำหน้าที่เตรียมการ จัดสิ่งเร้า ให้คำปรึกษา วางแนวกิจกรรม และประเมินผล

ความหมายของการอ่าน

ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการอ่านอย่างกว้างขวางและมีการกล่าวถึงความหมายของการอ่านไว้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น

ประเทิน ( 2530 ) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า เป็นกระบวนการในการแปลความหมายของอักษรหรือสัญลักษณ์ที่มีการจดบันทึกไว้ การอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ลักษณะของการอ่านต้องทำความเข้าใจความหมายของเรื่องที่อ่าน ความหมายดังกล่าวมิได้เกิดจากตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่อ่านเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นให้เกิดความคิดรวบยอดหรือจินตนาการของผู้อ่านเป็นสำคัญ โดยอาศัยพื้นฐานประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน จึงเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการแปลความการตอบสนอง การกำหนดความมุ่งหมาย และการจัดลำดับ เมื่อผู้อ่านได้รับข่าวสารจากสิ่งตีพิมพ์ก็สามารถออกเสียงและทำความเข้าใจเรื่องราวโดยการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและจินตนาการ จากผู้เขียนสู่ผู้อ่านโดยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไร พูดอะไร สามารถทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตนเองอ่านได้ทั้งหมาดจนสามารถนำความคิดนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของการอ่านไว้ในหนังสือพจนานุกรมว่า การอ่านเป็นการออกเสียงตามตัวหนังสือหรือการเข้าใจความหมายจากตัวหนังสือ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อเข้าใจ

บันลือ (2538) การอ่านเป็นการพัฒนาความคิด โดยที่ผู้อ่านต้องใช้ความสามารถหลาย ๆ ด้าน เช่น การใช้การสังเกตจำรูปคำ ใช้สติปัญญาและประสบการณ์เดิมในการแปลความ หรือถอดความให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ดี โดยวิธีอ่านแบบนี้จะต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง

Downing และ Leong (1982) การอ่านคือ การแปลความหมายของสัญลักษณ์

Fries ( 1963 อ้างโดย Downing และ Leong, 1982 ) การอ่านประกอบด้วยการเปลี่ยนสัญลักษณ์ทางการได้ยินไปเป็นสัญลักษณ์ทางสายตา

Elkonin (1973 อ้างโดย Downing และ Leong, 1982 ) การอ่านเป็นการสร้างคำพูดในรูปแบบของเสียงจากลักษณะของรูปแบบของการเขียน

จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การอ่านคือกระบวนการที่ซับซ้อนที่สามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและจินตนาการของผู้เขียน โดยผ่านการแปลความหมายหรือตีความจากตัวอักษร เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยประสบการณ์และความคิดรวบยอดเดิมของผู้อ่านเป็นพื้นฐาน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราวนั้น ๆ และสามารถทำความเข้าใจที่เกิดให้เป็นประโยชน์ด้านในด้านหนึ่ง

ความพร้อมในการอ่าน

ประเทิน ( 2530 ) กล่าวว่า ขั้นของพัฒนาการซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยภายในร่างกายส่งผลให้เด็กพร้อมที่จะรับการสอนอ่าน นอกจากนั้น ความพร้อมในการอ่านยังหมายถึงช่วงเวลาที่เด็กมีความเหมาะสมที่จะเริ่มสอนอ่านได้

บันลือ ( 2538 ) ให้ความหมายของการเตรียมความพร้อมในการอ่านว่า หมายถึง สภาพของเด็กที่มีความคล่องที่จะใช้การผสานของตัวอักษรผสมเป็นคำอ่าน อ่านเป็นประโยคหรือเรื่องราวแล้วได้รับความรู้ เช่น อ่านบัตรคำประกอบภาพ อ่านประโยคประกอบภาพหรืออ่านเรื่องที่มีภาพประกอบ

นงเยาว์ ( 2522 ) กล่าวถึงความพร้อมในการอ่าน หมายถึง พัฒนาการระดับหนึ่งที่จะทำให้เด็กเรียนอ่านได้โดยมีอุปสรรคไม่มากนัก หรือสามารถเรียนได้ในอัตราเร็ว ซึ่งเป็นอัตราปกติสำหรับคนทั่วไป พัฒนาการดังกล่าวนี้อาจเป็นพัฒนาเรื่องจากวุฒิภาวะ (Maturation) หรือจากการเรียนที่ผ่านมา (Previous Learning) หรือเกิดจากอิทธิพลของทั้งสองสิ่งประกอบกัน ฉะนั้นความพร้อมในการเรียนอ่านซึ่งประกอบด้วยตัวประกอบมากมายที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ในอันที่จะช่วยให้การเรียนการอ่านเป็นไปอย่างราบรื่น

Humphrey และ Joy ( 1990 ) กล่าวว่า ความพร้อมในการอ่านต้องคำนึงถึงส่วนประกอบของความสามารถทางพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมหลายประการ ไม่ใช่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการมองเห็น ประสานการรับรู้ทางเสียง ความแตกต่างทางเพศ อายุ และปัจจัยทางด้านสังคมเศรษฐกิจ

องค์ประกอบของความพร้อมในการอ่าน

สิ่งสำคัญที่ช่วยให้การอ่านประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีก็คือ ความพร้อม เพราะถ้านักเรียนถูกบังคับให้เรียนทักษะใดทักษะหนึ่งโดยที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ

เพียงพอนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ประมวล (2509) กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กที่ติดตัวมาจากบ้านมีประโยชน์ต่อการเริ่มเรียนของเด็กเป็นอย่างมาก ถ้าเด็กมีพื้นฐานดีมาก่อนเข้าโรงเรียนเด็กก็พร้อมที่จะรับการสอน

Harris (1968) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการอ่านว่า การอ่านก็เช่นเดียวกับการเดิน เด็กจะอ่านได้ดีก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการเติบโตและกระบวนการเรียนรู้มาแล้วเป็นเวลานานพอสมควร การอ่านเป็นกิจกรรมที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่าการเดินหลายเท่า ต้องการทั้งพัฒนาการทางร่างกาย ทางสมอง และการเรียนรู้ประกอบด้วย เด็กจะเรียนอ่านได้ดีก็ต่อเมื่อเด็กเข้าถึงภาวะหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ พร้อม ” ในภาวะเช่นนี้เด็กจะมีสิ่งต่าง ๆ ภายในตัวประกอบกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ อายุ ความสามารถทั่วไป การรับรู้ทางสายตาและการเห็น สุขภาพ ความเข้าใจและความสามารถในการพูด อารมณ์ ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและความสนใจในการอ่าน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Thompson ( 1981 ) ได้ศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการพัฒนาการอ่านของเด็กตามการรับรู้และความต้องการของผู้ปกครอง โดยศึกษาจากผู้ปกครองของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล นักเรียนเกรด 1 เกรด 2 และเกรด 3 จำนวน 192 คน จากการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองต่างรับรู้ว่าตนเองมีส่วนที่จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาการอ่านยิ่งขึ้น ผู้ปกครองส่วนมากจะปฏิบัติตนโดยการฟังเด็กอ่านมากกว่าที่จะอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง ทั้ง ๆ ที่การอ่านออกเสียงให้เด็กฟังนั้นเป็นวิธีการที่สำคัญในการพัฒนาการอ่านของเด็ก ผู้ปกครองเชื่อว่าตนเองมีอิทธิพลต่อการอ่านของเด็ก แต่ก็ยังเชื่อว่ามีอิทธิพลน้อยกว่าทางโรงเรียน โดยเฉพาะครูผู้สอน นอกจากนั้นผู้ปกครองมีความต้องการข่าวสารข้อมูลที่จะช่วยในการพัฒนาการอ่านของเด็ก เพื่อที่จะพัฒนาการอ่านของเด็กได้ดียิ่งขึ้น

โดยสรุปจากเอกสารและงานวิจัยพบว่า ในการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านให้กับเด็กนั้นสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการด้านการอ่านของนักเรียนให้ได้ผลดี

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

1. ประชากร คือ นักเรียนชาย – หญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยทำการวิจัยในปีการศึกษา 2560 จำนวน 37 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชาย – หญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 30 คน ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากมีความพร้อมและยินยอมในการให้ความร่วมมือในการทดลอง จากนั้นผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน เหตุผลในการกำหนดจำนวนของนักเรียนในการวิจัย คือ ต้องเป็นนักเรียนที่มาเรียนสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการทดลอง

การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนอ่านประโยคและแปลประโยคให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้เวลาในการสอนสัปดาห์ละ 2 คาบเรียน คาบละ 50 นาที จำนวน 12 คาบ เป็นเวลา 6 สัปดาห์

วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้

ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 3 คน ครูกำหนดประโยคเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ที่อ่านให้นักเรียนได้อ่านและช่วยกันแปลความหมาย เรียบเรียงประโยคให้สละสลวย ครูแนะนำเพื่อการใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาและมารยาทสังคมของการใช้ภาษา และบันทึกประโยคเป็นภาษาไทยจากเรื่องที่อ่าน ตอบคำถามจากประโยคเพื่อเป็นการวัดความเข้าใจอีกครั้ง ทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับไวยากรณ์โดยดึงคำศัพท์ และประโยคที่อ่าน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ระยะก่อนการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบก่อนการเรียน (Pre–test) โดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนได้อ่านและตอบคำถามตามเนื้อเรื่อง

2. ระยะทำการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยนำเด็กกลุ่มทดลองมาสอนด้วยเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ ฝึกการอ่านการค้นหาความหมายจากการฝึกเปิดพจนานุกรม หรือเดาความหมายจากประโยค เพื่อแปลเป็นภาษาไทยและตอบคำถามตามเนื้อเรื่องหรือทำแบบฝึกหัด

3. ระยะหลังการทดลอง หลังจากเรียนจนครบตามกำหนดแล้ว ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบหลังการทดลอง (Post – test) อีกครั้ง โดยผู้วิจัยให้นักเรียนทำการทดสอบชุดเดิมนำผลของคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ

สถานที่ทำการทดลอง

โรงเรียนโนนสีดาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

X =  X



แทนค่า X ค่าเฉลี่ย

 X แทนผลรวมของคะแนนของผู้เรียน

 แทนจำนวนผู้เรียน

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการสอบก่อนเรียนและการสอบหลังเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

สมมติฐานที่ 1 คะแนนการทดสอบการอ่านของนักเรียนก่อนการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันมาก

สมมติฐานที่ 2 คะแนนการทดสอบการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันมาก

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตารางที่ 1 ทดสอบก่อนเรียน

คะแนนเต็ม 10 คะแนน รวม 30 คะแนน

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

คนที่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม

1 4 3 3 11 4 3 3 10

2 3 3 4 10 3 3 3 9

3 4 4 5 13 4 4 3 11

4 4 5 5 14 4 3 5 12

5 5 4 4 13 5 4 3 12

6 3 5 4 12 3 3 3 9

7 4 6 5 15 3 4 5 12

8 5 4 5 14 3 4 5 12

9 4 4 4 12 4 4 3 11

10 3 5 4 12 3 3 4 10

11 3 5 3 11 3 5 3 11

12 4 5 3 12 4 4 3 11

13 4 5 4 13 4 3 4 11

14 5 4 5 14 5 3 3 11

15 4 5 4 13 3 3 3 9

 X 189  X 161

X

12.73 X

10.73

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ 1 ที่ตั้งไว้คือ คะแนนที่ได้จากการทดสอบการอ่านของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองไม่แตกต่างกันมาก คือ กลุ่มทดลองมีผลรวมของคะแนนเป็น 191 และ และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.73 ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเป็น 161 และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.73 ตามลำดับ แสดงว่านักเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมนั้นมีวุฒิภาวะความพร้อม พื้นฐานความรู้ และประสบการณ์ในการอ่านน้อย จึงทำให้คะแนนที่ได้ไม่แตกต่างกันมาก

ตารางที่ 2 ทดสอบหลังเรียน

คะแนนเต็ม 10 คะแนน รวม 30 คะแนน

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

คนที่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม

1 7 8 7 22 5 5 6 16

2 8 8 6 22 6 5 7 18

3 7 7 6 20 5 6 7 18

4 7 9 8 24 6 6 5 17

5 6 9 9 24 5 7 6 18

6 9 6 8 23 6 6 6 18

7 5 7 7 19 6 7 5 18

8 8 6 7 21 6 7 6 19

9 8 7 7 22 5 5 6 16

10 6 6 6 12 5 5 6 16

11 7 9 8 24 5 7 6 18

12 8 6 6 20 7 6 5 18

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

คนที่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม

13 8 8 9 25 6 5 7 18

14 8 6 9 23 6 5 6 17

15 5 7 8 20 6 5 6 17

 X 321  X 262

X

21.40 X

17.46

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า หลังทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีผลรวมของคะแนนเป็น 321 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21.40 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีผลรวมของคะแนนเป็น 262 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.46 ซึ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ 2 ที่ตั้งไว้ แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการอ่านสูงกว่ากลุ่มควบคุม

ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบคะแนนการอ่านของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อน และหลังการทดสอบ

การทดสอบ   X X

ก่อนการเรียน กลุ่มทดลอง 15 191 12.73

ก่อนการเรียน กลุ่มควบคุม 15 161 10.73

หลังการเรียน กลุ่มทดลอง 15 321 21.40

หลังการเรียน กลุ่มควบคุม 15 262 17.46

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตารางที่ 3 พบว่า ก่อนทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 12.73 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 10.73 และหลังทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 22.46 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 17.46 ซึ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ 2 ที่ตั้งไว้ แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม เด็กสามารถทำแบบทดสอบได้ดี และรักการอ่านมากขึ้น บ่งบอกถึงประสิทธิผลของเครื่องมือในการทดลองเป็นเรื่องที่เรียงลำดับจากเรื่องง่ายไปเรื่องยากและมีภาพประกอบรวมทั้งแบบฝึกหัดที่เด็กจะสามารถอ่านได้ง่ายและน่าสนใจ เป็นการเริ่มต้นให้เด็กฝึกและหัดอ่าน เพราะเด็กสามารถจดจำคำศัพท์ไว้ในหน่วยความจำ จึงสามารถอ่านจับใจความได้เมื่อมีการทดสอบภายหลัง สุไร (2525) กล่าวว่า การสอนอ่านมีความสำคัญ และมีคุณค่าต่อผู้เรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอนภาษาเพราะเป็นการเร้าความความสนใจของเด็กมั่งทำให้นักเรียนที่ทำกิจกรรมลืมไปว่าตนกำลังเรียนอยู่ขณะที่ตนก็ใช้ภาษาไปด้วย ซึ่งทำให้นักเรียนใช้ภาษาได้คล่องแคล่วมากขึ้น

บทที่ 5

สรุปผลการศึกษาวิจัย

สรุปผลการศึกษาวิจัย

จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนนั้นแสดงให้เห็นว่านักเรียนยังขาดพื้นฐานการอ่านประโยคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน หรือมีพื้นฐานความรู้มาบ้างแต่ไม่สามารถอ่านประโยคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง แต่หลังจากนักเรียนได้เรียน และทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความรู้ และสามารถอ่านเขียนประโยคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น สามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีนักเรียนบางคนที่มีค่าคะแนนจาก

การทำแบบฝึกหัดไม่ค่อยดีเท่าที่ควรนั้น ก็อาจเป็นเพราะว่านักเรียนยังขาดความต่อเนื่องในการทำความเข้าใจ และเนื่องจากผู้ศึกษาเองก็มีโอกาสได้พบกับผู้เรียนเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้งเท่านั้น และในบางครั้งก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียนมาคั้นความต่อเนื่องของการเรียนรู้และดึงความสนใจของนักเรียนไปด้วย และอีกสาเหตุจากการสอบถามโดยตรงจากนักเรียนทำให้ผู้ศึกษาได้พบข้อมูลเพิ่มเติมว่านักเรียนไม่ได้กลับไปทบทวน และทำความเข้าใจเพิ่มเติมนอกห้องเรียน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเล็งเห็นว่าปัญหานี้ควรจะนำไปพัฒนาในครั้งต่อไป

อภิปรายผลจากการศึกษา

จากการสร้างแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

1. สังเกตได้ว่านักเรียนสามารถพัฒนาความรู้ โดยดูผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

2. จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ประโยคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

3. จะเห็นได้ว่าเมื่อนักเรียนได้รับการสอนที่เน้นย้ำในจุดที่นักเรียนมักจะสับสนหรือผิดพลาดบ่อย ๆ ทำให้นักเรียนผิดพลาดน้อยลง

ข้อเสนอแนะ

1. ในการอ่านประโยคภาษาอังกฤษนักเรียนควรเลือกอ่านนิทานที่มีประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆ จะทำให้นักเรียนเข้าใจความหมายและชอบการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น

2. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีเวลาในการพบและติดตามผลจากนักเรียนมากกว่านี้

บรรณานุกรม

บันลือ พฤกษะวัน. 2538. มิติใหม่ในการสอนอ่าน. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ, 140 น.

