ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้วิจัย นางสุภาภรณ์ จันทร์กลม

รายวิชา ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รหัสวิชา ท23101ปีการศึกษา 2564

การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ

วัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ

1. ประชาชน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยาอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 564 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/ 9 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยาอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ

1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 เล่ม

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน - หลังเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ

3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 22 ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านคิดวิเคราะห์เพลง นิทาน ข่าว บทความและบทร้อยกรอง ก่อนเรียนกับหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง

3. หาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้พบว่า

1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 86.52/84.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้คือมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

ในการทดลองหาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยขอเสนอการอภิปรายผลไว้ 3 ประการคือ

1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.52/84.40 แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์กำหนด 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เน้นการจัดกิจกรรมการฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอน 5 ขั้นตอนคือหาความหมายคำศัพท์ แผนผังความคิด(การอ่านตามรูปแบบ 5W1H) แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น บอกประโยชน์และตอบคำถามจากเนื้อเรื่อง มีการเรียงเนื้อหาตามลำดับขั้นเรียงลำดับจากเรื่องยากไปหาเรื่องง่าย เนื้อหามีหลายรูปแบบ การจัดทำรูปเล่มเร้าความสนใจของผู้เรียน นักเรียนได้ทำกิจกรรมซ้ำ ๆบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ มีความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การใช้กระบวนการกลุ่มช่วยให้การเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นการช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ การแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เข้าใจเนื้อหา แนวคิด คำศัพท์ จุดประสงค์ของผู้เขียนที่ต้องการสื่อ มีทักษะการทำกิจกรรมระหว่างเรียน เช่น การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การแยกข้อเท็จจริงข้อคิดเห็น การสรุปความได้สมเหตุสมผล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การนำเสนอผลงานและมีมารยาทในการอ่าน ในการวัดผลประเมินผลระหว่างเรียน หลังเรียน ทำให้พบว่านักเรียนทุกคนมีพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ได้ในระดับดีเป็นที่พอใจ สอดคล้องกับเอี่ยมศรี ถือทอง วิจัยเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ประโยค เพื่อพัฒนาการจำแนกประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลของการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ประโยค เพื่อพัฒนาการจำแนกประโยคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ81.24/80.00 สุภัทรา ทะบันแดน วิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ผลของการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ 86.07/83.04 เพลินพิศ พรรณขาม วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 83.52/81.00 นูรัยนา หรีมโต๊ะสัน วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ชุด “อ่านมากได้ประโยชน์” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ชุด “อ่านมากได้ประโยชน์” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 83.60/84.31 และแบบฝึกมีประสิทธิภาพเนื่องมาจาก

1.1 แบบฝึกที่สร้างขึ้นผ่านกระบวนการขั้นตอนการสร้างอย่างเป็นระบบและวิธีการที่เหมาะสมคือศึกษาหลักสูตร คู่มือครู เทคนิค วิธีการ ทฤษฎี ความรู้การอ่านคิดวิเคราะห์และการอ่านคิดวิเคราะห์แบบ 5W1H เป็นแนวทาง โดยคำนึงถึงเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อและกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับสุวิทย์ มูลคำและสุนันทา สุนทรประเสริฐ(2550:65) กล่าวถึงขั้นตอนการสร้างแบบฝึกว่า ทำการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ศึกษาหลักสูตร พิจารณาทางเลือก ศึกษารูปแบบแบบฝึกชนิดต่าง ๆ ความหลากหลายแบบฝึก สร้าง ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ทดลองใช้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพก่อนจะใช้จริง

1.2 แบบฝึกที่สร้างขึ้นได้นำเพลง นิทาน ข่าว บทความและบทร้อยกรองมาจัดสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้และได้คำนึงลักษณะของแบบฝึกที่ดี คือ การใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก เร้าความสนใจ ตรงกับจุดประสงค์ เนื้อหาเหมาะสมตามความต้องการของผู้เรียนและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลสอดคล้องกับฐานิยา อมรพลัง (2548:78)กล่าวว่าแบบฝึกที่ดีเป็นแบบฝึกที่เรียงจากง่ายไปหายาก มีรูปภาพประกอบ มีรูปแบบน่าสนใจ หลากหลายรูปแบบ โดยอาศัยหลักจิตวิทยาในการจัดกิจกรรมหรือจัดแบบฝึกให้สนุก ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน มีคำสั่ง คำชี้แจงสั้นชัดเจนเข้าใจง่าย มีตัวอย่างประกอบ มีกิจกรรมการฝึกที่เร้าความสนใจและแบบฝึกนั้นควรทันสมัยอยู่เสมอ

1.3 แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนจะนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้ทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องการใช้ภาษา รูปแบบ เวลา ความยากง่ายและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกให้แน่ใจว่าแบบฝึกฉบับนี้มีประสิทธิภาพจริงสามารถนำไปใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีคุณภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ รัศมี ประทุมมา(2550:บทคัดย่อ) วิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์แก่นักเรียนและก่อนนำมาใช้ ได้นำไปทดลองหาประสิทธิภาพกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน แบบกลุ่มย่อย จำนวน 9 คน นำมาปรับปรุงแก้ไขได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์

1.4 แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นได้นำไปใช้ควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์ที่กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติกิจกรรมจริงด้วยตนเองเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในหมู่คณะ ได้ผ่านการประเมินตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านเนื้อหา กระบวนการ กิจกรรม สื่อและนำเอาข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไข ทั้งด้านการใช้ภาษา รูปแบบ รูปภาพ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ได้แบบฝึกที่ดีมีประสิทธิภาพใช้ในการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ครั้งนี้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการสอนและใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนมีความสามารถพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์สูงขึ้น สอดคล้อง ทัศนียา คำนวล วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความหมายเรื่อง

คำราชาศัพท์ โดยใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ลดาวัลย์ มะเดื่อ วิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิริวัณวรี 2 สงขลา ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กอแก้ว สวัสดี วิจัยเรื่อง การพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สุนิตา จุลวิชิต วิจัยเรื่องการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 วิภา มุ่งนากลาง วิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เน้นการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W1H เรื่องอิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ชวนพิศ คชริน วิจัยเรื่อง

การพัฒนาชุดการสอนแบบ 5W1H ในการส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลของการประเมินความพึงพอใจพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบฝึกอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เหตุผลที่ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดคือ แบบฝึกมีลำดับขั้นตอนเร้าความสนใจ มีคำชี้แจงชัดเจนเข้าใจง่าย รูปเล่มน่าสนใจ ความยากง่ายเหมาะสม เนื้อหามีความหลากหลาย นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความสุข ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน รูปแบบขั้นตอนแบบฝึกช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และนักเรียนพอใจกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมทุกครั้ง สอดคล้องกับ พรทิพย์ มโนเลิศ วิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ดวงมณี จันทร์สว่าง และคณะ วิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือนิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดรุณศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด อุบล ไกรษร วิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้บทเพลง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดและจินตนา จินตวร วิจัยเรื่อง การที่พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคผังมโนภาพ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคผังมโนภาพในระดับมากที่สุด

 

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้

1.1 ควรให้มีการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ทุกระดับเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

1.2 พัฒนาปรับปรุง รูปเล่มและเนื้อหาของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้เหมาะสมทันสมัย มีความหลากหลายและเร้าความสนใจของผู้เรียน

1.3 ควรเตรียมแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไว้ล่วงหน้าอย่างดี เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาก่อนนำไปใช้กับนักเรียน

1.4 ใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่ขาดเรียนและมีพัฒนาทางการเรียนช้า 1.5 เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับวิธีการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยวิธีการอื่น

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

2.1 ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระอื่น ๆทุกระดับชั้นเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง

2.2 ควรมีการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิธีการอื่น

เพื่อจะได้มีแนวทางเลือกที่หลากหลายในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

2.3 ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ครบทุกสาระ เพื่อจะได้ปรับปรุง พัฒนาพร้อมกันทุกด้านและแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพที่แท้จริง

โพสต์โดย Miaoumiaou : [7 ก.ย. 2564 เวลา 10:45 น.]
อ่าน [3240] ไอพี : 171.100.79.216
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 3,916 ครั้ง
เงินเฟ้อ คืออะไร
เงินเฟ้อ คืออะไร

เปิดอ่าน 81,713 ครั้ง
สุภาษิต-คำพังเพยเข้าถึงเด็กไทย แนะใช้บ่อย-สื่อเห็นภาพจริง
สุภาษิต-คำพังเพยเข้าถึงเด็กไทย แนะใช้บ่อย-สื่อเห็นภาพจริง

เปิดอ่าน 10,962 ครั้ง
เคยได้ยินแต่ Copyright อย่างเดียว มาดูว่า Copyleft บ้าง
เคยได้ยินแต่ Copyright อย่างเดียว มาดูว่า Copyleft บ้าง

เปิดอ่าน 10,840 ครั้ง
"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?

เปิดอ่าน 13,320 ครั้ง
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ

เปิดอ่าน 25,525 ครั้ง
โลกออนไลน์แชร์ สุดยอดคุณครู! ตรวจการบ้านลูกศิษย์ละเอียดยิบ
โลกออนไลน์แชร์ สุดยอดคุณครู! ตรวจการบ้านลูกศิษย์ละเอียดยิบ

เปิดอ่าน 26,420 ครั้ง
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT

เปิดอ่าน 7,210 ครั้ง
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย

เปิดอ่าน 13,701 ครั้ง
เปิดเลคเชอร์ของ น้องปราง ศิรดา เด็กเก่งคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุด ปี 2558
เปิดเลคเชอร์ของ น้องปราง ศิรดา เด็กเก่งคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุด ปี 2558

เปิดอ่าน 21,956 ครั้ง
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)

เปิดอ่าน 11,444 ครั้ง
"ครู" ผู้เปลี่ยนชีวิต "ศิษย์"
"ครู" ผู้เปลี่ยนชีวิต "ศิษย์"

เปิดอ่าน 13,515 ครั้ง
กินถั่ววอลนัท ตัดหนทางมะเร็ง
กินถั่ววอลนัท ตัดหนทางมะเร็ง

เปิดอ่าน 17,173 ครั้ง
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 9,865 ครั้ง
เคล็ดลับเพื่อผิวสวยใสของสาววัย 20+
เคล็ดลับเพื่อผิวสวยใสของสาววัย 20+

เปิดอ่าน 17,124 ครั้ง
เลือกหมอนให้นอนหลับสบาย
เลือกหมอนให้นอนหลับสบาย

เปิดอ่าน 29,845 ครั้ง
การนำ e - Learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน
การนำ e - Learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน
เปิดอ่าน 15,675 ครั้ง
การปรับชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ
การปรับชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ
เปิดอ่าน 43,949 ครั้ง
ADDIE Model timeline
ADDIE Model timeline
เปิดอ่าน 44,638 ครั้ง
สุภาษิต หรือ ภาษิต
สุภาษิต หรือ ภาษิต
เปิดอ่าน 27,452 ครั้ง
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