บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้แผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสาวกันนิกา ปัญญาดี โรงเรียนบ้านสลก
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนภูมิความหมายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ
การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5
กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรายวิชา อ 15101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสลก จังหวัดแพร่ จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้แผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า IOC และค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนภูมิความหมาย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.97/84.24
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนภูมิความหมาย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสลก มีความพึงพอใจต่อแบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้แผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด