ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิค แผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวนิภาวรรณ ขวัญเมือง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลเทศบาล ๑ วัดละไม เทศบาลนครเกาะสมุย
ปีการศึกษา 2564 - 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัด การเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 3 2 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปโดยใช้การบรรยาย เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) จากสภาพปัญหาของผู้เรียนที่พบในการเรียนของรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อหาวิชาสาระเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเนื้อหาวิชาสาระเศรษฐศาสตร์นั้นค่อนข้างยากเพราะเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี ทำให้จับประเด็นสำคัญไม่ค่อยได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเขียนอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลหรือข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ให้มีความสัมพันธ์กับแนวคิด ทฤษฎี แล้วสรุปผลจากเหตุหรือข้อสมมติได้อย่างสมเหตุสมผล ถึงแม้จะเรียนผ่านวิชานี้มาแล้วก็ตามแต่ก็ยังมีความสับสน ขาดความแน่ใจและไม่สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สอนยังใช้รูปแบบการสอนแบบเดิม และยังไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียนในปัจจุบัน จึงสะท้อนให้เห็นว่าครูควรได้รับการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนรู้ที่แปลกใหม่ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อีกทั้งการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีสอนที่แปลกใหม่จะช่วยให้ครูได้รับการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้ดีขึ้น
2) ผลการพัฒนารูปแบบการสอน พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดกิจกรรม (ขั้นศีล ขั้นสมาธิ ขั้นปัญญา) และขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ด้วยการใช้เทคนิคแผนผังกราฟฟิกมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62)
3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 82.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70.00 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 73.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70.00
4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและเทคนิคแผนผังกราฟฟิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับดี