บทสรุปผู้บริหาร
ชื่องานวิจัย การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนวัดสวนศิขรบรรพต
ชื่อผู้วิจัย นายกูอุดม สัญญา
ปีที่วิจัย 2563-2564
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดสวนศิขร บรรพต ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและ ผลผลิตของโครงการ รวมทั้งการได้ทราบถึงปัญหา ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการ ดำเนินงานของโครงการ โดยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการ ประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครูคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองโรงเรียนวัดสวนศิขร บรรพต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 26 คน ครูจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 7 คนและ ผู้ปกครองจำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วย แบบสอบถามความ คิดเห็นของครูที่มีต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดสวนศิขร บรรพต ปีการศึกษา 2564 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการ สถานศึกษาและผู้ปกครองที่มีต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวัด สวนศิขรบรรพต ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงของเนื้อหาของ แบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟาหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุก ตัวชี้วัด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่ มีค่าเฉลี่ยสูงคือ ความสอดคล้องเหมาะสมกับหลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.63 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ตัวชี้วัดการเตรียมการภายในโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.43 อยู่ใน ระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความเหมาะสมเพียงพอของบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 4.64 ตัวชี้วัดที่ได้คะแนน ลำดับที่ 2 คือ ความเหมาะสมเพียงพอของสถานที่ มีค่าเฉลี่ย 4.53 และลำดับ 3 คือ ความเหมาะสม เพียงพอของงบประมาณ และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย 4.45
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.53 และรองลงมาการติดตาม โครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.45
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ระดับมาก ได้แก่ ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.45 และรองลงมาคือตัวชี้วัดคุณภาพของ โครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.44
ข้อเสนอแนะ
1. จากการประเมินในภาพรวมพบว่าตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมีดังนี้ ด้าน บริบท คือ การเตรียมการภายในโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า คือ ความเหมาะสมเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ ด้านกระบวนการ คือ การติดตามโครงการ ด้านผลผลิต คือ คุณภาพของโครงการ ซึ่งผู้วิจัย จะนำไปปรับปรุงในปีการศึกษาถัดไป
2. การดำเนินโครงการนี้ดำเนินโครงการภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ผู้วิจัยควร ดำเนินการประเมินโครงการนี้ในปีการศึกษาถัดไปเพื่อพิจารณาความแตกต่าง