Advertisement
❝ เดือนตุลามาถึงอีกแล้ว สุขภาพหลังเกษียณเป็นสิ่งสำคัญ แต่ท่านมีความรู้เรื่องสุขภาพหลังเกษียณอายุมากแค่ไหน ถ้าท่านไม่มีความรู้เรื่องนี้ท่านอาจจะมีปัญหาปฎิบัติตัวไม่ถูก หรืออาจจะกลายเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อ เช่นโฆษณาขายยาอายุวัฒนะ ยาบำรุงสมอง ยานอนหลับ ยาสมุนไพร ฯลฯ ❞
Advertisement
ถ้าลองทดสอบข้อสอบข้างล่างนี้ดูท่านอาจจะมีความรู้ หรือสัมมาทิฐิเรื่องสุขภาพหลังเกษียณมากขึ้น ทำให้ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมากขึ้นก็เป็นได้
  
1. ถ้าร่างกายของท่านอยู่ในสภาพดี ท่านจะมีอายุยืน จริง หรือ ไม่ 
2. การที่น้ำหนักตัวลดลงเมื่ออายุสูงขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจทำเลย เป็นสิ่งที่ดี จริง หรือ ไม่
3. เมื่ออายุมากขึ้นท่านควรจะลดการออกกำลังกายลง เนื่องจากมันอาจจะทำให้ท่านบาดเจ็บมากขึ้น จริง หรือ ไม่
4. พันธุกรรมมีผลต่อสุขภาพของคุณมากกว่าการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร จริง หรือ ไม่
5. คนที่มีอายุมากขึ้นต้องการการหลับนอนน้อยลง จริง หรือ ไม่
6. เมื่อถึงวัยเกษียณ มันเป็นการสายเกินไปที่จะแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีเก่าๆ จริง หรือ ไม่
7. การอาสาทำงานเพื่อสาธารณะมีผลดีต่อตัวคุณเองและต่อผู้อื่น จริง หรือ ไม่
8. สมุนไพรเสริมสุขภาพ หรือยาอายุวัฒนะที่โฆษณาขายกันมีผลดี จริง หรือ ไม่
9. การงีบหลับตอนกลางวันเป็นสัญลักษณ์ของความชราและไม่ควรทำ จริง หรือ ไม่
10. ถ้าตอนหนุ่ม-สาวคุณไม่เคยมีปัญหาสุขภาพ ตอนชราคุณก็ไม่ต้องห่วงเรื่องสุขภาพ จริง หรือ ไม่
11. ถ้าท่านขี้ลืมชื่อคนหมายความว่าท่านเป็นโรคอัลไซเมอร์ จริง หรือ ไม่
อ่านคำถามทำข้อสอบแล้วลองดูเฉลยคำตอบและเหตุผลทางการแพทย์ซิว่าท่านมีความรู้หรือความไม่รู้มากแค่ไหน
ข้อ 1 ไม่จริง
เนื่อง จากการมีร่างกายในสภาพดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีสุขภาพจิตและอารมณ์ดีด้วย การมีร่างกายดีมันมีผลต่อสุขภาพแน่แต่ไม่ 100% คนเราจำเป็นต้องมีสุขภาพจิตดีโดยการเข้าสังคม ไม่ว่าจะสังคมในบ้าน ในหมู่บ้าน หรือในสังคมที่ใหญ่กว่านั้น คนเราต้องมีเพื่อนฝูง มีกัลยาณมิตรซึ่งจะคอยให้กำลังหรือห้ามใจเราในการประพฤติปฎิบัติให้อยู่ใน ศีลธรรม ไม่ออกนอกลู่นอกทางเที่ยวกินเหล้าเมายา หาเรื่องใส่ตัวตอนแก่ ออกกำลังกายเสมอ กินอาหารที่ถูกหลักอนามัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อต่ออารมณ์ ลดความเครียด
ข้อ 2 ไม่จริง
การที่น้ำหนักลดไปเฉยๆ โดยท่านไม่ได้ตั้งใจทำเป็นเรื่องที่ต้องระวัง ควรจะหาสาเหตุ ถ้าท่านกินอาหารปกติและออกกำลังกายเท่าเดิมก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดู ว่ามีเหตุผลทางการแพทย์หรือไม่ การผอมลงไม่จำเป็นต้องผอมมาก เช่น สูญเสียน้ำหนักตัวไปสัก 5% ก็ควรจะต้องปรึกษาแพทย์แล้วเพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า เช่น เป็นมะเร็งภายใน ปัญหาทางเดินอาหาร การกินหรือการกลืนอาหารผิดปกติ ปัญหาเรื่องฟันทำให้เคี้ยวไม่ได้ดี หรือปัญหาทางจิตใจ เช่น เป็นโรคซึมเศร้าเป็นต้น
ข้อ 3 ไม่จริง
การออกกำลังกายทุกวันหรือเกือบทุกวัน เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้อายุยืนขึ้น ทำให้ลดความซึมเศร้า ลดการพรุนของกระดูกทำให้กระดูกหักลดลง ลดมะเร็งบางชนิด สมองเสื่อมช้าลง ลดอัมพาตอัมพฤกษ์ เบาหวานน้อยลง การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของขาทำให้หกล้มน้อยลง การหกล้มของคนชราอาจมีความเสียหายต่อสุขภาพมาก ถ้าคุณไม่เคยออกกำลังกายเลยก็ควรจะเริ่มทำได้แล้ว เริ่มตั้งแต่การเดิน แล้วเพิ่มมากขึ้น ถ้าท่านไม่แน่ใจเพราะมีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคหัวใจก็ควรจะปรึกษาแพทย์ดูว่าท่านควรจะออกกำลังแบบไหนที่จะเหมาะสม กับท่าน
ข้อ 4 ไม่จริง
พันธุกรรมมีผลต่อความชราของท่านแค่ 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 3 เท่านั้น ที่เหลือเป็นผลมาจากการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม (เช่น อยู่ในที่อากาศดี) หรือ ความบังเอิญ (เช่น อยู่ในสังคมที่นิยมกินอาหารต้านโรคหัวใจ) เช่น ถ้ามีพันธุกรรมโรคหัวใจขาดเลือดในพ่อ ท่านก็อาจจะคิดว่าท่านจะเป็นด้วย แต่ท่านสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดได้โดยการควบคุมสิ่งอื่น เช่น การออกกำลังกาย การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ งดสูบบุหรี่ เอาใจใส่ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมเบาหวานให้ดี
ข้อ 5 ไม่จริง
ความต้องการการนอนของคนเราค่อนข้างจะมี เท่ากันตลอดอายุขัย ไม่ว่าจะแก่จะอ่อนวัยก็ต้องการเท่ากัน ส่วนมากต้องการราว 7 ถึง 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ความชราอาจจะทำให้ท่านนอนหลับตื้นลง คนอายุระหว่าง 50 ถึง 60 จะเริ่มมีการนอนหลับยากขึ้น จะเริ่มง่วงตอนหัวค่ำมากขึ้น และตื่นเช้าขึ้น
ข้อ 6 ไม่จริง
เรื่องสายเกินไปไม่มี ท่านสามารถเริ่มต้นสุขนิสัยดีๆ ได้ทุกเมื่อ เช่น การเลิกสูบบุหรี่จะได้โภชน์ผลอานิสงส์ทันที การไหลเวียนเลือดจะดีขึ้น ความดันเลือดลดลง ปอดของท่านก็ทำงานดีขึ้น ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สมองแจ่มใส ผิวพรรณสดใสมากขึ้น หลังจากที่หยุดสูบบุหรี่ได้ 1 ปีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อัมพาตอัมพฤกษ์ โรคปอด และมะเร็งลดลง และถ้าคุณน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักสัก 5-10% ของน้ำหนักตัวก็สามารถช่วยให้ลดความดันเลือด และ ลดเบาหวานได้
ข้อ 7 จริง
ถ้าท่านว่างงาน การอาสาช่วยงานสาธารณะในวัยเกษียณเป็นสิ่งดี ทำให้ได้สังคมกับมนุษย์คนอื่น ทำให้ชีวิตวันๆ ของท่านมีจุดมุ่งหมายไม่เคว้งคว้าง ในทางกลับกันสังคมจะได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น จากการศึกษาคนวัยเกษียณพบว่าคนที่มีใจให้คนอื่นเป็นคนที่มีสุขภาพดีกว่า ปรับตัวได้ดีกว่า มีความเหงาน้อยกว่าคนที่ไม่ยุ่งกับสังคม
ข้อ 8 ไม่จริง
ไม่มียาวิเศษที่ช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น อย่าทำตัวเป็นเหยื่อโฆษณายาอายุวัฒนะ สุขภาพดีอายุยืนมาจากการลงทุนทำตัวให้ดี มีสุขนิสัยที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินผักผลไม้เป็นประจำ ระวังคำโฆษณาที่ว่า “สมุนไพร” “ธรรมชาติ” ซึ่งไม่ได้หมายความว่า “ดีต่อสุขภาพ” เสมอไป สารธรรมชาติบางอย่างมีสารอันตรายปนอยู่ด้วย สมุนไพรบางตัวอาจจะมีสารที่ต้านฤทธิ์ของยาสำคัญที่ท่านกินอยู่เป็นประจำ ต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านเสียก่อน สำหรับสารต้านอนุมูลอิสระยังไม่มีที่เขาทำมาเป็นเม็ดขายแล้วได้ผลดี เคยมีแต่ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ
ข้อ 9 ไม่จริง
การนอนที่เพียงพอมีความสำคัญต่อสุขภาพ ร่างกายของคนเราต้องการการนอนเพื่อฟื้นความสดชื่น การงีบหลับตอนกลางวันจะช่วยเติมเต็มความขาดตกบกพร่องของการนอนหลับที่ไม่ลึก ในตอนกลางคืนสำหรับคนสูงอายุ คนสูงวัยมักจะง่วงในตอนกลางวันเนื่องจากขาดการนอนดังกล่าว แต่ไม่ควรงีบหลับตอนกลางวันมากเกินไปจะมีผลเสียต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน แต่คนที่ง่วงมากๆ ในตอนกลางวันต้องระวัง ถ้าง่วงมากจนผล็อยหลับคาพวงมาลัย หรือนั่งรอรถเมล์แล้วหลับคาป้าย แบบนี้อาจจะเป็นเพราะมีความผิดปกติในการนอนในตอนกลางคืน เช่น เป็นโรคหยุดหายใจตอนนอนหลับ (sleep apnea) มีการหลับๆ ตื่นๆ เป็นพักๆ ตลอดคืน โรคแบบนี้ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเยียวยารักษา อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
ข้อ 10 ไม่จริง
ส่วนมากความเสี่ยงต่อโรคของท่านขึ้น อยู่กับสุขนิสัยของท่าน แต่โดยทั่วไปเมื่อเราอายุมากขึ้นความต้านทานโรคของเราจะลดลงทำให้ติดเชื้อ ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าท่านจะไม่ค่อยเป็นโรคอะไรในชีวิตแต่ก็ไม่ควรประมาท คนแก่บางคนมาบอกหมอด้วยความภูมิใจว่าไม่เคยเป็นอะไรมาก่อน ไม่เคยตรวจโรคเลย พอหมอทำการตรวจก็พบโรคต่างๆ มากมาย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ปอดเป็นจุดวัณโรค มะเร็งผิวหนัง ฯลฯ ซึ่งในระยะเริ่มแรกอาจจะไม่มีอาการ ท่านผู้สูงวัยควรจะไปให้หมอตรวจเช็คสุขภาพประจำปี เหมือนเจ้าของรถต้องเช็ครถเป็นประจำ โรคหลายอย่างสามารถป้องกันไม่ให้เกิดหรือไม่ให้เป็นมากขึ้นได้ถ้าตรวจพบใน ระยะเริ่มต้นและรักษาได้ง่าย ทำให้อายุยืนขึ้นอย่างมีคุณภาพ
ข้อ 11 ไม่จริง
การลืมชื่อคนชื่อของนั้นเกิดขึ้นได้ใน ทุกคน เกิดมากในคนสูงอายุที่ไม่ได้ใส่ใจที่จะจำ ตัวอย่างเช่น อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนหนึ่ง หรือเช่น ผัวเมียคู่หนึ่งซึ่งอายุมากแล้ว และขี้หลงขี้ลืม
วันหนึ่งฝ่ายเมียจะออกไปซื้อของนอกบ้านจึงถามสามีว่าจะฝากซื้ออะไรหรือเปล่า
สามีก็บอกว่าช่วยแวะซื้อไอศกรีมมาให้สักอันหนึ่ง แล้วสำทับว่าเอากระดาษจดไว้ด้วยซีเดี๋ยวจะลืม
ฝ่ายเมียก็บอกว่าไม่ลืมหรอก ของกล้วยๆ อย่างนั้น
เมื่อหายไปพักหนึ่งฝ่ายเมียก็กลับมาพร้อมกับถือถุงกระดาษยื่นให้สามี
สามีเปิดดูเห็นของแล้วจึงต่อว่า “อะไรนี่ ฝากให้ซื้อขนมครกทำไมซื้อกล้วยแขกมาให้”
การ ลืมแบบนี้ยังไม่เรียกว่าโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ สำหรับโรคอัลไซเมอร์มันร้ายกว่านั้น คนเป็นจะช่วยตัวเองไม่ได้ เช่น ไปซื้อของแล้วกลับบ้านไม่ถูก จ่ายเงินแล้วจ่ายอีก กลับบ้านเอากุญแจออกมาแล้วไม่รู้จะใช้อย่างไร เป็นต้น ท่านที่อ่านมาได้ถึงตรงนี้คงจะยังไม่เป็นอัลไซเมอร์ครับ
โดย :: พล ต.ต.นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
Advertisement
|
เปิดอ่าน 11,533 ครั้ง |
เปิดอ่าน 194,464 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,675 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,102 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,900 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,214 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,418 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,417 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,260 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,501 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,724 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,384 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,187 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,836 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,121 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 16,144 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 10,764 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,198 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 20,745 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 64,172 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,732 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,817 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 25,523 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,832 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,340 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 37,023 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,572 ครั้ง |
|
|