Advertisement
"มะรุม" มีที่มา
"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ชื่อมะรุมนี้ เป็นคำเรียกของชาวภาคกลาง หากเป็นทางภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักมะค้อนก้อม" ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง" ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น
ลักษณะต้นมะรุม
มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนก หรือคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำ และความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
คุณค่าทางอาหาร
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นฤดูหนาว เพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม จึงหาได้ง่าย และมีรสชาติอร่อย เพราะสดเต็มที่ มะรุมสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน ฯลฯ
ในต่างประเทศมีการค้นคว้า และวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ
มีวิตามินเอบำรุงสายตามากกว่าแครอต 3 เท่า
มีวิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
มีแคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
มีโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
นอกจากนี้น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
มะรุม ยาวิเศษสารพัดโรค
ในคัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวไว้ว่า มะรุมเป็นพืชที่สามารถรักษาทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ โรคปอดอักเสบ ฆ่าจุลินทรีย์ หรือเป็นยาปฏิชีวนะ และแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้เป็นยาได้ ไม่ว่าจะเป็น
ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
เปลือกจากลำต้น มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา
กระพี้ แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม
ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้
เมล็ด นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
นอกจากนี้กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย
เห็นสรรพคุณของต้นมะรุมอย่างนี้แล้ว ชักเปรี้ยวปาก อยากหาแกงส้มมะรุมมาทานเสียจริงๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- payap.ac.th
- formumandme.com
- moac-info.net
- chombung.com
Advertisement
เปิดอ่าน 46,388 ครั้ง เปิดอ่าน 21,490 ครั้ง เปิดอ่าน 36,120 ครั้ง เปิดอ่าน 78,513 ครั้ง เปิดอ่าน 12,122 ครั้ง เปิดอ่าน 16,474 ครั้ง เปิดอ่าน 95,962 ครั้ง เปิดอ่าน 41,278 ครั้ง เปิดอ่าน 15,528 ครั้ง เปิดอ่าน 81,548 ครั้ง เปิดอ่าน 15,745 ครั้ง เปิดอ่าน 39,945 ครั้ง เปิดอ่าน 22,428 ครั้ง เปิดอ่าน 28,063 ครั้ง เปิดอ่าน 18,865 ครั้ง เปิดอ่าน 59,249 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 15,514 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,447 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,714 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,544 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,521 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 36,530 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,073 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,584 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,323 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,089 ครั้ง |
|
|