ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
นิทานพื้นบ้านจังหวัดศรีสะเกษ : คุณค่าแก่การอนุรักษ์

ในปัจจุบันวิถีชีวิตของเด็กในชนบทอีสานเริ่มเปลี่ยนแปลงไปความเจริญเริ่มแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวาง กลืนกินเอาวัฒนธรรมการละเล่น ค่านิยมอันดี ได้สูญหายเกือบหมด ไม่เว้นแม้แต่นิทานพื้นบ้าน อันเป็นภูมิปัญญาที่ช่วยสั่งสอนคนหรือเครื่องมือในการสร้างความบันเทิง ความสามัคคีก็เริ่มจางหายไปเรื่อย ๆ ในอนาคตข้างหน้าเด็กยุคใหม่อาจจะรู้จักเพียงแค่นิทานของชาติตะวันตก ส่วนนิทานของชนชาติตัวเองจะได้กลืนหายไปกับวันเวลาที่หมุนไปเรื่อย ๆ ผู้เขียนเห็นว่าสิ่งที่จะช่วยให้นิทานพื้นบ้านคงอยู่กับท้องถิ่นคือพวกเราต้องช่วยกันถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้เข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ให้ได้มากที่สุด

นิทานพื้นบ้าน จัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาภาษาและวรรณกรรม (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ: ๒๕๔๑) โดยผ่านการเล่าแบบมุขปาฐะหรือเล่าปากต่อปาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิทานพื้นบ้านในแต่ละเรื่องจะสอดแทรกคำสอน คติชน ขนบประเพณีต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอนิทานพื้นของท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งภูมิปัญญาที่น่าศึกษาอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ผู้เขียนได้เลือกพื้นที่ คือ บ้านโนนสว่าง ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ หรือชาวบ้านในระแวกนั้นเรียกว่า บ้านหนองแร้งสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “หนองแร้ง” เนื่องจาก สมัยก่อนมีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีนกแร้งมากินซากสัตว์ในหนองน้ำนั้น ผู้คนผ่านไปมาซึ่งเป็นคนภาคกลางจึงเรียกว่า หนองแร้ง ต่อมาชาวบ้านได้ย้ายถิ่นฐานมาทำมาหากิน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามเขาว่า หนองแร้ง จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแต่ปัจจุบันนั้นออกเสียงเพี้ยนไปเป็น หนองแล้ง (สมร ทุมนาค, สัมภาษณ์: ๒๕๖๑) และในปัจจุบันบ้านโนนสว่างได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านโนนสว่าง หมู่ ๖ และ หมู่ ๑๕บ้านโนนตับเต่า หมู่ ๑๗ และบ้านโนนสามัคคี หมู่ ๑๘ สำหรับการลงพื้นที่สำรวจนั้นผู้เขียนได้สัมภาษณ์จากผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่มีความรู้ในนิทานพื้นบ้านเป็นอย่างดี โดยจะต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีขึ้นไป ทำให้ได้ข้อมูลนิทานพื้นบ้านจำนวน ๕ เรื่องได้แก่

๑. กำพร้าผีน้อย

๒. เซี่ยงเมี่ยง

๓. นางนกกระจอก

๔. หมูกับหมา

๕. ทำนายคน

*นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

๑. กำพร้า-ผีน้อย

นิทานพื้นบ้านเรื่อง กำพร้า – ผีน้อย สะท้อนให้เห็นการดำเนินชีวิตของเด็กกำพร้า ที่ต้องพบเจออุปสรรคในชีวิต และต้องอาศัยชีวิตด้วยอาชีพขอทาน แต่ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ขยันทำมาหากิน และด้วยบุญวาสนาจึงทำให้เขาได้มีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ นิทานเรื่องนี้มุ่งสอนให้คนทำความดี ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากที่เข้ามาในชีวิต สักวันหนึ่งเราจะต้องผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปให้ได้ โดยมีเนื้อเรื่องที่ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นใหม่ดังนี้

