ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการเรียน ของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อิสลามวิทยาลัยแห

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง

ประชากรจำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 1 เล่ม และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 10 ชั่วโมง ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest – Posttest Design เป็นการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวแต่มีการวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t – test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.44/87.22 หมายถึง แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT

In this thesis, the researcher describes (1) the construction of a skills practice form on Thai basic words and meet the set standardized efficiency levels of 80/80; and (2) to study of dyslexia students’ achievement who studied using instructed by a skills practice form.

This study constitutes a research and development project involving a research population of 56 Mathayomsueksa One students in the first semester of the academic year 2016. Using the technique of Purposive Sampling, the researcher selected a sample population consisting of 10 students placed in an experimental group. The experimental group studied by means of the skills practice form constructed by the researcher.

The instruments of research consisted of 1) 5 learning plans 2) 1 skills practice form on the Thai basic words and 3) a 30-item test of Thai achievement couched at the reliability level of 0.851. Statistical techniques used by the researcher involved computation determining the efficiency of the skills practice form and t-test (Dependent Samples).

Findings are as follows:

1. The skills practice form exhibited quality at a very good level, inasmuch as evincing an efficiency level of 88.44/87.22. This efficiency level met the set criterion requirements.

2. The Thai achievement of the dyslexia students using the skills practice form was higher than before studying using the skills practice form. The Thai achievement levels of the dyslexia students under study differed at the statistically significant level of 0.05

บทนำ

การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ เป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพเป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

ด้วยความสำคัญดังกล่าว หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 37)

ดังนั้น เด็กไทยทุกคนควรเรียนรู้และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทุกโอกาส ซึ่งการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การอ่านและการฟังเป็นทักษะของการรับรู้เรื่องราว ความรู้ ประสบการณ์ ส่วนการพูดและการเขียนเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ การเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสาร ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถนำความรู้ ความคิดมาเลือกใช้เรียบเรียงคำมาใช้ตามหลักภาษาได้ถูกต้องตรงตามความหมาย กาลเทศะและใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2549 : 80)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประเมินสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย แล้วพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ สมรรถภาพที่มีปัญหาได้แก่ ทักษะการอ่านและการเขียน ปัญหา คือการออกเสียงพยัญชนะ สระ คำควบกล้ำไม่ชัดเจน การแจกลูกสะกดคำ การใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง การแจกลูกสะกดคำเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับผู้เริ่มเรียน หากครูไม่ได้สอนแจกลูกสะกดคำแก่นักเรียนในระยะเริ่มเรียน การอ่านของนักเรียนจะขาดหลักเกณฑ์การประสมคำ เมื่ออ่านหนังสือมากขึ้น ทำให้สับสนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือผิด ซึ่งเป็นปัญหามากของนักเรียนไทยในปัจจุบัน ผลจากการอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ ด้วย เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กรมวิชาการ (2546 : 134)

การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียนทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากทักษะ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ผ่านกระบวนการคิด และกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นลำดับขั้นตอนของการพัฒนาการ และความพร้อมของแต่ละบุคคล นักเรียนจึงจะมีทักษะที่ดีทั้งด้านการจำ การฟัง และการจำแนกทาง การเห็น การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือกับสายตา จนทำให้นักเรียนสามารถอ่านได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และสามารถอ่านได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา

การเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นต้องฝึกฝน เพื่อใช้ในการถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกความเข้าใจของตนเองออกมาเป็นตัวอักษรแทนคำพูดต่าง ๆ ดังนั้นการเขียนจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษา หากนักเรียนมีปัญหาในการเขียน จะทำให้ขาดโอกาสในการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ส่วนหนึ่งก็มีปัญหาในด้านการอ่านและการเขียน โดยเด็กจะแสดงพฤติกรรมความยากลำบากในการอ่านและการเขียน เด็กบางคนจะสร้างการสะกดแบบใหม่ของตนเอง จึงส่งผลให้ไม่สามารถสะกดคำได้หรือสะกดคำผิด ทำให้การอ่านและการเขียนผิดพลาด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ทำการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ พบว่า นักเรียนโดยส่วนใหญ่มีปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีจำนวน 79,358 คน คิดเป็นร้อยละ 12.45 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร จึงจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยอ่านออกเขียนได้ครบ 100 % ขึ้น เพื่อสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้ทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอนเน้นนักเรียนอ่านออกเขียนได้ 100 % ปัจจุบันอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ก็ยังมีนักเรียนบางส่วนที่ยังอ่านเขียนหนังสือไม่คล่อง

จากการสอบคัดกรองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 328 คน ที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ดำเนินการสอบคัดกรองนักเรียนโดยให้นักเรียนทดสอบทักษะการอ่านการเขียนพื้นฐาน ปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียนบางส่วนที่ผลคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่สามารถอ่านได้เป็นที่น่าพอใจและในด้านการเขียนมาตราตัวสะกดก็ยังมีปัญหาอยู่มาก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นลักษณะการฝึก ย้ำและทบทวนเพื่อส่งเสริมนักเรียนเกิดทักษะในด้านการอ่านการเขียนมากยิ่งขึ้น โดยจัดทำชุดแบบฝึกทักษะที่มีลักษณะที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากการทำกิจกรรมที่ง่ายไปหากิจกรรมที่ยาก ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถทบทวนด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดกำลังใจมีแรงเสริมอันจะส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนอีกด้วย

ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยตระหนักว่า ควรรีบแกปัญหาและมีความสนใจที่จะพัฒนานักเรียนด้านความสามารถในด้านการอ่านการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในด้านการอ่านและการเขียนต่อไป

จากข้อมูลสภาพปัญหา ความสำคัญและหลักการดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวครูผู้สอนควรจะมีการศึกษาหาวิธีปรับปรุงพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ให้ทั้งความรู้ทักษะการคิด ความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความแม่นยำ จดจำง่ายและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จัดระบบเชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้องและอ่านไม่ออก เมื่อนักเรียนเขียนสะกดคำไม่ได้ย่อมส่งผลให้อ่านไม่ออกตามมาด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำและการที่นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ยังมีผลกระทบต่อไปในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นอีกด้วย

ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทยให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน ที่มีปัญหาและความบกพร่องในการอ่านและการเขียนจากผลคะแนนของการสอบคัดกรองดังกล่าวข้างต้น โดยจะใช้เวลาในการสอนซ่อมเสริมในช่วงหลังเลิกเรียน

ผู้วิจัยได้คิดหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้ศึกษาหานวัตกรรมทั้งเก่าและใหม่นำมาแก้ปัญหา จึงพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะจะทำให้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ผู้รายงานจึงได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐานของนักเรียนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ให้มี

ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง

สมมติฐานของการวิจัย

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องจากการสอบคัดกรองการอ่านและการเขียน อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยมีนักเรียนที่มีผลคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 56 คน

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องจากการสอบคัดกรองการอ่านการเขียน อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยมีนักเรียนที่มีผลคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3. ระยะเวลาในการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนของนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

4. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการอ่านและการเขียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 1 เล่ม และแบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะจำนวน 15 แบบทดสอบ

ประโยชน์ที่ได้รับ

ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้ดังต่อไปนี้

1. ได้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐานเรื่อง มาตราตัวสะกด ที่มีประสิทธิภาพ

2. ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้พัฒนาทักษะการ

อ่านการเขียนสำหรับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง

3. ได้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิภาพและใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ สำหรับ

นักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องโดยเฉพาะ

4. ทำให้สามารถแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด เพื่อให้การ

เรียนการสอนวิชาภาษาไทยสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น

5. ทำให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุหลักของนักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่านและการเขียน เพื่อนำมา

พัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้และศักยภาพในการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้นไป

การทบทวนวรรณกรรม

เรียนรู้อะไรในภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้

อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง

• การอ่าน การอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

• การเขียน การเขียนสะกดคำตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการเขียน ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ ย่อความ รายงานชนิดต่าง ๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์และเขียนเชิงสร้างสรรค์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 การอ่าน

มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

สาระที่ 2 การเขียน

มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาไทย

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย

อัมพร อังศรีพวง (อ้างในวิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2549 : 94-95) ได้ให้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยไว้ดังนี้

1. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนให้ถูกต้อง คล่องแคล่ว โดยการฝึกทักษะแต่ละอย่างให้แม่นยำแล้วจึงฝึกทักษะทั้ง 5 ให้สัมพันธ์กันและส่งเสริมการคิด ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์

2. ฝึกทักษะทางภาษาซ้ำ ๆ และบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญและหมั่นฝึกฝนทบทวนอยู่เสมอ ครูผู้สอนต้องส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะเป็นรายบุคคลอย่างทั่วถึง

3. ฝึกให้ผู้เรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาควบคู่ไปกับการใช้ภาษาและรู้จักวัฒนธรรมทางภาษา

4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ และทักษะที่ได้จากการเรียนภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวัน และใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนกลุ่มประสบการณ์อื่น ๆ

5. ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทย โดยสอนให้เห็นคุณค่าและตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ทั้งในส่วนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสาร และในด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ

6. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจความงดงามของภาษาเพื่อให้เกิดความจรรโลงใจ โดยใช้ธรรมชาติ บทร้อยแก้วและร้อยกรองที่เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นมาเป็นสื่อการเรียนการสอน

7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่หาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต

8. สอดแทรกคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความมีระเบียบวินัย ความขยัน ความอดทน ความรับผิดชอบ

9. ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนช่างสังเกต จดจำ และจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางภาษา ได้รับความรู้ ความเพลิดเพลินและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

10. นำภาษาที่ใช้ในสังคมแวดล้อมมาเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้สัมพันธ์กับการเรียนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

11. ให้แบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ภาษาและการสื่อสารของครูผู้สอน

12. วัดและประเมินผล โดยคำนึงถึงวัย ระดับชั้นและพัฒนาการทางภาษาของนักเรียน

13. ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินผลการเรียนภาษาของตน เพื่อให้นักเรียนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ

14. ศึกษา ติดตามและแก้ไขข้อบกพร่องทางภาษาของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

15. จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาไทยด้วยความสนุกสนาน น่าสนใจ โดยใช้โปรแกรม เพลง รูปแบบการสอนอื่น ๆ และสื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดความรักในการเรียนภาษาไทย

16. จัดทำหนังสือที่เหมาะสมให้ผู้เรียนอ่านมากๆ หรือส่งเสริมการอ่านหนังสือในห้องสมุด เพื่อให้นักเรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้น

การอ่าน

การอ่านเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญและจำเป็นมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันต้องอาศัยการอ่านจึงจะสามารถเข้าใจและสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของการอ่าน

สรุปได้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการทางสมองที่ต้องใช้สายตาสัมผัสตัวหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ รับรู้และเข้าใจความหมายของคำ ที่ใช้สื่อความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน ให้เข้าใจตรงกันและผู้อ่านสามารถนำเอาความหมายนั้นๆ ไปใช้ประโยชน์ได้

การเขียน

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้ให้ความหมายการเขียนว่าหมายถึง การสื่อสารด้วยตัวอักษรเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ข่าวสารและจิตนาการ โดยการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษาและตรงตามเจตนาของผู้เขียน

ปัญหาของการเขียน

การเขียนสะกดคำ เป็นปัญหาที่สำคัญของนักเรียนและครูสอนภาษาไทยเป็นอย่างมากและจากการศึกษาพบว่า สาเหตุของการเขียนสะกดคำผิดมี ดังนี้

กรรณิการ์ พวงเกษม (2533 : 31-33) ได้อธิบายถึงปัญหาในการสอนเขียนมีหลายลักษณะดังนี้

1. การเขียนพยัญชนะ สระและคำไม่ได้ มักเป็นนักเรียนที่เริ่มต้นเรียนได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2. การสะกดคำผิด เช่น วางวรรณยุกต์ไม่ถูกที่ คำพ้องเสียง เขียนคำที่ใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดผิด เขียนคำที่มีตัวการันต์ผิด คำที่สระเสียงสั้นและเสียงยาวเขียนสลับกัน เขียนคำควบกล้ำผิด เขียนพยัญชนะบางตัวในคำเบียดกัน บางตัวห่างออกไป และเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศผิด

3. เว้นวรรคตอนย่อหน้าไม่ถูกต้อง

4. ใช้คำไม่เหมาะสม นำภาษาพูดมาใช้เป็นภาษาเขียน

5. เขียนคำที่ใช้อักษรย่อไม่ถูกต้อง

6. ลำดับความคิดในการเขียนไม่ได้

7. ลายมืออ่านยาก

8. ไม่มีความคิดในการเขียน

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่สำคัญของการเขียนสะกดคำผิดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน ตัวนักเรียนเองและวิธีการสอนของครู ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้นเป็นสำคัญ

ความสำคัญของการสอนเขียน

การเขียนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อความหมาย อย่างหนึ่งของมนุษย์สามารถตรวจสอบได้และคงทนถาวร ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้

