ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ
สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้ศึกษา สุมามาลย์ นาคหอม
สถานที่ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านสะกดคำและการแจกลูก คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ และ S.D
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลของคะแนนเฉลี่ยของแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพเท่ากับ 85.10/85.88 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลค่าประสิทธิผลของนักเรียนทั้งหมดจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เท่ากับ .6358 แสดงว่า หลังจากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูก คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.58
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูก คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ( =4.39) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 (S.D.=0.56)