ณ เมืองหนึ่งมีเด็กน้อยคนหนึ่งกำพร้าพ่อและแม่ ได้เที่ยวขอทานเขากินอยู่ในเมืองจนโตเป็นหนุ่มวันหนึ่งได้เข้าไปขอทานที่หน้าวังของพระราชา เมื่อพระราชาเห็นกำพร้าจึงถูกพระราชาด่าว่า กำพร้า มึงก็เป็นคน ครบ ๓๒ ส่วน จะมาหาขอทานกินแบบนี้ไม่ได้ พระราชาจึงไล่กำพร้าออกจากเมือง แล้วให้เสนาอำมาตย์ เอาพร้า มีด จอบ ที่ขึ้นสนิม พร้อมกับ เมล็ด ถั่ว งา ข้าวเปลือก ให้กำพร้าไปทำนาทำไร่ ณ ป่านอกเมือง เมื่อเวลาที่ธัญญาหารงอกงามขึ้น สัตว์ต่าง ๆ มากิน ถึงแม้กำพร้าจะไล่อย่างไรก็ไม่ไหว กำพร้าไปเจอกับย่าจอมสวน กำพร้าจึงเล่าเรื่องให้ฟังถึงปัญหาที่ตนเจอมา เมื่อย่าจอมสวนรู้เช่นนั้น ก็เลยบอกกำพร้าว่ารออยู่นี้ก่อนย่าจะเอาของดีให้ ว่าแล้วย่าจอมสวนก็แอบไปหลังกองดินแล้วออกมาพร้อมกับเส้นไหม กำพร้าก็นำเส้นไหมไปดักได้สัตว์ต่าง ๆ เช่น เสือ เสือก็ยอมเป็นลูกน้อง โดยบอกว่าถ้ามีเรื่องเดือดร้อนจะมาช่วย ต่อมาจับได้อีเห็น อีเห็นก็ยอมเป็นลูกน้อง แม้กระทั่งพญาช้างสารก็ติดกับดักของกำพร้า ต่อมากำพร้าอยากได้ภรรยา พญาช้างรู้จึงได้มอบงาช้างให้ ขณะที่กำพร้าได้เอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ในงาช้างนั้นได้มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อพันงาอาศัยอยู่ นางได้ออกมาทำอาหารไว้รอท้าวกำพร้า วันนั้นกำพร้าออกไปทำสวนกลับมาก็เห็นอาหารต่าง ๆ เตรียมไว้พร้อม จึงคิดว่าพระราชาลอบให้คนเอาอาหารใส่ยาพิษมาให้ตนกิน กำพร้าก็เอาอาหารนั้นไปเททิ้ง วันต่อมากำพร้าก็ไปทำนาทำสวนกลับมาก็เจออาหารอีก กำพร้าก็เอาไปเททิ้งอีก ต่อมาวันที่สามกำพร้าแกล้งไปทำนาแต่ไปแอบอยู่ใกล้ๆกับละแวกกระท่อมเพื่อลอบดูว่าใครเอาอาหารมาให้ พอถึงเวลาปกติที่ตนจะกลับมาบ้าน นางพันงาก็ออกจากงามาจัดสำรับอาหารไว้รอ กำพร้าเห็นเช่นนั้นก็เลยแอบเข้าไปทุบงาช้าทิ้งเพื่อไม่ให้นางพันงากลับเข้าไปอีก นางจึงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาพระราชาส่งคนมาสอดแนมกำพร้า เสนาอำมาตย์เห็นถึงความสวยงามของนางพันงา จึงนำความไปถวายพระราชา พระราชารู้เช่นนั้นก็อยากเห็นตัวจริงจึงได้เดินทางไปที่กระท่อมกำพร้า เมื่อพระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นสิริโฉมนางพันงาก็รักใคร่จึงจะยึดเอาแต่ก็กลัวคนจะติเตียน จึงท้ากำพร้า พนันแข่งขันต่าง ๆ ถ้ากำพร้าแพ้จะยึดนางพันงามา แต่ถ้าพระองค์แพ้จะยอมยกเมืองให้ครึ่งหนึ่งฝ่ายพระมเหสีของพระราชาก็เตือนแล้วว่าไม่ควรทำเช่นนั้น พระราชาก็ไม่ยอมเปลี่ยนพระทัยจึงท้ากำพร้าแข่งเช่นเดิม

การแข่งขันนั้นคือ ชนควาย, ชนไก่, แข่งเรือ แต่ปรากฏว่าท้าวกำพร้าชนะทุกครั้ง เพราะในการชนควายนั้น เสือแปลงเป็นควายมาช่วยกำพร้า, ชนไก่นั้นอีเห็นแปลงเป็นไก่มาช่วย กัดไก่ของพระราชาตาย ก่อนการแข่งขันเรือนั้น พระราชาได้ท้าให้กำพร้ากินซากควายและไก่ที่ตายให้หมดภายในหนึ่งวัน กำพร้าก็เลยเรียกผีน้อยให้มาช่วยกินและให้เรียกเอาเหล่ากุมภัณฑ์ยักษ์ใหญ่มากินช่วย พระราชาก็แพ้อีตามเคย ต่อมาในการแข่งขันเรือนั้นพระยานาคราชมาเป็นเรือ เมื่อพายเรือไปถึงกลางน้ำจระเข้ก็หนุนเรือทำให้เรือพระราชาล่ม พระราชาและเสนาอำมาตย์ที่อยู่ในเรือตายทั้งหมด กำพร้าจึงได้ครองเมืองกับนางพันงาสืบต่อไป

(นอง ทำนุ, สัมภาษณ์: ๒๕๖๑)

จากนิทานเรื่องกำพร้าผีน้อย คุณค่าและประโยชน์ ที่แฝงอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นที่สุด ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำกล่าวนี้เห็นเห็นได้จากตัวละครเอก ฝ่ายธรรมมะ คือ กำพร้าผีน้อย ฝ่ายอธรรม คือพระราชา ผู้เป็นใหญ่ แต่ด้วยความมักมากในกามารมณ์ และมีความริษยากำพร้าอย่างหนัก ผลกรรมที่ทำจึงส่งผลให้ต้องสิ้นชีวิตในเหตุการณที่ไม่คาดคิดมาก่อน ดั่งเช่น ในภาษิตโบราณอีสาน มีผญาบทหนึ่งที่เกี่ยวกับการกระทำ “บาปอยู่นำผู้ทำ กรรมอยู่นำผู้สร้าง” ความหมายคือ สิ่งที่เราทำกับใครไว้ทั้งดี ทั้งชั่ว สิ่งเหล่านั้นจะส่งผลมาหาเราเอง เพราะกรรมย่อมอยู่กับผู้ที่สร้างมันขี้นมา เช่นเดียวกับพระราชาที่ผูกอาฆาตกำพร้าตั้งแต่อยู่ในเมือง เมื่อขับไล่ออกมาแล้วยังจะมาแย่งชิงภรรยาของกำพร้าอีก กรรมจึงสนองในการกระทำของพระราชาองค์นั้น