เรวดี อาษานาม (2537 : 151) ได้สรุปความสำคัญของการเขียนไว้ ดังนี้ คือเด็กที่มีความสามารถในการอ่านและประสบความสำเร็จในการเขียนมาก จะมีจินตนาการในการใช้ภาษาได้ดีเพราะได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการใช้คำต่างๆ จากสำนวนภาษาในหนังสือต่างๆที่อ่านพบ โดยปกติครูมักสอนให้เด็กอ่านได้ก่อนจึงให้เขียนคำที่ตนอ่านได้แต่ทักษะในการเขียนเป็นทักษะที่สลับซับซ้อนกว่าทักษะอื่น เด็กจึงจำเป็นต้องมีความพร้อมโดยฝึกทักษะการฟัง การพูด และการอ่านได้ก่อนแล้วจึงเริ่มทักษะการเขียน ในระดับชั้นประถมศึกษามุ่งเน้นทักษะพื้นฐานในการเขียน และยั่วยุให้เขียนด้วยความสนุกสนาน ไม่เบื่อโดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ฝึกจากง่ายไปหายากและให้สัมพันธ์กับการพูดและอ่าน

แบบฝึกทักษะ

ลักษณะของแบบฝึกที่ดี

แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียน การสร้างแบบฝึกให้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นจะต้องศึกษาองค์ประกอบและลักษณะของแบบฝึก เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 60 -61) ได้สรุปลักษณะของแบบฝึกที่ดีควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ความครอบคลุม ความสอดคล้องกับเนื้อหา รูปแบบน่าสนใจ และคำสั่งชัดเจน และได้สรุปลักษณะของแบบฝึกไว้ดังนี้ ใช้หลักจิตวิทยา สำนวนภาษาไทย ให้ความหมายต่อชีวิต คิดได้เร็วและสนุก ปลุกความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัยและความสามารถ อาจศึกษาได้ด้วยตนเอง

หลักการสร้างแบบฝึก

วรรณภา ไชยวรรณ (2549 : 45) ได้สรุปหลักการสร้างแบบฝึกทักษะดังนี้

1. ความใกล้ชิด คือ ถ้าใช้สิ่งเร้าและการตอบสนองเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันจะสร้างความพอใจให้กับผู้เรียน

2. การฝึก คือ การให้นักเรียนได้ทำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่แม่นยำ

3. กฎแห่งผล คือ การที่ผู้เรียนได้ทราบผลการทำงานของตนด้วยการเฉลยคำตอบจะช่วยให้ผู้เรียนทราบข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขและเป็นการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียน

4. การจูงใจ คือ การสร้างแบบฝึกเรียงลำดับ จากแบบฝึกง่ายและสั้นไปสู่แบบฝึกเรื่องที่ยากและยาวขึ้น ควรมีภาพประกอบและมีหลายรส หลายรูปแบบ

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 54 - 55) ได้สรุปหลักในการสร้างแบบฝึกว่าต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนสามารถผ่านลำดับขั้นตอนของทุกหน่วยการเรียนได้ ถ้านักเรียนได้เรียนตามอัตราการเรียนของตนก็จะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จมากขึ้น

ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ : แนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม (เฉลิมลาภ ทองอาจ: 2557)

ไม่ว่ามองมุมใด การที่เด็กและเยาวชนผ่านระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วอ่านเขียนไม่ได้นั้น ย่อมถือเป็นความล้มเหลวของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ปัญหานี้มีความยากในการแก้ไข เพราะมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน แต่ในยากลำบากดังกล่าวนี้ ก็หาใช่ว่าจะไร้หนทางเสียทีเดียว เพราะในด้านของโรงเรียนและครอบครัวพอที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการได้ เพียงแต่จะต้องกล้าที่จะต้องปรับเปลี่ยนในหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างของหลักสูตร ที่ควรเน้นแต่เฉพาะการอ่านและเขียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น การเปลี่ยนไปใช้วิธีการเรียนการสอนการอ่านและเขียนสำหรับเด็ก ที่เน้นให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยในเรื่องของรูปและเสียงอักษร จนสามารถจำรูปและเสียงของอักษรทุกตัวได้อย่างแม่นยำ การฝึกหัดอ่านและเขียนด้วยการแจกลูกและการสะกดคำ โดยเรียงตามลำดับที่ถูกต้อง การให้เวลาเรียนภาษาไทยเพิ่มมากขึ้นจากที่เป็นอยู่ รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการอ่าน มีกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกหัดอ่านและเขียนอยู่ตลอดเวลา หากปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้อย่างจริงจัง ก็น่าที่จะช่วยลดปัญหาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาลงไปได้มาก

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยในประเทศ

มะลิ อาจวิชัย (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการพัฒนาแบบฝึกภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด แม่กน แม่กด แม่กบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการทดลองพบว่า แบบฝึกทักษะภาษาไทยมีประสิทธิภาพ 84.02/80.26 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

พนมวัน วรดลย์ (2555 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 87.74/82.11 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ผลการศึกษางานวิจัยในประเทศแสดงให้เห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาการอ่านและการเขียน เพราะแบบฝึกทักษะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ

จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทราบว่าความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน เกิดจากวิธีสอนของครูและสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ รวม 10 ชั่วโมง ดังนี้

- แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การอ่านเขียนสะกดคำและมาตราตัวสะกด แม่ ก กา

- แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง มาตราตัวสะกด แม่กก และมาตราตัวสะกด แม่กด

- แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง มาตราตัวสะกด แม่กบ และมาตราตัวสะกด แม่กน

- แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง มาตราตัวสะกด แม่กง และมาตราตัวสะกด แม่กม

- แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง มาตราตัวสะกด แม่เกย และมาตราตัวสะกด แม่เกอว

2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 9 เรื่อง ดังนี้

- เรื่องที่ 1 มาตราตัวสะกด แม่ ก กา

- เรื่องที่ 2 มาตราตัวสะกด แม่กก

- เรื่องที่ 3 มาตราตัวสะกดแม่กด

- เรื่องที่ 4 มาตราตัวสะกด แม่กบ

- เรื่องที่ 5 มาตราตัวสะกดแม่กน

- เรื่องที่ 6 มาตราตัวสะกด แม่กง

- เรื่องที่ 7 มาตราตัวสะกดแม่กม

- เรื่องที่ 8 มาตราตัวสะกด แม่เกย

- เรื่องที่ 9 มาตราตัวสะกดแม่เกอว

และแบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะจำนวน 15 แบบทดสอบ คือ แบบทดสอบที่ 1- แบบทดสอบที่ 15

3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (multiple choice) 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการทดลอง

แบบแผนการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pre-test Post-test Design การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการเรียนของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Designs) แบบวิจัยหนึ่งกลุ่ม มีการทดสอบก่อนเรียน (O1) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แล้วทำการสอนด้วยแบบฝึกทักษะ (X) จำนวน 1 ชุด ประกอบไปด้วย 9 เรื่องและแบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 15 แบบทดสอบ เมื่อดำเนินการสอนสิ้นเสร็จแล้วทำการทดสอบหลังเรียน (O2) ด้วยแบบทดสอบชุดเดิมอีกครั้ง

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการเรียนของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เขตทุ่งครุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 10 คน ใช้เวลาในการดำเนินการ 10 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีลำดับขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะและทำแบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะ

3. เมื่อดำเนินการสอนครบทุกแผนแล้วทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมกับก่อนเรียน

การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัยตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ที่ใช้คู่กับแบบฝึกทักษะ จำนวน 10 ชั่วโมง มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้

1.1 หลักสูตรสถานศึกษาอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

1.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

1.3 สร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

1.4 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 5 แผน ตามกรอบวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้ แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดประเมินผลการเรียนและแผนการเขียนกระดาน โดยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ควบคู่กับแบบฝึกทักษะ จำนวน 10 ชั่วโมง

1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้เสนอผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบเพื่อประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถาม 3 ระดับ ตามรูปแบบของดัชนีความสอดคล้องระหว่างประเด็นที่ต้องการวัด (Index of Item-objective Congruence : IOC ) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ จากนั้นนำผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งข้อที่ผ่านควรมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้เสนอผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบเพื่อประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แล้วจึงนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ต่อไป โดยใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิถีของ Likirt นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านมาหาค่าเฉลี่ยของแผนการจัดการเรียนรู้

เกณฑ์ในการยอมรับ คือ ต้องได้ค่าเฉลี่ยขั้นต่ำ 3.51 ขึ้นไปจึงถือได้ว่าแบบฝึกทักษะนั้นเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการวิจัยต่อไป

1.7 นำผลจาการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ

1.8 หลังจากปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้ว นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง มีขั้นตอนดังนี้

2.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยศึกษาถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตร วิธีการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล

2.2 ศึกษาเนื้อหา รูปแบบ วิธีการสร้างและการหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะจากเอกสาร ตำราต่าง ๆ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสอนแบบฝึกทักษะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการทดลอง

2.3 ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหา เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และกำหนดเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อย ๆ พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ให้เหมาะกับเนื้อหา

2.4 นำเนื้อหาแบ่งเป็นกรอบย่อย ๆ โดยการเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายากตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการใช้ภาษา

