ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก)
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย : มนิต เพชรสุวรรณ
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
สู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อการวิจัย ฉบับที่ 2 และแบบสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) เพื่อการวิจัย ฉบับที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และครูผู้สอน จำนวน 25 คน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม ฉบับที่ 4 แบบประเมินความสอดคล้อง ฉบับที่ 5 และแบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ฉบับที่ 6 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ ฉบับที่ 7 แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ฉบับที่ 8 และแบบประเมินคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ฉบับที่ 9 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 60 คน และนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ถึงนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 302 คน และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินการปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ 10 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คนและครูผู้สอน จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า โดยรวมมีสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษา/ความต้องการในการพัฒนาสถานศึกษาในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากร
มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (x̄= 4.58, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ ด้านความเป็นผู้นำ (x̄= 4.54, S.D. = 0.50) ขณะที่ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄= 4.08, S.D. = 0.28) ตามลำดับ และมีแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาคุณภาพองค์กร การบริหารโรงเรียนคุณภาพในประเทศไทย การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยศึกษาหนังสือ ตำรา บทความและงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า Best Practice Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เป้าหมาย
4) กระบวนการบริหารสถานศึกษา มี 8 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การตระหนักรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership awareness Stage : T) ขั้นตอนที่ 2 การคาดหวังเป้าหมายความเป็นเลิศทางการบริหารสถานศึกษา (Expectation of Administration Excellence Goals Stage : E) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาบุคลากร (Human Resources Development Stage : H) ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมความพร้อมผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ (Preparation Learner for Learning Stage : P) ขั้นตอนที่ 5 การจัดสื่อ แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Media Learning Resources and Environment Stage : M) ขั้นตอนที่ 6 กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ (Learning Process for the Best Practices Stage : L) ขั้นตอนที่ 7 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา (Creation of a Learning Society in School Stage : C) ขั้นตอนที่ 8 ผลลัพธ์ความเป็นเลิศทางการเรียนของผู้เรียน (Outcomes of Student learning Excellence Stage : O) 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า หลังจากการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่มีชื่อว่า Best Practice Model ไปทดลองใช้แล้ว ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี (x̄= 27.03, S.D. = 1.26) มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (x̄= 2.51, S.D. = 0.48) มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (x̄= 2.53, S.D. = 0.49) มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (x̄= 2.55, S.D. = 0.50) และผลการประเมินคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ประกอบด้วยด้านความรู้พื้นฐาน ด้านสมรรถนะเป็นเลิศ ด้านคุณลักษณะสำคัญและด้านความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรม/การปฏิบัติได้ดีทุกครั้ง (x̄= 2.51, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรู้พื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (x̄= 2.56, S.D. = 0.49) รองลงมา คือ ด้านสมรรถนะเป็นเลิศ (x̄= 2.52, S.D. = 0.50) ด้านคุณลักษณะสำคัญ (x̄= 2.50, S.D. = 0.50) ขณะที่ด้านความฉลาดทางอารมณ์ มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄= 2.46, S.D. = 0.51) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.46, S.D. = 0.55) มีความเหมาะสม/การนำไปใช้ได้จริงอยู่ในระดับมาก และมีข้อปรับปรุงเพียงเล็กน้อย