ประมวล ดิคคินสัน. 2509. ความพร้อมที่จะเรียนอ่านของเด็ก จิตวิทยาการศึกษาของเด็ก. หน่วยศึกษานิเทศน์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ 114 น.

ประเทิน มหาขันธ์. 2530. การสอนอ่านเบื้องต้น. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 243 น.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. พจนานุกรมฉบับราชราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525. สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. กรุงเทพฯ 972 น.

สุไร พงษ์ทองเจริญ. 2525. วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ. 155 น.

Downing, J. and C.K. Leong. 1982. Psychology of Reading. Maemillan Publishing Co., Inc., New York. 410 p.

Elkonin, D.B. 1973. U.S.S.R. Comparative reading. Cited by J. Downing and C.K. Leong. 1982. Psychology of Reading. Maemillan Publishing Co., Inc., New York. 410 p.

Fries, C.C. 1963. Linguistics and reading. Cited by J. Downing and C.K. Leong. 1982. Psychology of Reading. Maenillan Publishing Co., Inc., New York. 410 p.

Harris, A.J. 1968. How to increase Reading Ability : A Guide to Development and Vemedio Methods. 4 th ed., David Mckay, New Youk. 325 p.

Humphrey, J.H. and N.H. Joy. 1990. Reading Con Be Child’s Play. Charles C. Thomas Publisher, Illinois. 116 p.

Thomson, B.J. 1981. Parent’s perseptions of their roles and neesa as related to their children’s reading development. Ph.D. thesis, State University of New York, New York. (Diss. Abstr. 42 : 1079 -A 1080 – A)

โพสต์โดย นุ่ม : [7 เม.ย. 2564 เวลา 12:20 น.]
อ่าน [3173] ไอพี : 223.206.234.178
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,164 ครั้ง
12 วิธีอยู่อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
12 วิธีอยู่อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง

เปิดอ่าน 12,977 ครั้ง
บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร
บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร

เปิดอ่าน 13,093 ครั้ง
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ

เปิดอ่าน 27,261 ครั้ง
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน

เปิดอ่าน 21,947 ครั้ง
"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์
"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์

เปิดอ่าน 28,693 ครั้ง
ทิศหก
ทิศหก

เปิดอ่าน 16,834 ครั้ง
ความแตกต่างระหว่าง http:// กับ https://
ความแตกต่างระหว่าง http:// กับ https://

เปิดอ่าน 12,101 ครั้ง
วิธีการปลอกเปลือกไข่ต้มที่สมบูรณ์แบบและรวดเร็วที่สุด
วิธีการปลอกเปลือกไข่ต้มที่สมบูรณ์แบบและรวดเร็วที่สุด

เปิดอ่าน 352,535 ครั้ง
ครุ ลหุ เอก โท
ครุ ลหุ เอก โท

เปิดอ่าน 14,539 ครั้ง
เกร็ดน่ารู้"แพนด้ายักษ์"
เกร็ดน่ารู้"แพนด้ายักษ์"

เปิดอ่าน 8,099 ครั้ง
สารอาหารแห่งอนาคต
สารอาหารแห่งอนาคต

เปิดอ่าน 56,549 ครั้ง
กองทุนเพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา...คืออะไร?
กองทุนเพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา...คืออะไร?

เปิดอ่าน 140,283 ครั้ง
การทำงานของเอนไซม์
การทำงานของเอนไซม์

เปิดอ่าน 161,561 ครั้ง
"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย
"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย

เปิดอ่าน 31,234 ครั้ง
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด

เปิดอ่าน 13,454 ครั้ง
การทำบุญสะเดาะเคราะห์
การทำบุญสะเดาะเคราะห์
เปิดอ่าน 16,951 ครั้ง
คลิปข่าวทุจริตสอบ ล่าสุดจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ 9 มี.ค.56
คลิปข่าวทุจริตสอบ ล่าสุดจาก เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ 9 มี.ค.56
เปิดอ่าน 16,947 ครั้ง
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
เปิดอ่าน 17,428 ครั้ง
การวัดมุมในระนาบดิ่ง
การวัดมุมในระนาบดิ่ง
เปิดอ่าน 18,077 ครั้ง
เพลง "วันพรุ่งนี้" ที่เด็กร้องแล้วผู้ใหญ่ฟังแล้วอึ้ง!
เพลง "วันพรุ่งนี้" ที่เด็กร้องแล้วผู้ใหญ่ฟังแล้วอึ้ง!

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