ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะเคมี ราย

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

นางยุวธิดา ลอยประโคน

ทำวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมี จากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD และ (3) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre- experimental Design) ในรูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The single group, pretest-posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี จำนวน 4 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน (2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่า 0.89 และแบบวัด จิตวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.93/82.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และ (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73

2

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเป็นกฎหมายทางการศึกษาที่ตราไว้เพื่อให้หน่วยงาน และผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาทุกระดับ ปฏิบัติตามข้อบัญญัติที่กำหนดไว้ ดังนั้นการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องวิเคราะห์บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ซึ่งระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และในมาตรา 23 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม อาทิ ข้อ (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน และมาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ระบุว่าให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ เช่น จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2558 : 12-13)

ในสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์มีบทสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ ต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ในชีวิตและการทำงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย และมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 92)

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอนทั้งของครูและนักเรียน กล่าวคือลดบทบาท ของครูผู้สอนจากการเป็นผู้บอกเล่า บรรยาย สาธิต ไปเป็นการวางแผนการจัดกิจกรรมให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนต้องเน้นที่บทบาทของนักเรียนตั้งแต่เริ่มคือ ร่วมวางแผนการเรียน การวัดผลประเมินผล และต้องคำนึงว่ากิจกรรมการเรียนนั้น เน้นการพัฒนากระบวนการคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ จากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และการสร้างคำอธิบายเพื่อนำไปสู่คำตอบของปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ ในที่สุดสร้างองค์ความรู้ได้ ทั้งนี้กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวต้องพัฒนานักเรียนให้เจริญพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546 : 215-216)

3

โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านสังแก ตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เปิดทำการสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หลักสูตรโรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2552 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2557 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับโรงเรียน ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในการนี้ผู้รายงาน เป็นครูผู้สอนรายวิชาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความตระหนัก ถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามกฎหมายทางการศึกษา ตลอดจนหลักการ จุดหมายของหลักสูตร และเป้าหมายคุณภาพที่สถานศึกษากำหนดไว้ และผู้รายงานมีความตั้งใจ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมีให้มีประสิทธิภาพ มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน กำหนดความต้องการจำเป็น กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา และดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

1. การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหา ในปีการศึกษา 2558 ผู้รายงานได้นำข้อมูลจาก การจัดการเรียนรู้รายวิชา ว31221 เคมี 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 มาวิเคราะห์และพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.85 และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 68.75 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก, 2558 : 29-30) สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมาย ที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ 70

2. กำหนดความต้องการจำเป็น ผู้รายงานนำปัญหาที่สำคัญซึ่งต้องการแก้ไขมากำหนด ความต้องการจำเป็น ดังนี้

2.1 ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดร้อยละ 70 ผู้รายงานจึงกำหนดความต้องการจำเป็นคือ ต้องพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ว31221 เคมี 1 ให้บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ 70 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป

2.2 ปัญหาด้านจิตวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ย 68.75 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง ผู้รายงานจึงกำหนดความต้องการจำเป็นคือ ต้องการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป หรือร้อยละ 70 ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในระดับมาก

3. กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา ผู้รายงานกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา หรือการพัฒนา ดังนี้

3.1 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดสภาพการเรียนรู้ให้เหมาะสม เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้จริง ดำเนินการติดตามผล ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

3.2 พัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยจัดสภาพการเรียนรู้ให้เหมาะสมในการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ ประเมินผลการพัฒนาควบคู่ไปในกระบวนการเรียนรู้ ให้ผลย้อนกลับให้ผู้เรียนทราบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง

4

4. ดำเนินการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ผู้รายงานกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการพัฒนา ดังนี้

4.1 ผลิตสื่อหรือสร้างนวัตกรรม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

4.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์

4.3 ทดลองใช้นวัตกรรมและเครื่องมือวิจัย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

4.4 พัฒนานวัตกรรมที่สร้างขึ้นพร้อมทั้งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยดำเนินการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 แล้วนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องต่อไป

จากแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้รายงานได้ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยศึกษาวิธีสอน เทคนิคการสอน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว พอสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดี เพราะเป็นการนำนวัตกรรมมาส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น (วรวิทย์ นิเทศศิลป์, 2551 : 267) ซึ่งสอดคล้องกับชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2543 : 117) กล่าวว่าชุดการเรียนหรือชุดการสอนช่วยให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ฝึกการตัดสินใจ ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ชุดการเรียนได้ผลิตขึ้นโดยมีพื้นฐานทฤษฎีทางจิตวิทยาซึ่งเป็นการประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยนำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งคำนึงถึง ความต้องการ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับแนวความคิดของ สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 1) กล่าวว่าชุดการเรียนเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้พัฒนามาจากวิธี การเรียนการสอนหลาย ๆ ระบบเข้ามาประสมประสานกันให้กลมกลืนกันได้อย่างเหมาะสม นับตั้งแต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง การร่วมกิจกรรมกลุ่ม การใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้เกิด การเรียนรู้ไปทีละน้อย มีโอกาสคิดใคร่ครวญ มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ได้ลงมือปฏิบัติ และผู้เรียนมีโอกาสเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จโดยการทราบผลย้อนกลับทันทีหลังจาก การทำกิจกรรม

ในด้านการจัดการเรียนรู้ ทิศนา แขมมณี (2553 : 95) กล่าวว่าเทคนิคการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็น การให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก “การให้ความรู้” ไปเป็น “การให้ผู้เรียนสร้างความรู้” ดังนั้นบทบาทของครูก็คือจะต้องทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรม การเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปในทางที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน ให้คำปรึกษาทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมแก่ผู้เรียน ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน สำหรับเทคนิคในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD หรือการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD (Student Teams –Achievement Divisions) ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ครบวงจร ผู้เรียนเรียนรู้ได้โดยการลงมือปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

5

โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ เน้นให้มีการแบ่งงานกันทำ ช่วยเหลือและร่วมมือกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจบบทเรียนจะทดสอบเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้นักเรียนปรับปรุงคะแนนการทดสอบได้ แล้วนำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่ม มีการประกาศคะแนนของกลุ่ม กลุ่มใดมีคะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์ ที่กำหนดไว้จะได้รับรางวัล (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2552 : 197) นอกจากนี้การสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD บังเกิดผลดีต่อนักเรียนหลายประการ เช่น นักเรียนมีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น มีแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เหตุผลดีขึ้น และคิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น และมีสุขภาพจิตดีขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ทิศนา แขมมณี, 2553 : 99-101) ผู้รายงาน ได้ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการสอนโดยใช้ชุดการเรียน และรูปแบบการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ผลการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยของรุ่งทิพย์ ศศิธร (2554 : 5-6, 40-42) เรื่องการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือกับชุดการเรียนรู้แบบ 5E ซึ่งพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิจัยของวิโรจน์ นามโส (2555 : 83-88) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียน เรื่องธาตุและสารประกอบ ที่เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากความสำคัญของปัญหาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตลอดจนหลักการและเหตุผลดังกล่าว การดำเนินการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งผู้รายงานมีแนวคิดว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตรและเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ได้ ดังนั้นผู้รายงานจึงทำการวิจัยและพัฒนาในหัวข้อ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อนำสารสนเทศจากการวิจัยไปใช้ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมี จากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

3. เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

6

3. สมมติฐานการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรม แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

4. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอน แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป

2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป

3. เป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

5. วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการทดลองเบื้องต้น ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้

5.1 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre- experimental Design) ซึ่งเป็นการทดลองในรูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The single group, pretest-posttest Design)

5.2 ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย

5.2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรม แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

5.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พันธะเคมี

2) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

5.3 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 72 คน จาก 3 ห้องเรียน

5.4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

5.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย

5.5.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่

1) ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี จำนวน 14 ชุด

2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน

7

5.5.2 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่

1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

2) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

5.6 วิธีดำเนินการวิจัย

ผู้รายงานดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวและมีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยดำเนินการดังนี้

5.6.1 ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรม แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

5.6.2 วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้

5.6.3 จัดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ครั้งละ 1 ชุด รวม 14 ชุด วัดและประเมินผลการเรียน และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้

5.6.4 เมื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เสร็จสิ้นครบ 14 ชุด แล้ววัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

5.6.5 วัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยให้นักเรียนตอบแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์

