ผู้วิจัย นางนาฏธยาน์ รอดสน
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2563 - 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา และ 3)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1)การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2)การออกแบบและพัฒนา 3)การทดลองใช้รูปแบบ 4)การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 42 คน ครูผู้สอน จำนวน 210 คน และนักเรียน จำนวน 210 คน รวมทั้งสิ้น 462 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของร่างต้นแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน แบบประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน แบบประเมินการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและนำเสนอผลโดยพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่าหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะสามารถนำไปออกแบบในการพัฒนาการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาต่อไปได้ 2. ผลการออกแบบและพัฒนา 2.1)รูปแบบการนิเทศของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่พัฒนาขึ้น มี 7 องค์ประกอบ คือ (1) การกำหนดหลักการที่มุ่งมั่น (2) การสร้างขวัญกำลังใจใฝ่สัมฤทธิ์ (3) การร่วมคิดชื่นชมผลสำเร็จความเป็นมา (4)การรับทราบปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ (5) การประสานงานยกระดับคุณภาพในโรงเรียน (6)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการพัฒนา และ (7)การสร้างคุณค่าเงื่อนไขความสำเร็จ 2.2) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.14 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 2.3) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ในปีการศึกษา 2561 3.1)ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก( =4.48,
S.D. = 0.37) 3.2) การประเมินทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก( =4.26,S.D. = 0.52) 3.3)การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33,S.D. = 0.31) 3.4)การประเมินสมรรถนะหลักของผู้เรียน จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44,S.D. = 0.50) 3.5)การประเมินการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32,S.D. = 0.41) 3.6) คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 39.88 3.7) คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.15
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบ ปีการศึกษา 2562 4.1)ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( =4.54,S.D.=0.35 ) ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2561 4.2)การประเมินทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21ของผู้เรียน จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37,S.D. = 0.47) ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2561 4.3)การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำแนกตามรายด้านในภาพมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62,S.D. = 0.25) ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2561 4.4) การประเมินสมรรถนะหลักของผู้เรียน จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56,S.D. = 0.34)
ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2561 4.5)การประเมินการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำแนกตามรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.44,S.D. = 0.33) ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2561 4.6) คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 39.88 4.7) คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.15 4.8) ความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียนต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.55,S.D. = 0.25) ซึ่งสูงกว่าปีการศึกษา 2561
5. ผลการนำรูปแบบการนิเทศของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 มาใช้ ระหว่างปีการศึกษา 2561-2562 ส่งผลเชิงประจักษ์ให้ผู้เรียน บุคลากร สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันทั้งในด้านความรู้ ทักษะปฏิบัติ และด้านคุณธรรมจริยธรรมในระดับต่างๆ 6. ผลการรับรองรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดมีความเห็นในการรับรองว่า รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้จริง