ปมขัดแย้งในเรื่องคือนางพันงา นางพันงาเป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม สิ่งนี้เองเป็นต้นเหตุแห่งเรื่องราวความขัดแย้ง ด้วยลักษณะที่สวยงามน่าชมของพันงา ทำให้พระราชาผู้มีที่สามารถเปรียบได้ว่าเป็น โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน เจ้าตัณหาคิดหาวิธีแย่งชิงนางพนงามเป็นของตน สิ่งที่แฝงในปมขัดแย้งนี้คือ การยึดติดสิ่งที่สวยงาม ความอยาก ความต้องการครอบครอง เป็นอกุศลกรรมทีแฝงอยู่ในตอนนี้ เพราะรูปลักษณ์อันสวยงามเป็นสิ่งต้องการของพระราชา สะท้อนเป็นคำสอนว่า ถ้าหากไม่สนใจ ไม่ยินดี ในสิ่งเหล่านี้ทุกปัญหาก็จะไม่เกิด นิทานข้างต้นสอดคล้องกับทฤษฎีคติชนวิทยาในการเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคล อันเกิดจากกฎเกณฑ์ทางสังคม (ศิราพร ณ ถลาง, ๒๕๕๒: ๓๓๕ ) จะเห็นชัดได้จาก การที่กำพร้าเรียกใช้สัตว์ป่าและผีน้อยมาช่วย ซึ่งในความเป็นจริงในการบังคับควบคุมสัตว์ป่าเป็นเรื่องที่ทำยาก ในตอนนี้อาจจะเป็นความรู้สึกที่ผู้เล่าได้แทรกเข้าไปเพื่อให้เห็นถึง คนดี มีคุณธรรมย่อมชนะทุกสิ่งที่เป็นสิ่งชั่วร้าย แม้นโหดร้ายเพียงใด คนดีก็ย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ สิ่งนี่เองที่ผู้เล่าได้แทรกไว้ให้ผู้ฟังได้ประพฤติปฏิบัติตาม

๒. เซียงเมี่ยง

นิทานพื้นบ้านเรื่อง เซียงเมี่ยงเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่ยืดยาวและซับซ้อนพอสมควร ในบ้างท้องถิ่น จะมีเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้เล่าจะตัดเอาเฉพาะบางตอน ไม่พูดตลอดเรื่อง ซึ่งจะแตกต่างจากนิทานเรื่องอื่น ๆ ที่จะมีการเล่าตั้งแต่เริ่มเรื่องปมปัญหาและตอนจบตามนิทานทั่วไป แต่สำหรับเซียงเมี่ยงจะเป็นการเล่าแบบสั้นๆ กระชับ อาจกล่าวได้ว่า เซียงเมี่ยงมีลักษณะคล้ายนิทานก้อม ในภาษาอิสาน “ก้อม” เเปลว่า สั้น หมายถึง นิทานที่มีขนาดสั้น เป็นเรื่องตลกขบขันเป็นส่วนใหญ่ดังเนื้อเรื่องต่อไปนี้

เซียงเมี่ยง เป็นคนฉลาดเฉลียว เจ้าเล่ห์ เจ้าความคิด ช่างพูด วันหนึ่งมีตาแก่คนหนึ่งต้องการทดสอบเซียงเมี่ยงว่ามันเก่งจริงรึเปล่า จึงได้ตดใส่กระบอกไม้ไผ่ เพื่อเอาไปให้เซียงเมี่ยงดม เมื่อไปถึงกลางทาง ก็เจอเข้ากับชายคนหนึ่งซึ่งแก่ไม่รู้ว่าคือเซียงเมี่ยง เซียงเมี่ยงจึงถามว่า

“ตา...ตา กระบอกอะไรหรือนั้น”แกก็ตอบว่า

“กระบอกตดจะเอาไปให้เซียงเมี่ยงดมเขาว่ามันฉลาดเกินบ้านเกินเมือง” ฝ่ายเซียงเมี่ยงรู้อย่างนั้นจึงพูดไปว่า

“ตาไม่ใช่มันระเหยหมดแล้วกระมัง ได้กี่วันแล้ว” แกก็ตอบเซียงเมี่ยงว่า “๖-๗ วันนี้แหละ”เซียงเมี่ยงจึงยุให้ตาแก่คนนั้นดมตดตัวเอง เมื่อตาแกดมแล้วจึงรู้ว่าตดยังไม่ระเหย เซี่ยงเมี่ยงจึงบอกกล่าวว่า

“ข้านี้แหละเซียงเมี่ยง”