2.5 วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง

2.6 เขียนแผนโครงเรื่องจากเนื้อหาวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ให้สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การใช้ภาษา การใช้ภาพประกอบ การเชื่อมโยง และส่วนประกอบอื่น ๆ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

2.7 ดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ประกอบด้วยหน้าปก จุดประสงค์ และเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด ซึ่งกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้การเรียนในแต่ละแบบฝึกทักษะ โดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ และความสนใจของนักเรียนโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นแบบฝึกทักษะจำนวน 9 เรื่อง รวมทั้งเฉลยแบบฝึกหัดที่ 1-9 และแบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะจำนวน 15 แบบทดสอบ คือ แบบทดสอบที่ 1 – แบบทดสอบที่ 15

2.8 นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่สร้างเสร็จแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะโดยใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ องค์ประกอบ ปก คำชี้แจงในการเรียน จุดประสงค์ เนื้อหา แบบทดสอบหลังเรียน นำข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะ เกณฑ์ในการยอมรับ คือ ต้องได้ค่าเฉลี่ยขั้นต่ำ 3.51 ขึ้นไปจึงถือได้ว่าแบบฝึกทักษะนั้นเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการวิจัยต่อไป

2.9 นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปหาประสิทธิภาพ 3 ขั้นตอนต่อไป ดำเนินการหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ที่ผลคะแนนการสอบคัดกรองการอ่านและการเขียนต่ำกว่าเกณฑ์และไม่ใช่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบเจาะจง โดยนำผลคะแนนการสอบคัดกรองการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 นำมาเรียงลำดับและจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน แล้วดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

1. ขั้นทดลองใช้เป็นรายบุคคล (One to one testing) โดยการนำแบบฝึกทักษะไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น จากกลุ่มปานกลาง 2 คน กลุ่มอ่อน 1 คน รวมเป็น 3 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบเจาะจง

2. ขั้นทดลองใช้กับกลุ่มย่อย (Small group testing) โดยการนำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยไม่ซ้ำกับกลุ่มทดลองเป็นรายบุคคล จากกลุ่มเก่ง 3 คน กลุ่มปานกลาง 3 คน กลุ่มอ่อน 3 คน รวมเป็น 9 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบเจาะจง

3. ขั้นทดลองภาคสนาม (Field testing) โดยการนำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยไม่ซ้ำกับกลุ่มทดลองกลุ่มย่อย จากกลุ่มเก่ง 10 คน กลุ่ม ปานกลาง 10 คน กลุ่มอ่อน 10 คน รวมเป็น 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบเจาะจง

3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

3.2 ศึกษาทฤษฎีและหลักการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์ในคำอธิบายของหลักสูตรเพื่อเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้

3.3 สร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านต่าง ๆ นำไปสร้างแบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก รวม 40 ข้อตามเนื้อหาและระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ตามแนวคิดของ Bloom (Bloom.1956 : 123 -125)

3.4 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง เรื่อง มาตราตัวสะกด ซึ่งเป็นข้อสอบชนิดเลือกตอบแบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

3.5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง เรื่อง มาตราตัวสะกด ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ IOC จำนวน 40 ข้อ

3.6 นำผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน มาคำนวณหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้และคัดเลือกข้อสอบที่ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งข้อสอบที่นำไปใช้ได้จะต้องมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงมากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 และผู้วิจัยทำการปรับปรุงลักษณะข้อคำถามของแบบทดสอบบางข้อให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

3.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง เรื่อง มาตราตัวสะกด ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นนักเรียนกลุ่มที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องและเคยเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด มาแล้ว จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการเลือกแบบเจาะจง นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์รายข้อ โดยนำไปหาค่าความยากง่าย (P) และหาค่าอำนาจจำแนก (r) คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.20 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป

3.8 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่คัดเลือกแล้ว 30 ข้อ ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นนักเรียนกลุ่มที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องและเคยเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด มาแล้ว จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยคำนวณจากสูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

3.9 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาจัดพิมพ์เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1. วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถด้านการอ่านการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน

2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ

3. วิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการประเมินการทำแบบฝึกทักษะระหว่างเรียน

4. วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองโดยทดสอบค่าที (t-test) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง

ผลการวิจัย

1. การใช้แบบทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะจำนวน 15 แบบทดสอบ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.44 และผลคะแนนจากการทดสอบหลังการเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 87.22

2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จากการทดสอบก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 46.67 การทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 73.33