5.7 การวิเคราะห์ข้อมูล

5.7.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้สถิติร้อยละ

5.7.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test

5.7.3 วิเคราะห์จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

6. สรุปผลการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.93/82.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73

8

7. อภิปรายผลการวิจัย

7.1 พัฒนาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี พบว่า ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พันธะเคมี รายวิชาเคมี 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.93/82.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 เนื่องจากผู้รายงานได้สร้างชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอนการผลิตชุดการสอนแผนจุฬาทุกประการ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การวางแผนการสอน การผลิตชุดการเรียน และการทดสอบประสิทธิภาพ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2543 : 117-119) นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการ ความถนัด และความสนใจของนักเรียน นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การศึกษาใบความรู้ การทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันโดยมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น และสรุปเนื้อหาจนเข้าใจดีแล้ว จึงทำแบบฝึกหัด ซึ่งนักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง จึงมีผลทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการมีค่าร้อยละ สูงกว่าเกณฑ์ 80 และหลังจากนักเรียนตอบคำถามแล้วมีการทบทวนความรู้และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อนักเรียนทดสอบหลังเรียนจึงทำได้ถูกต้อง จึงมีผลทำให้ประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าร้อยละ สูงกว่าเกณฑ์ 80 และทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของลลิตา เอียดนุสรณ์ (2553 : 46-54) เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจที่คงทนในการเรียนเรื่องการหายใจระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยชุดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5E พบว่าชุดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 86.40/81.01 สอดคล้องกับผลการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) เรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าชุดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.18/81.56 และสอดคล้องกับผลการวิจัยของวิโรจน์ นามโส (2555 : 83-88) เรื่อง การพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง ธาตุ และสารประกอบ ที่เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ซึ่งพบว่าชุดการเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.55/81.71

7.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมี

จากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย เนื่องจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคSTAD นักเรียนได้ทำกิจกรรมอย่างหลากหลายทั้งกิจกรรมรายบุคคลและกลุ่ม เริ่มต้นจากนักเรียนได้ทดสอบก่อนเรียน ซึ่งทำให้ทราบพื้นฐานความรู้เดิมของตนเองในเรื่องที่จะเรียน เมื่อนักเรียนศึกษาใบความรู้ แล้วนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างหลากหลาย มีการรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม และการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชั้นเรียน ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างถูกต้อง และเมื่อนักเรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเองจากการทำแบบฝึกหัด ทำให้นักเรียนทราบว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเพียงใด และในขั้นสุดท้ายนักเรียนทดสอบหลังเรียน เมื่อทราบผลย้อนกลับว่าตนเองได้คะแนนเท่าใด มีข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ โดยการทดสอบหลังเรียนอีกครั้งเพื่อปรับปรุงคะแนนให้ดีที่สุด ซึ่งจากกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องดังกล่าวจึงมีผลทำให้นักเรียน

9

ได้พัฒนาความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจึงสูงกว่าก่อนเรียน ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) เรื่องการพัฒนา ชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยของรุ่งทิพย์ ศศิธร (2554 : 5-6, 40-42) เรื่องการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือกับชุดการเรียนรู้แบบ 5E ซึ่งพบว่านักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิจัยของวิโรจน์ นามโส (2555 : 83-88) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง ธาตุ และสารประกอบที่เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7.3 ผลการศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD พบว่านักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอน แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 เนื่องจากในการจัดการเรียนรู้นักเรียนได้ใช้ชุดกิจกรรม แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของครู ซึ่งทำให้นักเรียนพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน และผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการวิจัยของสุพรรณี ผิวศรี (2557 : 133-134) เรื่อง การพัฒนาชุดการสอนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก

8. ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้

1.1 ในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ครูมีบทบาทในการชี้แนะและอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ของนักเรียน และช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและกลุ่มมากที่สุด นอกจากนี้ครูควรให้การเสริมแรง อย่างเหมาะสม เช่น ชมเชยนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้าสูงขึ้น การให้รางวัลสำหรับกลุ่มคะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้าสูงขึ้น อันดับที่ 1-3 เป็นต้น

1.2 ครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบว่านักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้นนักเรียนจะต้องมีความมุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้ และรับผิดชอบในการเรียนทั้งของตนเองและกลุ่ม เพราะความสำเร็จของแต่ละคนจะนำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม

1.3 การจัดชั้นเรียนและสภาพแวดล้อม ควรชัดชั้นเรียนให้มีจำนวนนักเรียนพอเหมาะ ไม่มากเกินไป เพราะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอน แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ควรจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 4-5 คน

10

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ การสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ไปใช้ในการวิจัยรายวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

2.2 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ การสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ไปใช้ศึกษากับตัวแปรอื่น ๆ เช่น เจตคติต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ความพึงพอใจ เป็นต้น

โพสต์โดย krumam : [23 พ.ค. 2561 เวลา 10:56 น.]
อ่าน [5352] ไอพี : 103.10.228.70
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,698 ครั้ง
เข้าใจผิดทั่วโลก! นางแบบไต้หวันจ่อฟ้องคนปล่อยข่าวมั่วทำชีวิตพัง
เข้าใจผิดทั่วโลก! นางแบบไต้หวันจ่อฟ้องคนปล่อยข่าวมั่วทำชีวิตพัง

เปิดอ่าน 10,166 ครั้ง
การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด
การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด

เปิดอ่าน 11,083 ครั้ง
ชมหรือยัง? สถานการณ์ การศึกษาไทย 2557 (The State of Thai Education 2014)
ชมหรือยัง? สถานการณ์ การศึกษาไทย 2557 (The State of Thai Education 2014)

เปิดอ่าน 60,094 ครั้ง
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยอยุธยา
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยอยุธยา

เปิดอ่าน 16,383 ครั้ง
บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"

เปิดอ่าน 18,353 ครั้ง
ฮือฮา เปิดภาพลับ"สตีฟ จ็อบส์"คิดค้น"ไอแพด"ได้ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน
ฮือฮา เปิดภาพลับ"สตีฟ จ็อบส์"คิดค้น"ไอแพด"ได้ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน

เปิดอ่าน 18,587 ครั้ง
20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ
20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ

เปิดอ่าน 13,639 ครั้ง
qr code คืออะไร
qr code คืออะไร

เปิดอ่าน 15,719 ครั้ง
ปลุกสมองตื่นตัวด้วย
ปลุกสมองตื่นตัวด้วย 'มื้อเช้า'

เปิดอ่าน 12,866 ครั้ง
ภูเก็ตจัดยิ่งใหญ่ กินเจ ถือศีลกินผัก
ภูเก็ตจัดยิ่งใหญ่ กินเจ ถือศีลกินผัก

เปิดอ่าน 41,655 ครั้ง
4 พฤติกรรมเสี่ยง ทำสิ่งเหล่านี้ในอนาคตปวดหลังเรื้อรังแน่นอน
4 พฤติกรรมเสี่ยง ทำสิ่งเหล่านี้ในอนาคตปวดหลังเรื้อรังแน่นอน

เปิดอ่าน 1,233 ครั้ง
เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเพิ่ม Multi-skill ให้ตัวเองด้วย
เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเพิ่ม Multi-skill ให้ตัวเองด้วย

เปิดอ่าน 10,147 ครั้ง
10 วิธีถนอมสายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์
10 วิธีถนอมสายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์

เปิดอ่าน 40,878 ครั้ง
เข้าใจการวางแผนสื่อโฆษณา covid-19 ช่วยธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้น
เข้าใจการวางแผนสื่อโฆษณา covid-19 ช่วยธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้น

เปิดอ่าน 15,332 ครั้ง
ประโยชน์ ของการดื่มเบียร์
ประโยชน์ ของการดื่มเบียร์

เปิดอ่าน 4,222 ครั้ง
สสวท. จุดประกายเรียนรู้บูรณาการด้วยวีดิทัศน์  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
สสวท. จุดประกายเรียนรู้บูรณาการด้วยวีดิทัศน์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
เปิดอ่าน 9,591 ครั้ง
ออกกำลังแบบไหน ดีกับโรคอะไร
ออกกำลังแบบไหน ดีกับโรคอะไร
เปิดอ่าน 13,349 ครั้ง
แหล่งไหว้พระ ขอพร ถอนเคราะห์สะเดาะกรรม ปี 2009
แหล่งไหว้พระ ขอพร ถอนเคราะห์สะเดาะกรรม ปี 2009
เปิดอ่าน 54,918 ครั้ง
ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
เปิดอ่าน 17,341 ครั้ง
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