ต่อมาเซียงได้เข้าไปรับใช้ในวังเป็นผู้ที่มีความสามารถ ฉลาดในทุกสิ่งจนทำให้พระยาอิจฉา พระยาจึงให้เสนานำยาพิษ ใส่ในอาหารมาให้ทหารนำมาให้เซียงเมี่ยงกิน เซียงเมี่ยงนั้นรู้ว่าในอาหารนี้มียาพิษแน่นอน เพราะเอาอาหารวางไว้ไม่นานแมลงวันได้บินมาตอนแล้วก็ตาย เซียงเมี่ยงเลยตั้งใจจะกิน และแก้แค้นคืน โดยบอกกับภรรยาว่า หากข้าตายแล้วให้นำศพของข้านั่งบนเก้าอี้หันให้ประตูบ้านแล้วจัดท่าทางข้า ทำเหมือนข้ากำลังอ่านหนังสือ ภรรยารับคำทั้งน้ำตา ว่าแล้ว จุดจบของเซียงเมี่ยงคือ ยอมกินอาหารที่มียาพิษด้วยตนเอง แล้วก็จากโลกไป ท่านพระยาได้ให้ทหารมาสอดแนมว่าเซียงเมี่ยงตายหรือยัง ทหารนั้นเห็นลางๆว่าเซียงเมี่ยงกำลังนอนอ่านหนังสืออยู่ จึงแอบไปถามภรรยาเซียงเมี่ยงว่า

“เซียงเมี่ยงนั้นกินอาหารหรือยัง” ภรรยาตอบว่า

“กินจนหมดแล้ว” ทหารจึงไปบอกท่านพระยาว่า ยาพิษที่ใส่ลงไปคงเป็นยาอย่างอื่น ไม่ใช่ยาพิษแน่ เซียงเมี่ยงถึงไม่ตาย ว่าแล้วท่านพระยาและเหล่าทหารนั้นก็ได้พิสูจน์ยาพิษนั้น โดยการกินทุกคน สุดท้ายทุกคนก็ตายกันไปหมด

(ทองบ่อ บุญจริง, สัมภาษณ์: ๒๕๖๑)

จากนิทานเรื่อง เซียงเมี่ยง ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการใช้ไหวพริบปฏิภาน ในการเอาตัวรอด แต่หากมองในแง่มุมหนึ่งก็คือ การคิดแบบฉลาดแกมโกง เห็นได้จากตอนที่เซียงเมี่ยงกินยาพิษแล้วตาย ก่อนตายเซียงเมี่ยงไม่ยอมตายคนเดียวจึงได้ออกอุบายให้ทุกคนกินยาพิษแล้วตายตามกันไป ดั่งคำพูดที่ว่า คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด แต่ในทางกลับกัน เซี่ยงมี่ยงถือเป็นตัวปัญหาที่อยู่ในสังคม เพราะด้วยการที่มีความรู้ไหวพริบเยอะเกินกว่าคนทั่วไป ทำให้ใช้ความรู้ไปทางที่ไม่เหมาะสม ลักษณะเช่นนี้ ผญาภาษิตอีสานได้กล่าวด้วยว่า “หัวล้าน ลื่นครู”หมายถึงการทำงานเกินคำสั่งที่ตนได้รับ แล้วนำมาซึ่งผลเสียในอนาคต

ลักษณะนิสัยของเซียงเมี่ยงผู้เขียนคิดว่า น่าจะมีความขี้เกียจในตัวสูง เพราะด้วยความขี้เกียจสามารถทำให้คนเราคิดหาทางออกที่มันง่าย และขัดต่อความถูกต้อง ซึ่งจะเข้ากับ สำนวนอีสานที่ว่า “มักง่ายได้ยาก” แต่สำหรับเซียงเมี่ยง “มักง่าย”เซียงเมี่ยงเป็นคนทำ ทำแล้วได้ผล แต่คำว่า “ได้ยาก” คำนี้ต้องไปตกกับแพะที่มารับบาปแทน ไม่ว่าจะเป็นคนรอบข้างของเซียงเมี่ยงเอง

บทบาทของนิทาน เรื่องเซี่ยงเมี่ยง นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีบทบาทคติชนในการให้การศึกษาอบรมระเบียบสังคมและรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคม (ศิราพร ณ ถลาง, ๒๕๕๒: ๓๒๙ ) จะเห็นได้จาก ตัวละครเอกคือ เซียงเมี่ยงที่มีความฉลาดหลักแหลมเป็นที่หนึ่ง โดยผู้เล่าต้องการแฝงให้เด็กหรือคนที่ได้ฟังเรื่องเซียงเมี่ยงนี้ เกิดปัญญา ปฏิภาณไหวพริบเช่นเดียวกับเซียงเมี่ยง ซึ่งในอดีตนั้นการสั่งสอนอบรมกันเป็นเรื่องยาก สำหรับวิธีที่ดีในยุคนั้นคือการเล่าเรื่องหรือนิทานให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการคิดตามและกลายเป็นกรอบคุณธรรมในการปฏิบัติตนต่อสังคม

๓. นางนกกระจอก

นิทานเรื่องนางนกกระจอก สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องบุญกรรม คำอธิษฐาน จะเห็นได้จากนางนกกระจอกจะตายจากสามีของเธอไปแล้ว ในชาติต่อมาสามีและนางก็ได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน ดังเนื้อเรื่องต่อไปนี้

