การศึกษาการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดี ศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง ก่อนและหลังดำเนินการ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และชุมชน ต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง โดยประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครู ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนพนางตุง ปีการศึกษา 2558 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพนางตุง และคณะกรรมการชุมชน จำนวน 239 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษาในปีการศึกษา 2558 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2559
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง เป็นระบบที่มีกระบวนการดำเนินงานด้วยวงจรคุณภาพ PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวางแผน (Plan)
1.1 ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา
1.2 กำหนดยุทธศาสตร์
1.3 กำหนดวิธีดำเนินงาน
1.4 จัดทำแผนปฏิบัติงาน
2. ปฏิบัติตามแผน (Do)
2.1 จัดตั้งเครือข่ายชุมชน
2.2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและชุมชน
2.3 ดำเนินการในกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม คือ
1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2) การคัดกรองนักเรียน
3) การส่งเสริมนักเรียน
4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5) การส่งต่อ
2.4 นิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ
3. ตรวจสอบ (Check)
3.1 ศึกษาผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง
3.2 ศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และชุมชนต่อการดำเนิน งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง
3.3 เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
4. ปรับปรุง พัฒนา (Action)
4.1 ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง
4.2 เผยแพร่
2. การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนต่อดำเนินงานการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง
การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนต่อดำเนินงานการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อ โดยภาพรวมผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.59, = 0.15) และ (µ = 4.54, = 0.14) ตามลำดับ
3. การเปรียบเทียบระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนต่อการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง ก่อนและหลังดำเนินงาน
ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนต่อการดำเนินงานการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง ก่อนและหลังดำเนินการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและชุมชน ต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง
การศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และชุมชนต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติตามแผน ขั้นการตรวจสอบ ขั้นการปรับปรุง พัฒนา พบว่าระดับความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และชุมชนต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบสร้างเด็กดีศรีพนางตุง ของโรงเรียนพนางตุง โดยภาพรวมครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.62, = 0.16)