ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวพิจิตรา วิจารณกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน บนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนบนเว็บตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วยการเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะจำนวน 20 ข้อ มี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายในกลุ่มโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.02 / 85.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 1
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7143 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 71.43 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 19.22 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 34.06 ซึ่งเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 3
4 ผลการวิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์หลังจากบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก (x ̅ = 3.50,S.D. = 0.50) ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 4
5. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.54, S.D.= 0.57) ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 5