นานมาแล้วมีนกกระจอกสองตัวผัวเมีย อยู่หากินด้วยกันมานานจนมีลูกด้วยกันตัวหนึ่ง ตัวผู้จะเป็นฝ่ายออกไปหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัว วันหนึ่งพ่อนกกระจอกออกไปหาอาหารที่สระบัว มีดอกบัวกำลังบานอยู่มากมาย มันเกิดความหลงใหลในเกสรดอกบัวนั้นจึงเข้าไปชื่นชมเกสรดอกบัวใกล้ ๆ จนกระทั่งเย็นย่ำ ดอกบัวจึงหุบเป็นดอกตูมขังพ่อนกกระจอกให้อยู่ภายในในเวลาเดียวกันนั้นได้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น แม่นกกระจอกตกใจหนีตายโดยไม่สามารถช่วยลูกออกมาจากรังได้ จนกระทั่งรุ่งเช้าดอกบัวกลับบานอีกครั้ง พ่อนกกระจอกจึงรีบกลับรัง แต่ทั่วบริเวณนั้นถูกเผาผลาญด้วยไฟป่าไปเสียแล้ว พบเพียงเมียของมันยืนร้องไห้อยู่บนขอนไม้ที่ไหม้ไฟดำเป็นตอตะโก นางนกกระจอกเมื่อเห็นผัวกลับมาก็เกิดความโมโหต่อว่าเป็นเพราะพ่อนกไม่กลับรังจึงเป็นเหตุให้ลูกต้องตาย “หากเกิดชาติหน้าจะไม่ยอมพูดกับผู้ชายอีก” แล้วนางนกกระจอกก็กระโดดเข้ากองไฟตาย พ่อนกเสียใจมากจึงอธิษฐานว่าหากเกิดชาติหน้าขอเป็นเนื้อคู่กันอีก แล้วก็กระโดดเข้ากองไฟตายตามแม่นกกระจอกไป

นางนกกระจอกไปเกิดเป็นลูกสาวเจ้าเมืองแห่งหนึ่งชื่อนางจันทจร นางมีรูปร่างงดงามแต่ไม่ยอมพูดจากับผู้ชายเลย พ่อนกไปเกิดเป็นชายหนุ่มรูปงาม ลูกชายของเจ้าเมืองแห่งหนึ่ง มีนามว่าท้าววรกิตเมื่อโตเป็นหนุ่มได้ยินกิตติศัพท์ความงามของนางจันทจรจึงมาหา พระราชาบิดานางจันทจร ได้ป่าวร้องให้ผู้มีวิชาดีมารักษาโรคที่นางไม่ยอมพูดกับผู้ชาย ชายใดสามารถทำให้นางพูดด้วย จะยกนางให้อภิเษกเป็นคู่ครอง

ท้าววรกิตไปเรียนวิชาถอดจิตกับพระอาจารย์และไปอาสาพูดกับนาง ท้าววรกิตได้ถอดจิตไปไว้กับหมอนกับเครื่องใช้ต่างๆ ทำให้เครื่องใช้นั้นๆ พูดได้ และเล่านิทานให้หมอนฟังเป็นนิทานโจมตีให้ร้ายผู้หญิง แต่นางไม่ยอมพูดด้วย ในที่สุดได้เล่าเรื่องนกกระจอกแต่ตอนจบแกล้งเล่าให้ผิดว่านกตัวเมียไม่ยอมรักษาสัญญาบินหนีก่อน ปล่อยให้นกตัวผู้ตายกับลูกในกองไฟ นางจันทจรโกรธจึงได้แย้งว่า “ไม่จริง”กษัตริย์ก็เลยให้ทหารตีฆ้องร้องป่าวว่านางพูดได้แล้ว บิดาจึงจัดงานอภิเษกให้ท้าววรกิตกับนางจันทจรตครองเมืองตามสัญญา

(สมร ทุมนาค, สัมภาษณ์: ๒๕๖๑)

จากนิทานเรื่องนางนกกระจอก สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงในคำสัญญา เห็นได้จากถึงแม้นางนกกระจอกจะตายจากสามีของเธอไปแล้ว ในชาติต่อมาสามีและนางก็ได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกันเช่นเดิมดั่งที่ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะไม่ทิ้งนางไปไหน และอีกมุมหนึ่งสะท้อนถึงการเห็นแก่ตัวของสัตว์ ซึ่งเป็นตามสัญชาตญานของสรรพสิ่งที่เมื่อเกิดมีภัยใกล้ตัวจำต้องพาตัวเองหนีเพื่อความอยู่รอดของชีวิตตน

