เรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา
ผู้รายงาน กัญญาณัฐ ยึนประโคน
หน่วยงาน โรงเรียนประโคนชัยวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถม ศึกษา ปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา ตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบชนิดเติมคำตอบ จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ ใช้สำหรับทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ( t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 77.25 / 77.38
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุด