สุดารัตน์ ผ่านพูล. 2559. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโคกม่วง
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
ที่ปรึกษา รศ.ดร.บรรจบ บุญจันทร์ , ดร.อำนาจ บุญทรง , ดร.ธีรพนธ์ คงนาวัง
สถานศึกษา โรงเรียนโคกม่วงศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
ปีการศึกษา 2559.
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโคกม่วงศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ในครั่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน การดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโคกม่วงศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ตามรูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ตามแนวคิดของ Stuffelbeam ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) เป็น การประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ ความต้องการต่อ การดำเนินงานตามโครงการและความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับ วัสดุ งบประมาณ บุคลากรและปัจจัยสนับสนุนอื่นในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนของแผนงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับผลผลิตที่เกิดขึ้นกับนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความสำเร็จของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู โรงเรียนโคกม่วงศึกษา จำนวน 4 คน นักเรียนโรงเรียนโคกม่วงศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 16 จำนวน 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโคกม่วงศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนโคกม่วงศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 16 จำนวน 32 คน
ผลการศึกษาพบว่า
การประเมินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโคกม่วงศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ตามรูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ตามแนวคิดของ Stuffelbeam ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และ และนักเรียน ในภาพรวมทุกด้านมีผล การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.68 ; S.D. = 0.24) โดยแยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
1. ด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.62 ; S.D. = 0.22)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับบุคลากร ทรัพยากร และปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ของการดำเนินโครงการ พบว่า พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.64 ; S.D. = 0.27)
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผล การประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.71 ; S.D. = 0.23)
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผล การประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.75 ; S.D. = 0.21)
Sudarath Panpool. Project Assessment of The Students Care and Support System in
Khokmuangsuksa School under Chaiyaphum Primary Educational
Service Area Office 2
Consultants Assoc. Prof. Dr. Banjob Boonchan, Dr. Amnart Boonsong, and
Dr. Teerapon Kongnawang
School Khokmuangsuksa School, Chaiyaphum Primary Educational Service
Area Office 2
Year 2016
ABSTRACT
This study aimed to evaluate the project assessment of The Students Care and Support System in Khokmuangsuksa School under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2 based on CIPP Model of Stuffelbeam. They were consisted of four areas: 1) Context Evaluation 2) Input Evaluation 3) Process Evaluation and 4) Product Evaluation. The sample used in this study included four teachers, 32 students in grade 1-6, seven school boards, and 32 guardians in Khokmuangsuksa School.
The study indicated that;
The project assessment of The Students Care and Support System in Khokmuangsuksa School under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2 as perceived by teachers, students in grade 1-6, school boards, and guardians in Khokmuangsuksa School as a whole was at a highest level ( = 4.62 ; S.D. = 0.22), divided into the following aspects.
1. Context evaluation of project found that the overall rate is at the highest level ( = 4.62; S.D. = 0.22).
2. Input evaluation on personnel, resources and other factors related to the project found that the overall rate is at the highest level ( = 4.64; S.D. = 0.27).
3. Process evaluation of the project implementation found that the overall rate is at the highest level ( = 4.71; S.D. = 0.23).
4. Product evaluation of the project implementation found that the overall rate is at the highest level ( = 4.75; S.D. = 0.21).