คำสัญญาในเรื่องนางนกกระจอกนี้เป็นปมสำคัญที่ทำให้เกิดมีท้าววรจิตกับนางจันทจรผู้ซึ่งอดีตชาติเป็นพ่อและแม่นกกระจอก เมื่อมาเป็นท้าววรจิตแล้ว เมื่อรู้ว่านางจันทจรไม่ยอมพูดกับผู้ชายคนไหน ท้าววรจิตจึงได้นำนิทานเรื่องอดีตชาติของตนมาพูดกับหมอน โดยปรับเนื้อเรื่องให้ฝ่ายพ่อเป็นตัวโดนไฟเผาตายไปพร้อมกับลูกนกกระจอก สิ่งนี้เองเป็นแรงกระตุ้นให้จิตสำนึกที่ฝังใจนางมาตั้งแต่อดีตชาติ ทำให้นางพูดแย้งมาทันที ทำให้นางได้แต่งงานกับท้าวรจิตดังเดิม

สิ่งที่แฝงในตอนนี้คือ การไม่พูดจากับชายใดของนางจันทจร เป็นธรรมเนียมของผู้หญิงสังคมอีสานในอดีต นางจันทจรนี้เป็นตัวอย่างของผู้หญิงในอดีตที่ไม่กล้าพูดหับชายหนุ่มที่มาเกี้ยวตัว การเกี้ยวพาราสีกันของหนุ่มสาวในสมัยโบราณคือการที่ฝ่ายชายจะเป็นคนเกี้ยวก่อน ฝ่ายหญิงหากปลงใจกับชายใดก็จะตอบแก้กลอนเกี้ยวของฝ่ายชาย ตอนนี้จึงสะท้อนภาพสังคมอีสานในอดีตอย่างเด่นชัด

บทบาทของนิทานเรื่องนี้คือ การให้การศึกษาอบรมระเบียบสังคมและรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคมแฝงอยู่ โดยในตอนท้ายเรื่องเป็นการแสดงไหวพริบของท้าวรจิตในการพูดอ้อมล้อมให้นางเอกยอมเผยปากออกมา ลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา

นอกจากนี้นิทานเรื่องนี้ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการหุบและการบานดอกบัวอีกด้วย ดอกบัวส่วนมากมักหุบในตอนกลางคืนและบานในตอนกลางวันเมื่อนกกระจอกตัวผู้บินมาคลุกเคล้าเกสรดอกบัว จนถูกขังภายในแล้วบินกลับไปหาตัวเมีย แต่ไม่ทันการเพราะรังถูกไฟป่าเผาไหม้จนหมดสิ้น

๔. หมูกับหมา

นิทานเรื่องนี้เป็นนิทานลักษณะอธิบายเหตุพฤติกรรมสัตว์ว่าทำไมหมูถึงกินรำ หมาถึงกินข้าว เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรการชุบมือเปิบได้อย่างชัดเจน

กาลครั้งหนึ่ง มีชาวนาครอบครัวหนึ่งเลี้ยงหมูและหมาไว้ที่บ้าน ครอบครัวชาวนาให้หมูและหมาไปไถนา โดยให้หมาตะกุยตะกายดิน หมูก็ให้มันคุ้ยดินให้ร่วน พอไปถึงนา หมูเริ่มคุ้ยดิน หมานอนอยู่เฉย ๆ ไม่ช่วยทำอะไรเลย หมูมันก็เริ่มคุ้ยดินจนเสร็จ ส่วนหมาวิ่งหยอกกันไปมาอย่างสบายใจ ในที่สุดบริเวณที่นาที่หมูคุ้ยนั้นไม่มีรอยเท้าของหมูเลยเป็นร่องรอยเลย เห็นแต่รอบเท้าของหมา เพราะหมูคุ้ยดินก่อนหมาวิ่งเล่นทีหลังทำให้ลบรอยเท้าหมูจนหมดสิ้น คงเห็นแต่รอยเท้าหมาอย่างชัดเจนเต็มท้องนา

เมื่อหมูคุ้ยดินเสร็จและ หมาก็วิ่งเล่นจนเหนื่อยแล้วจึงพากันกลับบ้าน หมาได้บอกเจ้าของบ้านว่า

“หมู ไม่ได้ช่วยไถช่วยคุ้ยดินเลย ข้าเป็นผู้คุ้ยดินเอง หมูเอาแต่นอนเล่น ถ้าไม่เชื่อลองไปดูที่คุ้ยเสร็จแล้วสิ จะไม่เห็นรอยเท้าหมูสักนิด มีแต่รอบเท้าของข้าทั้งหมด”

ชาวนานั้น เมื่อรู้ดังนั้นจึงออกไปดูที่นา เห็นแต่รอบเท้าหมาจริงเหมือนที่หมาบอก เมื่อไปเห็นดังนั้นจึงเชื่อว่าหมาสู้งานหนักจริง ๆด้วยความเชื่อ เช่นนั้น ชาวนาคนนั้นจึงไม่ยอมเลี้ยงหมูด้วยข้าวสุกและก็บ่นว่า

“หมู นะหมูต่อไปเอ็งไม่ต้องกินข้าวสุกแล้ว ข้าจะให้เอ็งกินแต่รำ และข้าจะให้ข้าวสุกแก่หมาเท่านั้น”

ด้วยเหตุนี้เองหมูจึงต้องกินรำ มาจนถึงทุกวันนี้

(สมร ทุมนาค, สัมภาษณ์: ๒๕๖๑)

