ชื่อผลงาน การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดสะแก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
ผู้ประเมิน ธัญนรัตน์ โชติวิวุฒิพงศ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนวัดสะแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบ
การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1983) ประเมิน
4 ด้าน คือด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างในการประเมิน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวัดสะแก นักเรียนชั้น ป.4ป.6 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครอง ผู้แทนทางศาสนา ผู้นำชุมชน ตำรวจ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านบริบท (Context) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสอดคล้องของโครงการ
กับบริบท ในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีความสอดคล้องมากที่สุดคือ ความต้องการของสังคม ส่วนด้านที่มีความสอดคล้องน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านนโยบาย
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือด้านงบประมาณ ส่วนด้านที่มีความเหมาะสมน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการปฏิบัติ
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือด้านการวางแผน ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการปรับปรุงแก้ไข
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product) ผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในภาพรวมพบว่า มีผลสำเร็จอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดคือ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปได้ดีและอบอุ่น ส่วนผลสำเร็จน้อยที่สุดคือ วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 การสร้างความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเข้มแข็ง ผลสำเร็จตามกิจกรรมอยู่ในระดับมากและมากที่สุดทั้ง 8 กิจกรรม