การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ 2)เพื่อแก้ปัญหาความคิดสร้างสรรค์ถูกจำกัดด้วยอุปกรณ์ที่มีราคาสูง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้อง คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 42 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบฝึกสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม แบ่งตามองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความพึงพอใจในการเรียนก่อนการใช้แผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงาน
ศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับน้อย และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
พานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับน้อย
2) ความพึงพอใจในการเรียนหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงาน
ศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
พานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมาก
3) การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถแก้ปัญหาความคิดสร้างสรรค์ถูกจำกัดด้วยอุปกรณ์ที่มีราคาสูงได้ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การเรียนได้
แบบฝึกสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม แบ่งตามองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1) องค์ประกอบที่ 1 ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา
- ให้นักเรียนสร้างสีน้ำใช้เอง (Homemade Wetercolor) ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนผสมสำหรับสีน้ำทำเองก็มีแค่ไม่อย่างตามนี้จ่ะ
- น้ำส้มสายชู (Vinegar) 2 ช้อนโต๊ะ
- เบคกิ้งโซดา (Baking Soda) 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn Syrup) 1/2 ช้อนโต๊ะ
- แป้งข้าวโพด (Corn Starch) 2 ช้อนโต๊ะ
- สีผสมอาหาร
- ถาดน้ำแข็ง หรือจานสี
ขั้นตอนแรก ตวงส่วนผสมน้ำส้มสายชู กับเบคกิ้งโซดา ใส่รวมกันในโถผสม (พยายามตวงให้ได้ปริมาณตามที่กำหนดนะคะ) ขั้นตอนนี้จะมีฟองฟู่ฟ่าขึ้นมา (ก๊าซที่เห็นคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่ะ) คนจนเป็นเนื้อเดียวกันค่ะ จากนั้น ผสมแป้งข้าวโพด และ น้ำเชื่อมข้าวโพด ลงไป คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน จะได้สารละลายขาว สวย เนียน เทส่วนผสมลงในถาดน้ำแข็ง หรือจานสี จากนั้นหยดสีผสมอาหารที่ต้องการลงไปในแต่ละหลุม แนะนำให้หยดแต่น้อยก่อนดูว่าได้สีอย่างที่ต้องการหรือยัง จากนั้นใช้ไม้จิ้มฟัน หรือแท่งพลาสติกเล็กๆ คนจนสีเข้ากันกับส่วนผสมทั้งหมด ตั้งทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมง เป็นอันเสร็จพร้อมใช้ค่ะ
2) องค์ประกอบที่ 2 ความคิดคล่องตัว (Fluency) คือ ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน
- ให้นักเรียนวาดภาพหุ่นแล้วออกแบบเครื่องแต่งกายให้หุ่นโดยใช้เศษวัสดุต่างๆ
3) องค์ประกอบที่ 3 ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) คือ เป็นความสามารถในการดัดแปลง ของสิ่งเดียวให้เกิดประโยชน์หลายด้าน
- ให้นักเรียนดัดแปลงและสร้างภาพลายไทยหรือภาพต่างๆโดยใช้วัสดุเหลือใช้
4) องค์ประกอบที่ 4 ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) คือ เป็นลักษณะของความพยายามในการใช้ความคิด และประสานความคิดต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
- ให้นักเรียนถ่ายภาพตัวเองทำอิริยาบถต่างๆบนกำแพงสีขาว จากนั้น print ภาพออกมา แล้ววาดภาพประกอบให้เหมาะสมกับอิริยาบถนั้นๆ