คำสอนที่แฝงอยู่หากพิจารณาในลึกซึ้งคืออย่าไว้ใจคนใกล้ตัว เพราะคนใกล้ตัวอาจสร้างปัญหาให้เราได้ดั่งเช่น หมาที่มารอชุบมือเปิบ เพื่อเอาหน้าเจ้านายเป็นสิ่งที่พบมากในปัจจุบัน ดังคำสอนของคนอีสานว่า “หมูดุดสิตาย หมามาหย่ำ”

นิทานเรื่องหมูกับหมานี้ มีบทบาทในการอธิบายต้นกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรม (ศิราพร ณ ถลาง, ๒๕๕๒ : ๓๒๑) เห็นได้จากผู้เล่าได้อธิบายถึงเหตุที่หมูต้องมากินรำ ส่วนหมาทำอย่างไรจึงได้กินข้าว เรื่องนี้แทรกเอาไว้เป็นบทอธิบายลักษณะของสัตว์ในเรื่องให้สัมพันธ์กับสิ่งที่ตนมองเห็น

๕. เรื่องทำนายคน

เรื่องทำนายคนเป็นลักษณะการทำนายผู้หญิง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โสกแม่หญิง หรือ โฉลกผู้หญิงวิธีการคือ ให้คืบเจ็ดคืบ แล้วให้เอาไม้คืบมาแถก(เทียบ) แถกแล้วนับ แม่หญิง แม่ยัง แม่กระถางหม้อใหญ่ แม่ไต่ความผัว แม่ขวม(ข้าม) ครัวลงล่าง แม่ย่าง (เดิน) ตีนเหาะ แม่สอพลอสับส่อ แม่ทุกข์ขมอด( ตลอด )จนตาย หากตกอันไหนให้ทายตามนั้น

แม่หญิง นี้ดี

แม่ยัง ไม่ดี คือ ลักษณะ หากเขาถามอะไรก็ตอบแต่ว่ายัง

แม่กระถางหม้อใหญ่ คือเป็นศรีเรือนรู้จักทำหม้อข้าวหม้อแกง ดีอยู่

แม่ไต่ความผัว ลักษณะนี้ไม่ดี เพราะเป็นอาการของผู้หญิงคอยพูดส่อเสียดสามีตน

แม่ขวมครัวลงล่าง ลักษณะไม่ดี คือ มีทีท่าหาทางหนีออกไปเล่นนอกบ้านตนหน้าที่ไม่ยอมทำ

แม่ย่างตีนเหาะ ลักษณะดีคือ การค่อยๆเป็นค่อยไป

แม่สอพลอสับส่อ ลักษณะไม่ดี เป็นคนที่ชอบสอพลอ สร้างปัญหาให้ครอบครัว

แม่ทุกข์ขมอดจนตาย ลักษณะไม่ดี หมายถึง ทุกข์จนวันตาย

(ทองบ่อ บุญจริง, สัมภาษณ์: ๒๕๖๑)

ลักษณะการทำนายผู้หญิงของคนโบราณนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของครอบครัวให้ราบรื่นได้ด้วยดี แต่หากพิจารณาในทางคติชนวิทยา การเลือกผู้หญิงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อย เพราะในอดีตเปรียบผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นผู้ที่ต้องดูแลครอบครัวดูแลบ้านความเรียบร้อยต่าง ๆ เพราะผู้ชายต้องออกไปทำงานเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวให้อยู่ดีมีสุข ถ้าหากผู้หญิงที่เลือกมาไม่เหมาะสมจะเป็นช้างเท้าหลัง ครอบครัวอาจถึงขั้นแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เพราะขาดผู้ที่ดูแลอย่างเข้มแข็งและฉลาด ในการปกครองเรือนในเรื่องการบ้านการเรือน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีบทบาทคติชนในการอธิบายต้นกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรม (ศิราพร ณ ถลาง, ๒๕๕๒ : ๓๒๑) นิทานเรื่องนี้น่าจะเป็นนิทานในการประกอบพิธีกรรมพิธีใดพิธีหนึ่ง เพราะเป็นลักษณะการทำนายคน ซึ่งขึ้นว่าการทำนายย่อมเกี่ยวของกับพิธีกรรมทั้งนั้น เมื่อมีพีกรรม ก็จึงเกิดมีนิทานประกอบให้เป็นแม่แบบในการปฏิบัติ

นิทานพื้นบ้านที่ผู้เขียนเรียบเรียงดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาความสามารถของปราชญ์ในอดีตด้านภาษาและวรรณกรรม วัตถุประสงค์หลักของการเล่านนิทานพื้นบ้านเพื่อใช้อบรมสั่งสอนลูกหลาน นอกจากนี้แล้วนิทานพื้นยังแสดงความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ในสังคม เช่น หากไม่มีนิทานใครจะไปรู้ว่าบาปบุญมีลักษณะอย่างไร อะไรที่แสดงให้เห็นถึงผลการกระทำ เมื่อมีประเพณีก็ต้องมีนิทานมาอธิบายว่าทำไมถึงเกิดประเพณี เป็นต้น สิ่งนี้เองที่ทำให้นิทานพื้นบ้านยังอยู่คู่กับสังคมชาวอีสานและสังคมไทย และถ้าหากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ต่อไปเรื่องราวเหล่านี้ก็จะกลายเป็นว่า เคยมีแต่หายไปจากสังคมของเราแล้วดังนั้นในฐานะที่เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จงช่วยกันรักษาและถ่ายทอดเรื่องราวของนิทานพื้นบ้าน ซึ่งนับว่าเป็นมรดกทางภูมิปัญญาให้อยู่คู่กับสังคมตลอดไป

บรรณานุกรม

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๔๑) แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา.

