บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุงที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 29 คนเป็นการเลือกแบบเจาะจงเนื่องจากผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนเด็กชั้นนี้ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3จำนวน 16 เรื่อง บรรจุลงในแผ่นดีวีดี จำนวน 1 แผ่น แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 64 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 4 ฉบับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กด้านมีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ พบว่า เด็กมีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ สูงขึ้นเป็นลำดับ คือสังเกตก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีพฤติกรรมด้านมีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 41.90 สัปดาห์ที่ 1 เป็นร้อยละ 57.38 สัปดาห์ที่ 5 ร้อยละ 81.19 สัปดาห์ที่ 9 ร้อยละ 87.07สัปดาห์ที่ 13 ร้อยละ 93.57 และการสังเกตหลังการจัดกิจกรรม ร้อยละ 91.90 และพฤติกรรมที่ปรากฏสูงที่สุด คือ การรู้จักเข้าแถวตามลำดับก่อนหลัง
2. พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กด้านมีความซื่อสัตย์สุจริตและยอมรับความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่นพบว่า เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริตและยอมรับความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ คือ การสังเกตก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตและยอมรับความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่นโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 38.99 สัปดาห์ที่ 2 ร้อยละ 61.61 สัปดาห์ที่ 6 ร้อยละ 81.25สัปดาห์ที่ 10 ร้อยละ 85.96 สัปดาห์ที่ 14 ร้อยละ 92.26 และสังเกตหลังการจัดกิจกรรมเด็กร้อยละ 91.96 และพฤติกรรมที่ปรากฏสูงที่สุด คือ การไม่หยิบของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
3.พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กด้านมีความเมตตากรุณาและช่วยเหลือแบ่งปัน พบว่า เด็กมีความเมตตากรุณาและช่วยเหลือแบ่งปันเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ คือ การสังเกตก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีพฤติกรรมโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 36.61 สัปดาห์ที่ 3 ร้อยละ 62.50 สัปดาห์ที่ 7 ร้อยละ 70.83 สัปดาห์ที่ 11 ร้อยละ 89.29 สัปดาห์ที่ 15 ร้อยละ 94.94 และการสังเกตหลังการจัดกิจกรรมร้อยละ 94.94 และพฤติกรรมที่ปรากฏสูงที่สุด คือ การไม่แย่งชิงสิ่งของจากเพื่อน
4.พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กด้านการรู้จักประหยัด พบว่า เด็กมีการรู้จักประหยัดเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ คือ การสังเกตก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีพฤติกรรมโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 36.15 สัปดาห์ที่ 4 ร้อยละ 64.11สัปดาห์ที่ 8 ร้อยละ 71.70 สัปดาห์ที่ 12 ร้อยละ 81.45 สัปดาห์ที่ 16 ร้อยละ 89.44 และการสังเกตหลังการจัดกิจกรรมร้อยละ 95.07และพฤติกรรมที่ปรากฏสูงที่สุด คือ การรู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด
บทนำ
วัยเด็กเป็นวัยพื้นฐานแห่งชีวิตซึ่งจะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูเป็นอย่างดีตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด เพราะเป็นวัยที่ร่างกายและสมองกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดีและถูกต้องตามหลักการต่าง ๆ เด็กจะมีการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ การเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย สังคม อารมณ์จิตใจ และสติปัญญา จึงมีความสำคัญดังที่นักจิตวิทยาการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญในช่วง 6 ปีแรกของชีวิตว่าเป็นช่วงที่พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วจึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดต่อการวางรากฐานของการพัฒนาทุกด้านให้กับเด็กอย่างมั่นคงและถูกต้อง เพราะเด็กวัยนี้ง่ายต่อการปลูกฝังพฤติกรรม และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ดังที่บลูม (Bloom) กล่าวว่า พัฒนาการของเด็กจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ50 เมื่ออายุ 4 ปี และพัฒนาเป็นร้อยละ 80 เมื่ออายุ 4 - 8 ปี และเพียเจต์ (Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กที่เกิดในช่วงปฐมวัยนี้ จะเป็นรากฐานของพัฒนาการในระดับต่อไป ซึ่งจะเห็นว่าเด็กปฐมวัยควรจะได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นด้วยกิจกรรมที่สามารถสร้างเสริมพัฒนาการในทุกด้าน
การพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดไว้ที่มาตรฐานที่ 4 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม (อารมณ์- จิตใจ) ตัวบ่งชี้ที่ 1 มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบตัวบ่งชี้ที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริตและยอมรับความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น ตัวบ่งชี้ที่ 3 มีความเมตตากรุณาและช่วยเหลือแบ่งปัน และตัวบ่งชี้ที่ 4รู้จักประหยัด โดยมุ่งพัฒนาพัฒนาการของเด็กโดยองค์รวมให้ประสานสัมพันธ์กันทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และด้านสติปัญญา ช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของและบุคคลต่างๆที่อยู่รอบตัว เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ง่ายต่อการปลูกฝังพฤติกรรม และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีคุณธรรมจริยธรรมด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย การมีคุณธรรมที่พึงประสงค์เปรียบได้กับการสร้างเกราะป้องกันอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้กระทำผิดทางสังคมและสร้างความมั่นใจให้กับเด็กว่าได้ประพฤติดี และที่สำคัญสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของพ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคคลในครอบครัวจะต้องอบรมปลูกฝังให้แก่เด็กตั้งแต่วัยเยาว์ และเมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่ระบบโรงเรียนแล้วเด็กจะได้รับการปลูกฝังในรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นจากครู การได้รับประสบการณ์ตรงจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน การได้พูดคุยสนทนา การเล่น หรือการทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันเป็นประสบการณ์ที่เด็กสามารถซึมซับและเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
การจัดกิจกรรมการเล่านิทานแก่เด็กปฐมวัย ควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นสื่อรูปธรรมที่มีผู้นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยมากอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นสื่อนั้นช่วยส่งเสริมความสามารถทางด้านต่าง ๆ แก่เด็กที่หลากหลายจากการพบเห็นสิ่งต่าง ๆ จากนิทานที่ประกอบด้วยตัวอักษรภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวดนตรี และเสียงบรรยาย เด็กปฐมวัยยังไม่สามารถเข้าใจในเรื่องที่เป็นนามธรรมได้ ต้องอาศัยสื่อที่เป็นรูปธรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจึงเป็นสื่อที่เหมาะสม ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของเด็กไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะมีความสนใจในการเรียนรู้จากภาพเคลื่อนไหวที่เห็นในรูปร่าง ลักษณะต่าง ๆ บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกพร้อม ๆ กันอย่างมีระบบ กล่าวคือ ในขณะที่ฟังเพื่อนพูดเด็กต้องใช้สมองซีกซ้ายและซีกขวาในการรับรู้ จินตนาการตามเรื่องที่ดูและฟัง และการมองเห็นภาพโดยรวมจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการด้านต่าง ๆ แก่เด็ก
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. หลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2546
ปรัชญาของการจัดการศึกษาปฐมวัย มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กแต่ละคนด้วยการอบรมเลี้ยงดู และให้การเรียนรู้ให้เต็มตามศักยภาพ ด้วยความรัก และความเอาใจใส่ เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพ หลักการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือ มุ่งการพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกประเภท โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็ก พัฒนาเด็กโดยองค์รวมเพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข โดยประสานความร่วมมือระหว่างทุกฝ่าย
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียหมายถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เป็นสื่อในการเรียนการสอนมีการผสมผสานสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันเช่นข้อความกราฟิกภาพเคลื่อนไหวเสียงวีดีทัศน์และระบบโต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อเร้าความสนใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น มัลติมีเดียสามารถใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลจากภายนอกผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ทำให้สามารถสื่อสารและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆได้
ทั่วโลกที่มีเครือข่ายไปถึงรูปแบบของการเรียนและสถานการณ์ของการเรียนที่เคยปิดอยู่เฉพาะ
ในห้องเรียนจะเปลี่ยนไปเป็นการเรียนแบบใหม่ที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นและ
ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็กในครั้งนี้ผู้วิจัย เลือกใช้โปรแกรม
การศึกษา (Education) โดยประยุกต์นิทานต่าง ๆ การนำเสนอเป็นนิทานมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
3. ทฤษฎีจิตวิทยาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
ทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) และทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory) เป็นต้น ทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้ข้างต้น อาจมีความแตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกันในประเด็นต่าง ๆ ดังนั้น การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนั้นผู้ออกแบบควรจะนำแนวคิดของทฤษฎีต่างๆมาผสมผสานกันเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเพียงทฤษฎีเดียวเพื่อให้ได้บทเรียนที่สามารถตอบสนองวิธีการเรียนของผู้เรียนที่แตกต่างกันและตอบสนองลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ของสาขาวิชาต่างๆที่แตกต่างกันนั่นเอง การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่ดีควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ การจดจำ การมีส่วนร่วมแรงจูงใจ การถ่ายโอนการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
4. การส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงาม
การส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของเด็กระดับปฐมวัยควรปลูกฝังให้เกิด
ในจิตใจของเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม และควรให้การสนับสนุนเสริมแรงเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม นอกจากนี้พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรมของเด็กระดับปฐมวัยยังเกี่ยวข้องกับระดับพัฒนาการและการคิด ดังนั้นครูควรได้จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติและให้เห็นตัวแบบที่ดีหรืออาจใช้นิทานที่จำลองสถานการณ์ของการมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี บูรณาการหรือสอดแทรกเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และซึมซับในจิตใจส่งผลให้เด็กเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามต่อไปในอนาคต