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผลการวิจัย

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.44/87.22 หมายถึง แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 46.67 การทดสอบหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 73.33 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด และจากการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองโดยทดสอบค่าที (t-test) แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผล

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 88.44/87.22 หมายถึง นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะทั้ง 15 แบบทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 88.44 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 87.22 แสดงว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ อาจเนื่องมาจากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการสร้างแบบฝึกทักษะ ได้ผ่านการตรวจ แนะนำ แก้ไขข้อบกพร่องและประเมินความถูกต้องเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ การหาประสิทธิภาพ 3 ขั้นตอนก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการทำแบบฝึกทักษะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น จดจำความรู้ได้นานและคงทน รวมทั้งพัฒนาความรู้ทักษะและเจตคติด้านต่าง ๆ ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน ตามแนวทางการสร้างแบบฝึกทักษะที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปัญหาและความต้องการ วิเคราะห์เนื้อหาและทักษะที่เป็นปัญหาออกเป็นเนื้อหาย่อยแล้วดำเนินการสร้างตามหลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดี ของสุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 60-61) แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบฝึกทักษะที่ใช้ร่วมกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้นำเอากิจกรรมต่าง ๆ มาจัดให้สอดคล้องกันในแต่ละแผน ซึ่งประกอบด้วยเกม ภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระในลักษณะที่จะส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยถือว่าสื่อแต่ละอย่างให้คุณค่าแตกต่างกัน จากเหตุผลดังกล่าวแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐานจึงเป็นแบบฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พนมวัน วรดลย์ (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 87.74/82.11 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตรงกับงานวิจัยของนิลวรรณ อัคติ (2548 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการผันวรรณยุกต์ โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนภูแล่นช้างคเชนทร์พิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 87.85/80.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับสมใจ นาคศรีสังข์ (2549 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลาดเกาะแรต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 21 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 83.98/84.46 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะทำให้ผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องสูงขึ้น อาจเนื่องมาจาก

2.1 แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น ได้เรียนรู้ทีละน้อยตามขั้นตอนที่ครูเตรียมการสอนมาแล้ว ทำให้นักเรียนมีกำลังใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาใหม่ต่อไป

2.2 การใช้แบบฝึกทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ยึดหลักการสอนตามความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนตั้งแต่เริ่มฟัง อ่าน พูดและเขียน นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมและประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง นักเรียนเข้าใจการเรียนรู้แบบประสบการณ์ เนื้อหาเหมาะสมกับความสามารถในการรับรู้ของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง ทำให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน เพราะการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนสูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในครั้งนี้

1.1 การเลือกเนื้อหาที่นำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญควรคำนึงถึงความเหมาะสมของ เพศ วัย และระดับความสามารถในการเรียนของนักเรียนด้วย หากเนื้อหาใดที่นักเรียนสนใจ นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนักเรียนจะไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนเสริมเท่าที่ควร

1.2 ครูผู้สอนภาษาไทยให้กับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องและเขียนไม่คล่องจะต้องสอนเสริมนักเรียนแบบตัวต่อตัวไปพร้อมกับครูผู้สอน จะทำให้ทักษะด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1.3 ในระหว่างการดำเนินการจัดกิจกรรม ครูควรสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนต่ำ อาจจะไม่เข้าใจหรือเกิดการเรียนรู้ช้า หรือต้องการความช่วยเหลือ ครูควรใช้เทคนิคเสริมแรงกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ หรืออธิบายให้เข้าใจชัดเจนอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นนักเรียนจะไม่สนใจเรียน

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการนำแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นชุดนี้ ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องในโรงเรียนอื่น เพื่อจะได้ข้อสรุปผลการวิจัยที่กว้างขวางมากขึ้น

2.2 ควรมีการสร้างแบบฝึกทักษะที่เป็นแบบเฉพาะสำหรับนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง สำหรับใช้แก้ปัญหาได้กับทุกโรงเรียน มีเนื้อหาที่เหมาะสม มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความสนใจของนักเรียน และนำไปทดลองหาประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องต่อไป

2.3 ควรมีการสร้างแบบฝึกทักษะในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ หรือเรื่องอื่น ๆ เพื่อใช้ในการศึกษาหรือแก้ปัญหาด้านการอ่านการเขียน

โพสต์โดย ฟรอยด์ : [28 ก.ค. 2566 เวลา 09:19 น.]
อ่าน [1374] ไอพี : 125.25.40.38
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 102,520 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลข้อต่อเคล็ดหรือแพลง
วิธีปฐมพยาบาลข้อต่อเคล็ดหรือแพลง

