บทคัดย่อ
ชื่อรายงาน การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร
ชื่อผู้รายงาน นายสุภัทรพงศ์ รวงผึ้งรุ่งโรจน์
ปีที่รายงาน 2559
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย
โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วรรณคดีไทยของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร กับนักเรียนที่เรียนตามการสอนแบบปกติ (3) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร จังหวัดระยอง ที่มีต่อ
รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร จังหวัดระยอง
ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องละ 48 คน รวม 96 คน ได้มาจาก
ประชากรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ห้องเรียน รวม 299 คน โดยผู้ศึกษานำคะแนนที่ได้
จากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยจากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาหาค่าเฉลี่ย
แล้วทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้สถิติทดสอบ
F test (One way ANOVA) แล้วเลือกคู่ของค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกันมา 1 คู่ จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่าง
ที่ได้มาจับฉลากเพื่อกำหนดกลุ่มทดลองสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร และกลุ่มควบคุมที่สอนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาประกอบด้วยรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง
วิทยสถาวร โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ฝึกฝนตั้งคำถาม ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นที่ 3 ก้าวไกลเกิดประสบการณ์ ขั้นที่ 4 สื่อสารและนำเสนอความรู้ ขั้นที่ 5 ควบคู่ให้บริการสังคม
และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยผ่านการตรวจสอบจากครูผู้เชี่ยวชาญ
และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t test) แบบ Dependent และ Independent
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ได้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยที่พัฒนาแล้ว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา- ปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ที่มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและ การประเมินผล โดยดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน โดยครูผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร อยู่ในระดับดีมาก
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่สอนโดยใช้
รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร กับการสอน
แบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้-
วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มากที่สุด