5. การจัดกิจกรรมการเล่านิทาน
รูปแบบของการเล่านิทานสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การเล่านิทานแบบไม่ใช้สื่อประกอบและการเล่านิทานแบบการใช้สื่อประกอบ การเล่านิทานแบบไม่ใช้สื่อประกอบ เช่น การเล่านิทานปากเปล่า การเล่านิทานประกอบท่าทาง ส่วนการเล่านิทานแบบการใช้สื่อประกอบ เช่น การเล่านิทานประกอบภาพ การเล่านิทานประกอบเสียง และการเล่านิทานประกอบอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ วิธีการเล่านิทานที่ดีและเหมาะสม จะช่วยให้เด็กเกิดความสบายใจ มีความรู้สึกเป็นอิสระทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เกิดเจตคติที่ดี นอกจากนี้วิธีการเล่านิทานไม่ควรซ้ำซากและจำเจ พยายามแสวงหาวิธีการต่าง ๆ ในการเล่านิทานให้น่าสนใจ เพื่อให้การเล่านิทานมีประสิทธิภาพมาก
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ขั้นตอนการพัฒนาหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปได้เป็น 4 ขั้นตอนคือ
1.1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนการผลิตหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
1.2 การออกแบบหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังจากที่ได้ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรเนื้อหาและผู้เรียนและได้กำหนดวัตถุประสงค์รวมทั้งกิจกรรมการเรียนแล้วจึงนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โยเขียนเป็นสตอรี่บอร์ด
1.3 การสร้างหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการแปลงสตอรี่บอร์ดให้เป็นหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่จะสามารถนาไปใช้ได้จริง
1.4 การประเมินและแก้ไขหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยทำการประเมิน 2 ระยะคือ ประเมินระหว่างการสร้างหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และการประเมินผลการนำไปไช้เพื่อสรุปรวบยอด โดยการนำหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่จัดทำไว้ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ 80/80 จำนวน 3 ครั้ง ผลการประเมินพบว่าหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.64/82.62
2. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามขั้นตอน ดังนี้
2.1 การจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 กับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุง จำนวน 29 คน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยตนเอง
2.2 ทำการสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็ก ก่อนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน 1 สัปดาห์ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจ
ที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
2.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้เวลา 14 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 20 นาที
2.4 ทำการสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็ก ประจำ
แต่ละสัปดาห์ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็ก
ชั้นอนุบาลปีที่ 3
2.5 เมื่อจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ครบทั้ง 16 สัปดาห์แล้ว
ทำการสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน 1 สัปดาห์ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
สรุปผล และข้อเสนอแนะ
1. สรุปผล
2.1 สรุปผลของผู้เชี่ยวชาญ
ผลการประเมินหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า รูปภาพ ตัวอักษร และการใช้ภาษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านภาพและเสียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ด้านตัวอักษรและสี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ด้านการออกแบบและพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก
และคุณภาพของหนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
2.2 การจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตบำรุงพบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อแสนอแนะสำหรับการนำผลการศึกษาไปใช้
1.1 การจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3ของผู้วิจัยในครั้งนี้ พบว่า ในระยะแรกเด็กส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะร่วมกิจกรรมเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้าช่วย เด็กส่วนใหญ่ยังตื่นเต้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แต่เมื่อหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมไปแล้ว 1 - 2 สัปดาห์ เด็กจึงเริ่มคุ้นชินและปรับตัวได้ดีขึ้น
1.2 จากการสังเกตพบว่า ในสัปดาห์แรก ๆ เด็กยังไม่ค่อยกล้าตอบคำถามหรือสนทนาเพื่อแสดงความคิดเห็น ครูจึงกระตุ้นเด็กทุกคนให้กล้าแสดงออก โดยอาจให้การเสริมแรงด้วยการชมเชย หรือให้รางวัลแก่เด็กกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เพื่อกระตุ้นเด็กคนอื่น ๆ ให้มีความกล้าที่จะแสดงออกบ้าง
1.3 ในขณะจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงามของเด็กด้านใดด้านหนึ่ง ครูสามารถสอดแทรกคุณธรรมด้านอื่น ๆแก่เด็กด้วย และถ้าหากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ครูต้องรีบให้คำแนะนำเพื่อการแก้ไขโดยทันท่วงที
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงามแก่เด็กในด้านอื่น ๆ เช่น ความประหยัดและออม ความกตัญญูกตเวที และด้วยวิธีการหรือ
สื่ออื่น ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การใช้หุ่นต่าง ๆ
2.2 ควรมีการศึกษาความคงทนของพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจ
ที่ดีงามของเด็กหลังจากการจัดกิจกรรมไปแล้วสักระยะเวลาหนึ่ง