เปิดอ่าน 10,971 ครั้ง
10 วิธีง่ายๆ ห่างไกลไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่
10 วิธีง่ายๆ ห่างไกลไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่

เปิดอ่าน 9,220 ครั้ง
ทำอย่างไรการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นกับคนทั้งประเทศ โดย นพ.ประเวศ วะสี
ทำอย่างไรการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นกับคนทั้งประเทศ โดย นพ.ประเวศ วะสี

เปิดอ่าน 15,714 ครั้ง
ไทยปรับเวลาใหม่ ให้ตรงกันทั่ว ปท. บังคับใช้เริ่ม 23สค.
ไทยปรับเวลาใหม่ ให้ตรงกันทั่ว ปท. บังคับใช้เริ่ม 23สค.

เปิดอ่าน 12,585 ครั้ง
ปิดเทอมเพิ่มทักษะประสบการณ์อยู่ที่บ้านได้ความรู้คู่เพลิดเพลิน แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เที่ยวไป เรียนไปกับ สสวท.
ปิดเทอมเพิ่มทักษะประสบการณ์อยู่ที่บ้านได้ความรู้คู่เพลิดเพลิน แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เที่ยวไป เรียนไปกับ สสวท.

เปิดอ่าน 17,466 ครั้ง
วันที่
วันที่ ''ไมโครซอฟท์'' ไร้บิลล์ เกตส์

เปิดอ่าน 15,131 ครั้ง
การพิมพ์ TILDE ( ~ ) ใน Windows 7
การพิมพ์ TILDE ( ~ ) ใน Windows 7

เปิดอ่าน 20,605 ครั้ง
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์

เปิดอ่าน 10,017 ครั้ง
ซินโครตรอนพบ! สารสกัดโปรตีนจากดักแด้ไหม ยับยั้งมะเร็งเต้านมได้
ซินโครตรอนพบ! สารสกัดโปรตีนจากดักแด้ไหม ยับยั้งมะเร็งเต้านมได้

เปิดอ่าน 24,041 ครั้ง
กระบอกน้ำสแตนเลสกับกระบอกน้ำอลูมิเนียม แบบไหนปลอดภัยมากที่สุด ?
กระบอกน้ำสแตนเลสกับกระบอกน้ำอลูมิเนียม แบบไหนปลอดภัยมากที่สุด ?

เปิดอ่าน 16,496 ครั้ง
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

เปิดอ่าน 44,920 ครั้ง
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556

เปิดอ่าน 12,523 ครั้ง
สมการและการแก้สมการ
สมการและการแก้สมการ

เปิดอ่าน 14,324 ครั้ง
แนวปฏิบัติในการโอนบุคลากรด้านการศึกษาในสถานศึกษาไป อปท.
แนวปฏิบัติในการโอนบุคลากรด้านการศึกษาในสถานศึกษาไป อปท.

เปิดอ่าน 16,354 ครั้ง
ยาธาตุ(กลิ่นซินนามอน) แก้ท้องอืด ปรุงเองได้...ง่ายนิดเดียว
ยาธาตุ(กลิ่นซินนามอน) แก้ท้องอืด ปรุงเองได้...ง่ายนิดเดียว

เปิดอ่าน 64,017 ครั้ง
เด็กมี IQ อย่างเดียวไม่พอ! ต้องมี EF ทักษะฝึกสมองบ่มเพาะ "นิสัยอดทน-พากเพียร"
เด็กมี IQ อย่างเดียวไม่พอ! ต้องมี EF ทักษะฝึกสมองบ่มเพาะ "นิสัยอดทน-พากเพียร"
เปิดอ่าน 2,378 ครั้ง
น้ำมะนาวจี๊ดจ๊าด สูงวัยสุขภาพดี
น้ำมะนาวจี๊ดจ๊าด สูงวัยสุขภาพดี
เปิดอ่าน 24,647 ครั้ง
สอนออนไลน์ง่ายขึ้นด้วยโปรแกรม ClassPoint บน PowerPoint
สอนออนไลน์ง่ายขึ้นด้วยโปรแกรม ClassPoint บน PowerPoint
เปิดอ่าน 15,552 ครั้ง
เทคนิคซ้อนฉากหลังของหนังฮอลลีวูด เจ๋งจริงๆ
เทคนิคซ้อนฉากหลังของหนังฮอลลีวูด เจ๋งจริงๆ
เปิดอ่าน 11,850 ครั้ง
ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