กรุงเทพฯ: สำนักงานการศึกษาแห่งชาติ. ทองบ่อ บุญจริง.(๒๕๖๑). สัมภาษณ์: ๒๓ ตุลาคม.

นอง ทำนุ.(๒๕๖๑). สัมภาษณ์: ๒๓ ตุลาคม .

ศิราพร ณ ถลาง (๒๕๕๒). ทฤษฎีคติชนวิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมร ทุมนาค.(๒๕๖๑). สัมภาษณ์: ๑๗ พฤศจิกายน.

โพสต์โดย piz : [19 ก.ย. 2566 เวลา 17:10 น.]
อ่าน [1885] ไอพี : 119.42.78.19
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 44,198 ครั้ง
วิกฤต... "บัณฑิตแห่ตกงาน" อีกหนึ่งความล้มเหลว... อุดมศึกษาไทย
วิกฤต... "บัณฑิตแห่ตกงาน" อีกหนึ่งความล้มเหลว... อุดมศึกษาไทย

เปิดอ่าน 16,914 ครั้ง
ความแตกต่างระหว่าง http:// กับ https://
ความแตกต่างระหว่าง http:// กับ https://

เปิดอ่าน 29,979 ครั้ง
เคล็ดลับการทอดไข่ดาวให้ฟองใหญ่น่ากิน
เคล็ดลับการทอดไข่ดาวให้ฟองใหญ่น่ากิน

เปิดอ่าน 16,336 ครั้ง
จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง
จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง

เปิดอ่าน 10,258 ครั้ง
คลิปน่ารัก เด็กชายวัย4ขวบร้องเพลงแบบอินสุดๆ
คลิปน่ารัก เด็กชายวัย4ขวบร้องเพลงแบบอินสุดๆ

เปิดอ่าน 26,459 ครั้ง
เคล็ดลับสำหรับบ้านไม้ ทำอย่างไรให้ไร้ปลวก
เคล็ดลับสำหรับบ้านไม้ ทำอย่างไรให้ไร้ปลวก

เปิดอ่าน 30,017 ครั้ง
การคูณด้วยไม้ตะเกียบแบบบูรณาการ (ชมคลิป)
การคูณด้วยไม้ตะเกียบแบบบูรณาการ (ชมคลิป)

เปิดอ่าน 172,423 ครั้ง
ดนตรีไทย
ดนตรีไทย

เปิดอ่าน 10,560 ครั้ง
ปรับโฉมคนทำงาน ด้วยความสามารถด้านการเชื่อมต่อและระบบอัจฉริยะในยุคดิจิทัล
ปรับโฉมคนทำงาน ด้วยความสามารถด้านการเชื่อมต่อและระบบอัจฉริยะในยุคดิจิทัล

เปิดอ่าน 14,739 ครั้ง
ไปรษณีย์ไทย เเจ้ง ส่งไปรษณีย์ต้องแสดงบัตรประชาชน เริ่ม 8เม.ย.นี้
ไปรษณีย์ไทย เเจ้ง ส่งไปรษณีย์ต้องแสดงบัตรประชาชน เริ่ม 8เม.ย.นี้

เปิดอ่าน 20,634 ครั้ง
จิตรกรรม
จิตรกรรม

เปิดอ่าน 15,266 ครั้ง
เกินบรรยาย! คลิปสุนัขปลอบโยนหนูน้อยพิการ ซึ้งจนต้องหลั่งน้ำตา
เกินบรรยาย! คลิปสุนัขปลอบโยนหนูน้อยพิการ ซึ้งจนต้องหลั่งน้ำตา

เปิดอ่าน 21,057 ครั้ง
สื่อดังระดับโลกแห่ยกย่อง "โน้ต วีรฉัตร" ตีกลองกับภาพวาดกำแพง คนต่างชาติทึ่งความสามารถศิลปินไทย
สื่อดังระดับโลกแห่ยกย่อง "โน้ต วีรฉัตร" ตีกลองกับภาพวาดกำแพง คนต่างชาติทึ่งความสามารถศิลปินไทย

เปิดอ่าน 82,950 ครั้ง
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)

เปิดอ่าน 38,516 ครั้ง
คลิปสุดฮา!! "สักยันต์อาจารย์นก" ใครไม่ตั้งใจเรียนต้องโดน ฉึกๆๆ
คลิปสุดฮา!! "สักยันต์อาจารย์นก" ใครไม่ตั้งใจเรียนต้องโดน ฉึกๆๆ

เปิดอ่าน 1,753 ครั้ง
ลมบกและลมทะเล
ลมบกและลมทะเล
เปิดอ่าน 105,163 ครั้ง
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
เปิดอ่าน 7,597 ครั้ง
สาธิตการเติมสันจมูกให้ได้รูป
สาธิตการเติมสันจมูกให้ได้รูป
เปิดอ่าน 118,599 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
เปิดอ่าน 7,837 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