เรื่องที่ศึกษา : รายงานผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้รายงาน : นางยุพิน เอี่ยมสุวรรณ
หน่วยงาน : โรงเรียนอนุบาลชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
ปีที่ศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์
ประชากร คือ เด็กชาย หญิง อายุระหว่าง 5 6 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 492 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กชาย หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 38 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 20 แผน แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (¯X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่นของ Kuder Richardson (KR 20) และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่า t test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษา พบว่า แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีคุณภาพระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (X- = 4.72, S.D. = 0.38) และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01